SHARE

คัดลอกแล้ว
ชาวออสเตรเลียกำลังตกใจกับเฟซบุ๊ก เพราะตั้งแต่วันนี้จะไม่มีข่าวสารจากสำนักข่าวต่างๆ ปรากฎในหน้าฟีดของเฟซบุ๊กอีกต่อไป ขณะเดียวกันบรรดาสำนักข่าวในออสเตรเลีย จะไม่ได้รับอนุญาตให้โพสต์ข่าวในเฟซบุ๊กด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเฟซบุ๊กไม่อยากจ่ายค่าเนื้อหาให้กับสำนักข่าวในออสเตรเลียตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งถูกมองว่าเฟซบุ๊กฉวยโอกาสกินรวบค่าโฆษณา โดยอาศัยประโยชน์จากเนื้อหาของบริษัทสื่อในออสเตรเลีย ที่มาที่ไปของเหตุการณ์นี้เป็นอย่างไร วันนี้ workpointTODAY จะสรุปให้อ่านกัน
1.) ในวันนี้ (18 ก.พ.) เฟซบุ๊ก เครือข่ายสังคมออนไลน์ชื่อดัง บังคับใช้มาตรการปิดกั้นเนื้อหาที่เป็นข่าวสารในออสเตรเลีย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กในออสเตรเลีย จะไม่เห็นเนื้อหาที่เป็นข่าวสารบนหน้าฟีดอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นข่าวจากสำนักข่าวในออสเตรเลียเอง หรือแม้กระทั่งข่าวต่างประเทศจากสื่อนอก ผู้ใช้ในออสเตรเลียก็จะถูกปิดกั้นการมองเห็นทั้งหมด
2.) มาตรการของเฟซบุ๊กยังรวมไปถึงการบล็อกสำนักข่าวในออสเตรเลีย ไม่ให้โพสต์ข่าวสารทางเฟซบุ๊ก ซึ่งจากการตรวจสอบของทีมข่าว workpointTODAY พบว่า หากเราเข้าไปในหน้าเพจเฟซบุ๊กสำนักข่าวออสเตรเลีย เช่น ABC News Australia หรือ 9 News จะขึ้นข้อความตรงหน้าฟีดว่า ‘ยังไม่มีโพสต์’
3.) การปิดกั้นข่าวสารของเฟซบุ๊กในออสเตรเลียถูกมองว่าเป็นมาตรการตอบโต้ หลังรัฐบาลออสเตรเลียเดินหน้าผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง ให้บริษัทยักษ์ใหญ่ไอที โดยเฉพาะเฟซบุ๊กและกูเกิล ต้องจ่ายค่าเนื้อหาให้กับสำนักข่าว เพราะมองว่าที่ผ่านมาแพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้เอาเปรียบสำนักข่าว ผ่านการใช้เนื้อหาไปสร้างรายได้เข้าบริษัทตัวเอง
4.) จากการประเมินรายได้โฆษณาบนโลกออนไลน์ในออสเตรเลีย พบว่าเติบโตสูงถึง 8 เท่าตัว ในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีมูลค่าราว 9 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือกว่า 170,000 ล้านบาท แต่เมื่อเจาะลงไปดูในรายละเอียดพบว่า รายได้จากการโฆษณาเกือบ 1 ใน 3 เข้าสู่เจ้าของแพลตฟอร์มอย่างเฟซบุ๊กและกูเกิล
5.) ขณะที่บรรดาบริษัทสื่อในออสเตรเลียยังต้องเผชิญชะตากรรมเหมือนกับบริษัทสื่อทั่วโลก คือปัญหาเทคโนโลยีที่คุกคามธุรกิจสื่ออย่างรุนแรงด้วย ทำให้อัตราการโฆษณาผ่านช่องทางสื่อเก่า เช่นหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ลดลงอย่างชัดเจน
6.) สถานการณ์เหล่านี้ ทำให้รัฐบาลออสเตรเลีย รวมถึงบริษัทสื่อเจ้าของเนื้อหามองว่า กำลังไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเฟซบุ๊กและกูเกิล ซึ่งเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม นำไปสู่การออกกฎหมายเพื่อบังคับให้เจ้าของแพลตฟอร์มต้องจ่ายเงินค่าเนื้อหาให้กับบริษัทสื่อท้องถิ่น
7.) กูเกิล ซึ่งถูกบังคับใช้มาตรการเดียวกันกับเฟซบุ๊ก ยอมปฏิบัติตามรัฐบาลออสเตรเลีย โดยเริ่มเข้าไปเจรจากับบริษัทสื่อเพื่อขอซื้อเนื้อหา แตกต่างจากเฟซบุ๊กที่ยืนยันจะไม่เจรจา ก่อนจะดำเนินการปิดกั้นเนื้อหาข่าวในวันนี้
8.) เฟซบุ๊กชี้แจงว่า สาเหตุที่ไม่ไปเจรจาซื้อเนื้อหาแบบกูเกิล เป็นเพราะลักษณะของกูเกิลกับเฟซบุ๊กแตกต่างกัน โดยเฟซบุ๊กอ้างว่า กูเกิลเป็นการค้นหาข้อมูล ที่บรรดาเจ้าของเนื้อหาไม่ได้สมัครใจให้ปรากฎในกูเกิล แตกต่างจากเฟซบุ๊กที่บรรดาบริษัทสื่อ เลือกเป็นฝ่ายโพสต์เนื้อหาให้กับเฟซบุ๊กเอง
9.) เฟซบุ๊กยังยืนยันด้วยว่า ที่ผ่านมาข่าวในเฟซบุ๊กสร้างรายได้ให้กับเฟซบุ๊กไม่ถึง 4% ของเนื้อหาทั้งหมดในหน้าฟีด ขณะเดียวกันยังเชื่อว่า บริษัทสื่อต่างหากที่เป็นฝ่ายได้เปรียบจากการนำเนื้อหาไปลงในเฟซบุ๊ก โดยอ้างถึงรายได้มูลค่ากว่า 407 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือเกือบ 9,500 ล้านบาท ที่บริษัทสื่อได้รับจากการใช้แพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก
10.) อย่างไรก็ตาม มาตรการปิดกั้นสื่อทั้งหมดในออสเตรเลียของเฟซบุ๊ก กลายเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายวิจารณ์อย่างมากว่าไม่เหมาะสม เพราะในตอนแรกเฟซบุ๊กปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลของเพจข่าวสารจากหน่วยงานรัฐที่เป็นช่องทางเผยแพร่ข้อมูลสำคัญไปด้วย เช่น ข่าวเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 ก็ถูกปิดกั้นการเข้าถึงในช่วงแรก แต่ในเวลาต่อมาเฟซบุ๊กยอมรับว่า นี่เป็นความผิดพลาด
11.) ผู้อำนวยการเฟซบุ๊กประจำออสเตรเลียยืนยันว่า เฟซบุ๊กจะสนับสนุนการนำเสนอข่าวสารและแนวทางสื่อมวลชน ซึ่งเป็นหนทางของประชาธิปไตยต่อไป โดยยังเปิดให้ผู้ใช้ในออสเตรเลียเข้าถึงศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รวมทั้งจะยังสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และย้ำการบังคับใช้มาตรการต่อต้านข้อมูลที่บิดเบือนด้วย
12.) ขณะที่ชาวออสเตรเลียซึ่งเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊ก ต่างแสดงความไม่เห็นด้วยต่อมาตรการของเจ้าของแพลตฟอร์ม โดยระบุว่า ส่วนใหญ่ผู้ใช้มักติดตามข่าวผ่านทางเฟซบุ๊กเป็นหลัก การปิดกั้นข่าวในเฟซบุ๊กส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิต
13.) เสียงวิพากษ์วิจารณ์เฟซบุ๊กต่อมาตรการนี้ยังมาจากหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง ‘ฮิวแมนไรท์วอช’ ที่มองว่า การปิดกั้นข่าวสารกับผู้ใช้ในออสเตรเลียเป็นเรื่องอันตราย รวมทั้งรัฐมนตรีสื่อสารของออสเตรเลียที่ชี้ว่า มาตรการของเฟซบุ๊กจะทำให้ประชาชนเข้าไม่ถึงข่าวที่ผลิตโดยสื่อมวลชนมื่ออาชีพ และผ่านกระบวนการกลั่นกรองข้อเท็จจริงมาแล้ว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า