Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แฟนเดย์ หนังที่กลับมาเป็นกระแสทุกครั้งที่ครบรอบวันฉาย และกลายมาเป็นประเด็นพูดคุยอีกรอบ หลังจากที่ค่ายปล่อยตนจบอีกแบบ โดยประเด็นพฤติกรรมของเด่นชัย ยังเป็นเรื่องที่มีคนถกเถียงกันแม่ผ่านมาแล้ว 3 ปีจากวันฉายวันแรก

แฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียว หนังเรื่องแรกอย่างเป็นทางการของค่าย GDH (หลังจากสิ้นสุดแบรนด์ GTH) ซึ่งครบรอบการฉายอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2562 (หลังเข้าฉายครั้งแรกวันเดียวกันเมื่อปี 2559) หลังจากค่ายโพสต์คลิปต่างๆ เกี่ยวกับหนังที่อาจยังไม่ได้เผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นคลิปเบื้องหลังงานสร้าง คลิปออดิชั่นนักแสดง ฉากที่ถูกตัดออก รวมถึงฉากจบอีกแบบซึ่งไม่ได้ใช้จริง และผลที่ออกมาคือเสียงตอบรับอย่างล้นหลาม แต่ขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับการถกเถียง ในประเด็นเดียวกันกับที่มีมาตั้งแต่ตอนหนังเข้าฉายเมื่อ 3 ปีก่อนแล้ว 

หากยังจำกันได้ตอนที่ แฟนเดย์ เข้าฉายครั้งแรก เกิดดราม่าขึ้นมาว่า ตกลงแล้วหนังเวอร์ชั่นฉายโรงมีตอนจบกี่แบบกันแน่ เพราะจู่ๆ ผู้คนก็เดินออกมาจากโรงพร้อมความทรงจำถึงตอนจบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าทางค่ายแถลงไขว่าหนังเวอร์ชั่นสมบูรณ์มีตอนจบแบบเดียวเท่านั้น แต่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีคนแย้งว่า “ไม่ใช่ นั่นไม่ใช่ตอนจบจริงๆ อย่างที่ค่ายว่าไว้” แม้กระทั่งหลังจากทีมงานปล่อยตอนจบอีกแบบที่ไม่ได้ใช้ออกมาก็ตาม

สตอล์คเกอร์ กับบทบาทของเด่นชัย

แต่อะไรก็ดูจะไม่ใช่เรื่องใหญ่เท่ากับประเด็น การนำเสนอภาพของ “สตอล์คเกอร์ (Stalker)” ที่หลงรักผู้หญิงคนหนึ่งให้ออกมาเป็นหนังรักโรแมนติก มีความน่ารักน่าชัง ทั้งที่จริงๆ แล้วพฤติกรรมหลายๆ อย่างอาจจะขนหัวลุกสำหรับมุมมองหลายๆ คน

ย้อนรอบกันสักนิด แฟนเดย์ เล่าเรื่องของ เด่นชัย (เต๋อ – ฉันทวิชช์ ธนะเสวี) พนักงานสายไอทีที่แสดงออกกับใครต่อใครไม่เก่ง เข้าสังคมไม่เป็น เขาหลงรัก นุ้ย (มิว – นิษฐา จิรยั่งยืน) สาวสวยในบริษัทแต่ไม่กล้ามีปฏิสัมพันธ์ด้วย และเมื่อบริษัทยกก๊วนไปเที่ยวที่ฮอกไกโด เด่นชัย ขอพรให้ได้เป็นแฟนกับนุ้ยเพียงแค่วันเดียวก็พอ แล้วปรากฏว่ามันกลับกลายเป็นจริง เมื่อนุ้ยประสบอุบัติเหตุจนสมองกระทบกระเทือน และจดจำอะไรไม่ได้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ในช่วงเวลาดังกล่าว เด่นชัยจึงบอกนุ้ยว่าเขาทั้ง 2 คนเป็นแฟนกัน เขาเริ่มพาเธอไปเที่ยวหรือทำอะไรเพื่อให้วันดังกล่าวกลายเป็นวันที่ดีที่สุด และน่าจดจำที่สุด อย่างน้อยก็ในความรู้สึกของเขา

สตอล์เกอร์ก็ดูน่ากลัว กับมุมที่หนังพยายามเล่าให้เห็น

จากพล็อตเรื่องดังกล่าว เชื่อว่าในขณะที่หลายๆ คนชื่นชอบและค่อนข้างอินกับความรัก (หรือความคลั่งไคล้) ที่เด่นชัยมีให้นุ้ย แต่ก็มีหลายส่วนที่ไม่เห็นด้วยสักนิดกับการกระทำของตัวละคร และมองว่าเป็นส่วนที่สะพรึงกลัวไปบ้าง แฟนเดย์ อาจถ่ายทอดผ่านมุมมองของเด่นชัยว่าต้องการทำทุกอย่างเพื่อคนที่เขารัก แต่อีกด้านหนึ่ง พฤติกรรมทุกอย่างของเขาในเรื่องก็น่ากลัวไม่น้อย การตามติด ตามแอบมอง ตามบัญทึกข้อมูลที่อีกฝ่ายชื่นชอบ การแอบไปยุ่งกับข้าวของส่วนตัว และอื่นๆ อีกมากมาย หากพิจารณาว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นในชีวิตจริงกับใครสักคน และมันเกิดขึ้นจริงๆ อย่างเช่นบรรดานักร้องคนดังมักจะต้องเคยเจอคนที่เรียกตัวเองว่าเป็น “แฟน” ตามติดทั้งวันทั้งคืน และไม่เพียงแค่คนดัง แต่คนธรรมดาสามัญก็มีข่าวปรากฏอยู่บ่อยๆ ว่าเจอสตอล์คเกอร์ตามติดจนทำอะไรไม่ได้ คิดว่าจะเขาหรือเธอคนนั้นจะยังรู้สึกดีกับการกระทำแบบนี้หรือไม่?

มีการพูดถึง แฟนเดย์ ว่าหนังโรแมนติไซส์สตอล์คเกอร์ ให้พฤติกรรมแบบนี้ดูน่าอภิรมย์ ดูโรแมนติก โดยที่อาจไม่ได้คำนึงถึงว่า คนที่ต้องโดนใครที่ไหนไม่รู้เข้าหาด้วยลักษณะแบบนี้อาจไม่รู้สึกดีเท่าไหร่ หลายคนยังมองว่ามันเป็นการเชิญชวนและอาจสนับสนุนให้บรรดาสตอล์คเกอร์ทั้งหลายทำพฤติกรรมแบบนี้เพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม ก็มีการโต้แย้งจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยว่า หากดูจากตัวหนังทั้งเรื่องก็จะเห็นว่า หนังไม่ได้สนับสนุนพฤติกรรมเหล่านี้ การกระทำที่อาจเป็นการโรแมนติไซส์แต่สุดท้ายภาพที่ปรากฏบนก็ยังกระอักกระอ่วนอยู่ดี หลายครั้งคนดูยังได้ยินนุ้ยพูดออกมาเองด้วยว่า เธอรู้สึกว่าการกระทำของเด่นชัยมันค่อนข้างน่าขนลุก และเธอยังไล่เขาไปไกลๆ ไม่อยากให้มายุ่งด้วยซ้ำ

เด่นชัยกับความเป็นไปได้ที่จะเป็นแอสเพอร์เกอร์?

อีกสิ่งที่ทำให้ดราม่าซับซ้อนเข้าไปอีก คือการตีความกันว่า เด่นชัย มีพฤติกรรมเป็นเด็กพิเศษ มีอาการที่เรียกว่า โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Disorder) เป็นอาการที่พบเจอในคนที่เข้าสังคมไม่เก่ง แต่ก็เป็นเพียงการสันนิษฐานลอยๆ ไม่มีการยืนยันออกมาอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งผู้กำกับบรรจงทวิตตอบแฟนหนังท่านหนึ่งที่สอบถามเขาถึงประเด็นนี้ เขายืนยันว่า เด่นชัยเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์จริงๆ ก็ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นมาอีกว่า การสร้างภาพเด็กพิเศษให้มีลักษณะแบบนี้ อาจทำให้คนเข้าใจเด็กพิเศษดังกล่าวผิด ทำให้เกิดความหวาดระแวงถึงคนที่มีอาการนี้ และอาจส่งผลต่อการปรับตัวเข้าสู่สังคมของพวกเขาตามมา

ผู้กำกับบรรจงไม่ได้อธิบายเพิ่มเติมว่าเขาต้องการนำเสนออาการดังกล่าวนี้ออกมาเพื่อจุดประสงค์ใด  ไม่รู้แม้ว่าเจตนาของผู้กำกับต้องการแสดงให้เห็นถึงชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ ทำให้ผู้คนได้ตระหนักรู้ถึงอาการของคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าวหรือไม่ แต่เมื่อเรื่องราวที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนนี้ปรากฏออกสู่หน้าสื่อ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงหากจะมีคนตีความเนื้อหาหนังผิดๆ ซึ่งไม่เพียงแค่ แฟนเดย์ เท่านั้นที่เจอปัญหานี้ แต่ยังมี อย่างเช่น Split (2016) ของผผู้กำกับ เอ็ม ไนท์ ชยามาลาน ที่ เจมส์ แมคอะวอย รับบทเป็นคนหลายบุคลิก มันอาจเป็นหนังที่ดูสนุก แต่ก็มีปัญหาในเชิงการสร้างภาพผู้ป่วยทางจิตเช่นกัน ประเด็นละเอียดอ่อนเหล่านี้อยู่คู่วงการหนังมานาน จนบางทีก็น่าจับตาว่า คนทำหนังทั้งไทยและเทศจะพร้อมเอามาพิจารณาเวลาสร้างหนังเรื่องต่อๆ ไปกันด้วยหรือยัง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ข้อมูลหรือการสร้างภาพผิดๆ เกิดขึ้น จนอาจทำให้เกิดเรื่องเลวร้ายที่แก้ไขไม่ได้ตามมา

บทสนทนาหลังหนังจบ พิสูจน์ว่ามันทำงานของมันแล้ว

แฟนเดย์ ไม่ใช่หนังที่ทุกคนจะชื่นชอบทั้งหมด (จริงๆ แล้วไม่ใช่แค่เรื่องนี้ แต่หนังทุกเรื่อง รวมถึงทุกสรรพสิ่งนั่นแล) แต่สิ่งที่หนังนำเสนอก็มาพร้อมหลากหลายมุมมองที่สามารถถกเถียงและโต้แย้งกันได้ ท้ายที่สุดแล้วมันก็อยู่ที่การตีความของผู้รับสารว่า จะเลือกมองหนังเรื่องนี้ในมุมไหน 

และการที่หนังเรื่องนี้ถูกนำกลับมาพูดถึงในแง่มุมต่างๆ อีกครั้ง ทำให้สังคมได้เกิดการถกเถียง และได้เกิดการตระหนักถึงปัญหาของสังคมที่แฝงอยู่ แม้ว่าจะเข้าฉายไปนานแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงพลังของกาลเวลาและความเป็นสากลของหนัง ที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเพียงใด ไม่ว่าหนังจะถูกใจใครต่อใครหรือไม่ แต่ผู้คนจะยังนึกถึงอยู่ มันแสดงให้เห็นว่าหนังไม่ได้เพียงแค่สร้างขึ้นมา ออกฉาย ได้รับการพูดถึงเพียงนิดแล้วก็จางหายไป และไม่ใช่หนังทุกเรื่องจะได้รับเกียรติเช่นนี้ ถือเป็นคุณประโยชน์ที่นักทำหนังคนไหนก็อยากให้มันเกิดขึ้น

และเชื่อขนมกินได้เลยว่าทุกวันที่ 1 กันยายนของทุกปี แฟนเดย์ จะถูกยกขึ้นมาถกเถียงในประเด็นดังกล่าวอีกครั้งอย่างแน่นอน

บทความโดย ปารณพัฒน์ แอนุ้ย

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า