SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีคำสั่งปฏิเสธ คำขอรับสิทธิบัตร ‘ยาฟาวิพิราเวียร์’ รูปแบบเม็ดแล้ว หลังทำการตรวจสอบแล้วเห็นว่า ไม่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น ขณะที่ ผู้ขอรับสิทธิบัตร สามารถอุทธรณ์ ได้ภายใน 60 วัน และหากผู้ใดประสงค์จะผลิตยาดังกล่าว เพื่อใช้ในประเทศก็สามารถดำเนินการได้อยู่

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า การพิจารณาคำขอรับสิทธิบัตรยาฟาวิพิราเวียร์ รูปแบบยาเม็ดที่มีการสอบถามความคืบหน้ามาก่อนหน้านี้ ล่าสุด กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีคำสั่งปฏิเสธคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรแล้ว ภายหลังจากให้โอกาสผู้ขอได้ชี้แจงเพิ่มเติม โดยผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรพิจารณาแล้วยังคงเห็นว่า การประดิษฐ์ดังกล่าวไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น ตามมาตรา 5(2) และมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522

ทำให้ปัจจุบันไม่มีผู้ใดมีสิทธิผูกขาดในยาฟาวิพิราเวียร์ ทั้งในโครงสร้างสารออกฤทธิ์หลักซึ่งไม่เคยมีการขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทย และรูปแบบยาเม็ด ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีคำสั่งปฏิเสธคำขอแล้วในวันนี้ หากองค์การเภสัชกรรม หรือ บริษัทยาสามัญไทยรายอื่นประสงค์จะผลิตยาดังกล่าว เพื่อใช้ในประเทศก็สามารถดำเนินการได้

ทั้งนี้ เนื่องจาก กระบวนการของกฎหมายยังเปิดโอกาสให้ผู้ขอฯ สามารถอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการสิทธิบัตร ได้ภายใน 60 วัน หากไม่มีการอุทธรณ์ภายในระยะเวลาดังกล่าว จึงจะถือว่า คำสั่งปฏิเสธของกรมทรัพย์สอนทางปัญญา เป็นที่สุด และเสร็จสิ้นกระบวนการทางกฎหมาย

นายวุฒิไกร กล่าวว่า หากทุกภาคส่วนกำลังช่วยกันแก้ปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองภายใต้เป้าหมายเดียวกัน คือ ให้ประชาชนเข้าถึงยาที่จำเป็นได้อย่างทันท่วงที และไม่อยากให้มองว่า สิทธิบัตรเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงยาเพียงอย่างเดียว เพราะหากมองในมุมกลับกัน ตั้งแต่โรคโควิด-19 ระบาดในไทยเมื่อต้นปี 2563 มีคนไทยยื่นจดสิทธิบัตร-อนุสิทธิบัตร ที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 แล้วกว่า 60 คำขอ เช่น หน้ากากอนามัย ตู้อบฆ่าเชื้อ ยาต้านไวรัส และหุ่นยนต์ขนส่งอาหารในโรงพยาบาล เป็นต้น จึงเห็นได้ว่า สิทธิบัตรก็เป็นประโยชน์สำหรับคนไทยที่จะทำให้ข้ามผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบากของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไปด้วยกัน

สำหรับ ประเด็นที่มีการเสนอข่าวในบางสื่อว่า ประเทศไทย ไม่สามารถบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (Compulsory License หรือ CL) เพื่อผลิตยาที่มีสิทธิบัตรขึ้นเองได้ เนื่องจากติดขัดที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กำลังแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร นั้น เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ขอเรียนว่า การแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรที่มีการอ้างถึง ปัจจุบันเป็นเพียงร่างกฎหมายที่อยู่ภายในหน่วยงาน ยังต้องผ่านกระบวนการพิจารณาด้วยความรอบคอบอีกหลายขั้นตอนกว่าจะมีผลบังคับใช้ ดังนั้น การใช้สิทธิ CL จึงยังเป็นอำนาจของกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า