SHARE

คัดลอกแล้ว

รองนายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ย้ำ พร้อมใช้กฎหมายดำเนินการกับเฟกนิวส์ โควิด-19 อย่างเร่งด่วน ป้องกันการสร้างความตื่นตระหนกในสังคม

วันที่ 14 พ.ค. 2564 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center) พร้อมมอบนโยบาย ณ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม อาคาร 20 ชั้น 8 บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ในภาวะวิกฤติที่ประเทศไทยและทั่วโลก ต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 และยังเผชิญกับการเผยแพร่ข่าวปลอมที่รุนแรงมากขึ้น สร้างความตื่นตระหนกในสังคม และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม และศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) ต้องร่วมกันดําเนินการอย่างเร่งด่วน ในการตรวจสอบข่าวสารอันเป็นเท็จ

หากพบข่าวปลอม หรือ ข่าวบิดเบือน ที่เข้าข่ายเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชน ให้ดําเนินการป้องกันและปราบปรามอย่างเคร่งครัด เร่งแจ้งเตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม พร้อมชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง ตลอดจนสร้างการรับรู้ ให้รู้เท่าทัน

ทั้งนี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม และ ศปอส.ตร. ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่าง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กับสํานักงานตํารวจแห่งชาติ มีความสําคัญอย่างยิ่งในภาวะวิกฤติของการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น กระทบกับความปลอดภัยในชีวิตด้านสุขภาพของประชาชน และขณะเดียวกัน ได้มีกระแสข่าวปลอม ที่ทําให้เกิดการเข้าใจผิด ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการบริหารงานของรัฐบาล ในสภาวะวิกฤตินี้

“ผมขอเน้นย้ำให้มีดําเนินการอย่างเร่งด่วน หากพบกรณีจงใจสร้างความสับสนแก่ประชาชน ให้ดําเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเด็นวัคซีน และ เรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยให้กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นหลักในการช่วยส่งเสริมให้ประชาชนรู้เท่าทัน เลือกรับข่าวสารจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งต่อ หรือ แชร์ข้อมูล เพื่อช่วยลดปัญหาข่าวปลอม หรือ ทําอย่างไรให้ประชาชนไม่ตกเป็นเหยื่อ ร่วมมือกันตัดวงจรกระบวนการผลิตข่าวปลอม ที่สร้างความสับสน ตื่นตระหนกแก่คนในสังคม” พล.อ.ประวิตร กล่าว

ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมสนับสนุน และ ผลักดันการขับเคลื่อนภารกิจของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ให้มีการทํางานได้อย่างต่อเนื่อง และ มีงบประมาณเพียงพอ ในการพัฒนาเครื่องมือให้พร้อม และ ทันสมัยต่อสภาวการณ์ด้วย ตลอดจนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการทํางานเชิงรุก เพื่อป้องกันและปราบปรามต่อไป

ด้าน นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า จากการตรวจสอบของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมไวรัสโควิด-19 ระลอก 3 ระหว่างวันที่ 7 เม.ย.-11 พ.ค. 2564 พบ จำนวนข้อความที่เกี่ยวข้อง 3,857,190 ข้อความ หลังจากคัดกรองพบข่าวที่เข้าหลักเกณฑ์ 788 ข้อความ และ มีข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 343 เรื่อง อยู่ใน 2 หมวดหมู่ข่าว คือ หมวดหมู่สุขภาพ 233 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 68 และหมวดหมู่นโยบายรัฐ 110 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 32

ส่วน ภาพรวมสถานการณ์ข่าวปลอมเกี่ยวกับโควิด-19 ทั้ง 3 ระลอก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมรวบรวมจากการติดตามการสนทนาบนโลกออนไลน์ (Social Listening) และการแจ้งเบาะแสตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. 2563–11 พ.ค. 2564 รวมระยะเวลา 475 วัน พบว่า มีจำนวนข้อความที่เกี่ยวข้อง 73,833,192 ข้อความ หลังจากคัดกรองแล้ว พบ ข่าวที่เข้าหลักเกณฑ์ 6,791 ข้อความ และ มีข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 3,376 เรื่อง อันดับ 1 คือ หมวดหมู่สุขภาพ พบจำนวน 2,242 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 66 หมวดหมู่นโยบายรัฐ 1,011 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 30 หมวดหมู่ เศรษฐกิจ 124 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 4 ในส่วนของหมวดหมู่ภัยพิบัติ ไม่พบเรื่องที่เข้าข่าย

สำหรับ สถานการณ์ข่าวปลอมนับตั้งแต่จัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมจนถึงปัจจุบัน (วันที่ 1 พ.ย. 2562-11 พ.ค. 2564) พบ ข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 116,419,184 ข้อความ โดยมีข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบ 30,183 ข้อความ และ หลังจากคัดกรองพบข้อความข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 10,587 เรื่อง แบ่งเป็น หมวดสุขภาพ ร้อยละ 54 นโยบายรัฐ ร้อยละ 41 เศรษฐกิจ ร้อยละ 3 และ ภัยพิบัติ ร้อยละ 2

ขณะที่ น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวว่า จากการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม และ ศปอส.ตร. ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2562- 6 พ.ค. 2564 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ส่งคดีเกี่ยวกับข่าวปลอมและข่าวบิดเบือน ไปให้ ศปอส.ตร. ดำเนินการตรวจสอบ จำนวน 1,021 เรื่อง รวมคดีที่ดำเนินการ 23 ราย โดยมีการดำเนินคดีแล้ว 33 เรื่อง จำนวนผู้กระทำผิด 70 ราย แบ่งเป็น เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 14 เรื่อง ผู้กระทำผิด 18 ราย และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 19 เรื่อง ผู้กระทำผิด 52 ราย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า