Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผ่านไปแล้วสำหรับ Fara Talk – Tell Me ‘Y’ ทอล์กครั้งที่ 2 จาก Farose Studio ที่สร้างปรากฏการณ์ขายบัตรหมดในชั่วอึดใจ เซอร์ไพร์สไม่น้อยมีคนไทยจำนวนมากต้องการเข้าไปนั่งฟังการพูดเรื่องการกวนเกษียรสมุทร วัฒนธรรมอวัจนภาษาของชาวอิตาลี หรือแม้กระทั่งตัวละครจากไซอิ๋ว!

เมื่อพูดถึงงานทอล์กที่จัดขึ้นในประเทศไทย เรามักมีภาพจำอยู่เพียงไม่กี่แบบ คืองานสัมมนาเชิงวิชาการ ธุรกิจ ที่มุ่งการอัปเดตข่าวสาร หรือไม่ก็เป็นงานทอล์กเพื่อความบันเทิงล้วนๆ อย่างการเดี่ยวไม่โครโฟน

ดังนั้นการเกิดขึ้นของทอล์กแบบ Edutainment อย่าง Fara Talk จึงเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองในทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นโฮสต์อย่างคุณแดง (ฟาโรส – ณัฏฐ์ กลิ่นมาลี) ดาราช่อง (แขกรับเชิญ) ที่กลับประเทศไทยครั้งแรกในรอบ 16 ปี หัวข้อที่แต่ละคนเลือกมาพูด หรือเพลงประกอบซึ่งเป็นการออกซิงเกิ้ลใหม่ของ Triumphs Kingdom ในรอบ 23 ปี

แม้กระทั่งองค์ประกอบหนึ่งซึ่งคนส่วนใหญ่อาจไม่ทันได้สังเกต อย่าง ‘เวที’ ของงานทอล์กครั้งนี้ ก็ยังถูกจัดวางงาน Stage Design มาอย่างพิถีพิถันโดยโดย มอส – ศรัณย์ภัชร์ รัชตะนาวิน หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Fluid Collaboration ร่วมด้วย วู้ดดี้ – วุฒินันท์ พึ่งประยูร และ แนตตี้ ปราญชลี ขาใจ มีความเชี่ยวชาญเรื่องการออกแบบเวทีอีเว้นต์ และคอนเสิร์ต จึงนำวิธีใช้แสงสีอย่างคอนเสิร์ตเข้ามาโอบอุ้มสปีกเกอร์บนเวทีทอล์กไว้ได้อย่างพอดิบพอดี

ภาพจากเฟซบุ๊ก FAROSE

Stage Design ครั้งนี้ยึดคอนเซ็ปต์ ‘มุมมอง’ ให้เข้ากับเรื่องราวโดยรวมของทอล์กทั้งหมด จึงออกแบบเวทีให้เป็นมุมมอง 45 องศา ในลักษณะลูกบาศก์ 2 ชิ้นเจาะซ้อนกัน จนเกิดมิติที่ทำให้รู้สึกเหมือนระยะห่างระหว่างสปีกเกอร์กับคนดูลดน้อยลง และทำให้ภาพจากแต่ละโซนที่นั่งออกมาแตกต่างกันไปด้วย

ด้วยแนวคิดและประสบการณ์จากการออกแบบคอนเสิร์ต Fara Talk – Tell Me ‘Y’ ครั้งนี้จึงมี Stage Design ที่ออกแบบมาให้แขกรับเชิญแต่ละคนโดยเฉพาะ เพื่อให้เหมาะสมกับหัวข้อ บุคลิกของแขกรับเชิญ เล่าข้อมูลให้ผู้ฟังได้ ในขณะเดียวกันก็สวยน่ามองและต้องเข้าถึงได้ง่าย เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่ทำการบ้านมาหนักและเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี

ฉากตั้งต้นถูกออกแบบโดยใช้ Split Flap Display เพื่อให้เข้ากับไอเดียเรื่องการสุ่มคำขึ้นมาเป็นช่วงๆ ตามระยะของการเริ่มทอล์ก การใช้ Split Flap นอกจากจะดึงความสนใจของผู้ชมไปยัง Key word ได้ดีแล้วยังเข้ากับโครงสร้างของดีไซน์เวทีที่ทำเป็นรูปลูกบากศ์ซ้อนกันด้วย

ฉากของ ครูก้า – สรรควัฒน์ ประดิษฐพงษ์ เน้นการออกแบบเพื่อเล่าถึงประเทศอิตาลี จึงเลือกใช้ภาพวาดที่สื่อถึงความเป็นประเทศอิตาลีในมุมมองเฉพาะตัวที่ไม่ใช้ศาสนสถานยิ่งใหญ่ แต่เป็นวิถีชีวิต ชาวบ้านร้านตลาดที่พบเจอได้ทั่วไป จึงเน้นสีสันสดใส เน้นความมีชีวิตชีวาเพื่อให้เข้ากับบุคลิกของสปีกเกอร์

ฉากของ โน้ต – ศรัณย์ คุ้งบรรพต ออกแบบโดยเน้นโครงสร้างของตึก ออฟฟิศ โดยใช้ประโยชน์จากเลเยอร์ของลูกบากศ์ที่ซ้อนกัน แสดงโครงสร้างภายนอก-ภายในของตึกเพื่อเสริมกับเรื่องเล่าที่เป็นชีวิตการทำงานในเมืองใหญ่อย่างซานฟรานซิสโก

อาจารย์เจ – พัทธจิต ตั้งสินมั่นคง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว เน้นการเล่าเรื่องจากภาพเป็นหลัก Stage display จึงเน้นการนำภาพถ่าย แผนที่ จากเรื่องเล่ามาปะติดปะต่อเป็นงานคอลลาจ

ต่อ – จิตรพันธุ์ หัชชะวณิช มีฉากเปิดตัวอย่างอลังการสมกับฐานะดาราหลักผู้กลับมาเยือนเมืองไทยครั้งแรกในรอบสิบกว่าปี และยังคงคอนเสปต์นางชีไว้อย่างแน่นเหนียว จึงมาพร้อมกับเรื่องเล่าจากวรรณกรรมไซอิ๋ว Stage disign จึงเป็นงานวาดที่ให้ mood & tone โบราณคล้ายกับภาพวาดบนฝาผนังโบราณสถานจีน

ทอล์กสุดท้ายเป็นของโฮสต์หลักอย่างฟาโรส ที่มาพร้อมกับสารัตถะแห่งการกวนเกษียรสมุทรและพระศิวะ ฉากบนเวทีจึงดีไซน์เป็นภาพวาดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือเรียนภาษาไทย ที่ลดทอนรายละเอียดบางส่วนลง แต่ยังเก็บใจความสำคัญของเรื่องไว้ได้อย่างครบถ้วน

มอส – ศรัณย์ภัชร์ ผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบหลัก เล่าว่า “งานครั้งนี้พื้นที่ใหญ่ขึ้น ผู้ชมเยอะขึ้น เราจึงอยากให้มันมีของที่ใหม่ขึ้น เราฟังสิ่งที่พี่ฟาโรสต้องการ เพราะเขาเป็นคนที่รู้ดีที่สุดว่าชาวช่องต้องการอะไร เช่น ชาวช่องต้องการมาเห็นภาพที่มันพิเศษ ภาพอินไซต์ที่ไม่ถูกเล่าที่ไหน มันก็ส่งผลมาถึงการบาลานซ์คอนเทนต์ด้วย กราฟิกเราบางช่วงก็ต้องดรอปลงไปเพื่อให้ความสำคัญกับภาพ เพราะคนเขามาดูสิ่งนั้น มันเป็นออริจินัลของชาวช่อง แล้วค่อยมาผสมกับความใหม่จากเทคนิคหรือสิ่งที่เราเรียนรู้ในการทำคอนเสิร์ตอีกที

“ส่วนตัวเราไม่ใช่ชาวช่องมาแต่แรก ตอนที่เข้าไปก็ไม่รู้อะไรเลย ต้องไปทำการบ้าน ไปเปิดดูเพื่อรีเสิร์ชคาแรกเตอร์ของสปีกเกอร์แต่ละคนให้ได้กราฟิกที่เหมาะสม ส่วนเรื่องอื่นๆ จะเป็น Show Director (ปาตี้ – ภัสสร์ภวิศา จิวพัฒนกุล) กับพี่ฟาโรสเป็นคนช่วยปรับให้ จริงๆ ต้องบอกว่าก็ไม่ใช่งานที่กดดันหรือน่ากลัวขนาดนั้น มันก็คือการออกแบบปกติ ขอแค่ให้สิ่งที่เราออกแบบมันมีเหตุมีผล เท่านี้ก็ตอบโจทย์ชาวช่องแล้ว

“สิ่งที่ชาวช่องต้องการจะเห็น คือการเห็นกราฟิกที่มีที่มาที่ไป มีคอนเซ็ปต์ไปตามการเล่าเรื่อง ไม่ใช้ว่าครูก้าเล่าเรื่องอิตาลีแล้วเราจะสร้างอะไรขึ้นมาเลยก็ได้ ค่อยเอาคอนเทนต์ไปยัดใส่ เขาน่าจะอยากเห็นอะไรที่ผ่านการคิดมาแล้ว ที่เหลือก็เป็นเรื่องว่าเราต้องทำเท่าไหนเขาถึงจะรู้สึกว่าการมาครั้งนี้มันต่างจากตอนที่ดูอยู่ที่บ้าน”

“วู้ดดี้มองว่าการที่ดีไซเนอร์ไม่ใช่ชาวช่องจ๋า มันทำให้ของที่มีถูกนำไปวางไว้ในที่ที่ควรใช้ เพราะสุดท้ายแล้วก็อย่างที่บอกว่าพี่ฟาโรสคือคนที่รู้จักชาวช่องดีที่สุด เขารู้จริงๆ ว่าชาวช่องมาเพื่ออะไร แค่คอนเทนต์ที่เกิดขึ้นมันต้องสามารถอธิบายได้ว่ามันเกิดมาจากอะไร หรือกระทั่งว่าถ้ามันไม่ได้ชัวร์มาก ก็จะมีการถาม มีการฝากการบ้านอะไรไป เป็นวิธีแบบชาวช่องจริงๆ” วู้ดดี้ – วุฒินันท์ เสริมในบทบาทที่เป็นทั้ง Project Coordinator และเป็นทั้งชาวช่องตัวจริงเสียจริง

“ความสำคัญของทอล์กโชว์ที่มีฐานอยู่บนสาระเนื้อหา คือการที่ต้องบาลานซ์ภาพต่างๆ ให้พอดีกับสปีกเกอร์และเนื้อหาที่เขาจะเล่า พื้นฐานเราทำคอนเสิร์ตมาก่อน เวลาดีไซน์เราก็จะนึกถึงโชว์ทั้งหมด แต่งานทอล์กแบบนี้เราจะใช้เนื้อหาเป็นตัวนำในการเล่าเรื่อง ความยากคือเราต้องหาความพอดีว่าภาพประมาณไหนที่คนดูจะไม่เบื่อ รู้สึกตื่นเต้น แต่ต้องไม่ไปทำลายส่วนที่สปีกเกอร์พูดด้วย” มอสทิ้งท้าย

ชาวช่องที่ได้รับชมแต่ละฉากด้วยสายตาตัวเองย่อมเห็นด้วยว่าการออกแบบฉากแต่ละฉากใน Fara Talk ครั้งนี้ส่งเสริมให้ดาราช่องแต่ละคนโดดเด่น ในขณะเดียวกันก็ยังทำหน้าที่เล่าเรื่องได้อย่างดี และไม่โอ่อ่าหรือ ‘เล่นใหญ่’ จนกลบเสน่ห์ของผู้พูดบนเวที

ภาพจากเฟซบุ๊ก FAROSE

หากมองเพียงผิวเผิน Stage Design อาจเป็นเพียง ‘ฉาก’ ประกอบการพูดเท่านั้น แต่เมื่อได้พิจารณารายละเอียดในการออกแบบ จัดวาง ภาพและแสงสีทั้งหมดบนเวทีคือบรรยากาศโดยรวมถึงจะสร้างประสบการณ์หรือแม้กระทั้งภาพจำให้กับอีเวนต์ครั้งหนึ่งๆ จนกลายเป็นซิกเนเจอร์เฉพาะ

ยกตัวอย่างเช่นเวที TED Talk และ TEDx ทั่วโลกซึ่งเน้นการออกแบบไปในทิศทางเดียวกันซ้ำๆ จนกลายเป็นอัตลักษณ์ หรือกระทั่งเวทีสแตนอัปคอเมดี้ของเจ้าพ่อเดี่ยวไมโครโฟนอย่าง ‘โน้ส – อุดม แต้พานิช’ ที่ออกแบบมาไม่ซ้ำกันเลยตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีในการแสดง ก็ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แฟนคลับต่างรอลุ้นเสมอ ว่าเวทีของเดี่ยวในครั้งต่อๆ ไปจะถูกเนรมิตออกมาแบบไหน

ไม่ว่าจะเป็นเวทีแบบไหน Stage Design ย่อมเป็นตัวแปรสำคัญที่จะสร้างภาพจำให้กับงานนั้นๆ ไปตามธรรมชาติ โดยเฉพาะงานทอล์กโชว์ที่มีการเคลื่อนไหว มีแสงสีไม่มากเท่าคอนเสิร์ตหรืองานอีเวนต์แบบอื่น และในท่ามกลางข้อจำกัดต่างๆ ทั้งหมด ดีไซเนอร์และทีมโปรดักชั่นสัญชาติไทยก็สร้างสรรค์งานทุกมิติออกมาได้อย่างงดงามไม่แพ้โปรดักต์ชั่นระดับสากล

เรียกได้ว่า Stage Design กำลังเป็นกลุ่มอาชีพที่สำคัญและจะถูกนำมาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมและอีเวนต์ที่หลากหลายมากขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน

(บทความโดย…. เสาวลักษณ์ เชื้อคำ)

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า