SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงดิจิทัลฯ  บูรณาการกว่า 15 พันธมิตร เดินหน้านโยบายเร่งด่วนด้านดิจิทัลเพื่อความมั่นคง หาแนวทางในการจัดตั้งศูนย์เฟคนิวส์เซ็นเตอร์ (Fake News Center) ภายใน 3 เดือน เน้นสื่อสารข่าวการเตือนภัยพิบัติและข่าวลวงที่กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง

เมื่อวันที่ 30 ก.ค.62 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยในการประชุมหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ว่าเป็นการเร่งรัดนโยบายด้านการส่งเสริมความมั่นคงทางด้านดิจิทัล มุ่งเน้นด้านการเผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้อง โดยจะตั้งหน่วยงานศูนย์เฟคนิวส์เซ็นเตอร์ (Fake News Center) เน้นสื่อสารข่าวการเตือนภัยพิบัติและข่าวลวงที่กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ การหลอกลวงให้ลงทุน การขายสินค้าอันตรายและผิดกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และลดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งปรากฏเป็นข่าวตามสื่อต่าง ๆ

รวมถึงเร่งรัดหามาตรการในการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในด้านต่าง ๆ กับภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัลและอาชญากรรมออนไลน์ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 กับกรณีศึกษาการใช้ Social Media ในบริบทของประเทศไทย

เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยโทรศัพท์มือถือสูงถึง 180% ของประชากร และมีการใช้สื่อ Social Media สูงมาก โดยมีผู้ใช้งาน Facebook สูงสุดถึง 54 ล้านคน Line 42 ล้านคน Twitter 12 ล้านคน ซึ่งการใช้สื่อ Social Media ของประชาชนดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความท้าทายต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศีลธรรม วัฒนธรรมและประเพณี และมีความขัดแย้งต่อกฎหมายและกฎระเบียบของประเทศไทยในหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นประมาท กฎหมายด้านการจัดเก็บภาษี กฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

“ด้วยปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของพี่น้องประชาชนเปลี่ยนแปลงจากยุคก่อนสมัยก่อนมาก ประชาชนใช้เวลาในการเข้าถึงข่าวสารได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว จากสื่อออนไลน์ช่องทางต่างๆ  กระทรวงดิจิทัลฯ ตั้งใจบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะตั้งคณะกรรมการโดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อทำงานและศึกษาถึงกรอบแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ พรบ. กฎหมายต่างๆทึ่แต่ละหน่วยงานถืออยู่ เพื่อผลักดันให้เกิดศูนย์เฟคนิวส์เซ็นเตอร์ (Fake News Center) อย่างเป็นรูปธรรมภายใน 3 เดือนหลังจากนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าศูนย์ฯดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน เพราะปัจจุบันมีความเข้าใจผิด กระแสข่าวลวงเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกวัน ส่งผลกระทบต่อประชาชนมาโดยตลอด” นายพุทธิพงษ์ กล่าว

กระทรวงดิจิทัลฯ สรุปประเด็นต่าง ๆ ที่พบการกระทำความผิดบนสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีผู้เสียหายแจ้งความต่อทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย เรื่องที่ 1  การใช้ Social Media เป็นองค์ประกอบการกระทำความผิดตามกฎหมายไทย / กฎหมายนานาชาติ (เชื่อมโยงการใช้งาน/ปรากฏเนื้อหา ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง Social Media) ได้แก่ (1) การก่อการร้ายสากล / ปัญหาชายแดนภาคใต้ (2) ความรุนแรงสุดโต่ง (3) ยาเสพติด (4) การลามกอนาจาร / เด็กและเยาวชน (5) อาหาร ยา วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง (6) การจัดเก็บภาษี (7) ทรัพย์สินทางปัญญา (8) สินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายอื่น (9) ความมั่นคงของประเทศ  (10) ความสงบเรียบร้อยของสังคม / ขัดศีลธรรมอันดี

เรื่องที่ 2  การหามาตรการในการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในด้านต่างๆ ได้แก่  (1) พฤติกรรมที่รุนแรงและเกี่ยวกับอาชญากรรม ความรุนแรงและการยุยง บุคคลและองค์กรที่เป็นอันตราย  การส่งเสริมหรือการเผยแพร่อาชญากรรม การร่วมมือกันทำอันตราย สินค้าควบคุม (2) ความปลอดภัย อาทิ การฆ่าตัวตายและการทำร้ายตัวเอง ภาพโป๊เปลือยของเด็ก และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากผู้ใหญ่ การข่มเหง รังแกและการก่อกวน การละเมิดความเป็นส่วนตัวและสิทธิความเป็นส่วนตัวของรูปภาพ เรื่องล่อหลอกให้ถูกโจรกรรมทรัพย์สิน (3) เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม อาทิ คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง เนื้อหารุนแรงและโจ่งแจ้ง เนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทบุคคลอื่น ภาพโป๊เปลือยของผู้ใหญ่และกิจกรรมทางเพศ การชักชวนทางเพศ ความรุนแรงและการทำร้ายจิตใจ (4) การหลอกลวง และ Fake News  อาทิ สแปม การบิดเบือนความจริง ข่าวปลอม การล่อหลอก Fake Account (5) การเคารพทรัพย์สินทางปัญญา (6) คำขอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา อาทิ คำขอจากผู้ใช้  มาตรการป้องกันเพิ่มเติมสำหรับผู้เยาว์ และ (7) ความสงบเรียบร้อยของสังคม อาทิ สถาบันหลักของประเทศ และการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นต้น

สำหรับ กระบวนการทำงานของ Fake News Center จะต้องมีการดำเนินการให้มีความรวดเร็ว ตรวจสอบให้ได้รับรู้ถึงความถูกต้องและมีวิธีการบริหารจัดการข่าวปลอมให้ได้เร็วที่สุด โดยจะมีทีมงานติดตามและคัดกรองข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ มีคณะทำงานตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มีแนวโน้มเป็นข่าวปลอม ทีมงานดำเนินขั้นตอนการตอบโต้ข่าวสารปลอม และเผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้อง ตลอดจนคณะทำงานประสานตรวจสอบข้อมูลและจัดทำข้อมูลที่ถูกต้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า