SHARE

คัดลอกแล้ว

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่

วันที่ 15 ม.ค. ที่รัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎรวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ตั้งคำถาม กรณี พลทหารชัยชนะ ทาสี ทหารใหม่ผลัด 2/62 กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 19 ค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี เสียชีวิต เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2563 โดยมารดายืนยันว่า ลูกชายไม่เคยป่วยด้วยโรคอะไรมาก่อน เพียงแต่มีปัญหาทางด้านสัมปชัญญะและด้านการพูด ขณะที่ทางผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 19 ได้ชี้แจงในเบื้องต้นว่า จากการตรวจสุขภาพพบว่าร่างกายไม่แข็งแรงอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งประเด็นนี้สำคัญ เพราะว่างบประมาณในการตรวจคัดเลือกเกณฑ์ทหารในปี 2562 มีถึง 140 ล้านบาท แล้วปกติถ้ามีการตรวจคัดเลือกแล้วพบว่าพลทหารชัยชนะมีปัญหาด้านสุขภาพและเป็นปัญหาต่อการฝึก รับเข้ามาได้อย่างไร

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เคยบอกว่า ถ้าเป็นโรคหรือมีอุปสรรคในการฝึกก็จะไม่ได้รับการตรวจคัดเลือกเข้ามาเป็นทหารกองประจำการอยู่แล้ว แต่กรณีนี้ชัดเจนว่าพลทหารชัยชนะ มีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ก็ยังรับเข้ามา และทางผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 ระบุอีกว่าพอฝึกได้แค่หนึ่งสัปดาห์ก็พบความผิดปกติจึงให้หยุดฝึกอีกหนึ่งสัปดาห์แล้วค่อยฝึกต่อ ดังนั้น คำถามที่ 1 เกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการตรวจคัดเลือก พบว่ามีปัญหาสุขภาพ มีอุปสรรคต่อการฝึก รับเข้ามาได้อย่างไร เงิน 140 ล้านบาทในการตรวจคัดเลือกเกณฑ์ทหาร มีกระบวนการที่รอบคอบเพียงพอหรือไม่ และเมื่อพบว่ามีอุปสรรคต่อการฝึกทำไมถึงไม่จำหน่ายออก ถึงดึงดันจะฝึกให้ได้ และฝึกอะไรกับพลทหารชัยชนะ

พล.อ.ชัยชาญได้ตอบว่า กระบวนการคัดเลือกจะมีนายทหารเป็นหัวหน้าในการตรวจเลือก แพทย์จากทั้งพลเรือนและแพทย์ทหาร จะดูว่าสภาพร่างกายเป็นอย่างไรในขั้นต้น ตรวจสุขภาพข้างต้น ตรวจโรคประจำตัว และมีการประชาสัมพันธ์ว่าบุคคลใดที่มีร่างกายไม่สมบูรณ์ มีโรคที่ไม่สามารถรับราชการได้ หรือมีโรคประจำตัวให้แจ้งต่อแพทย์ ซึ่งในความเป็นจริง บางครั้งผู้ที่มาตรวจเลือกก็ไม่ได้ทราบว่าตัวเองมีโรคประจำตัว หรือบางครั้งก็ไม่ได้รับการตรวจโรคมาก่อน บางครั้งก็มีโรคประจำตัวอยู่บ้างแต่ก็ไม่ได้บอกแพทย์ แต่เมื่อเข้ามาหน่วยฝึกแล้วก็จะมีการคัดกรองอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพลทหารชัยชนะได้รับการตรวจในวันที่ 17 พ.ย. อีกครั้งหนึ่ง หลังจากป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ แพทย์ลงความเห็นว่าสามารถทำการฝึกได้ อย่างไรก็ตามจากการสังเกตอาการแล้ว ครูฝึกหรือหน่วยฝึกก็เห็นว่าการที่จะฝึกอย่างตรากตรำอาจจะทำให้ร่างกายผิดปกติ ก็เลยมีการให้ติดตามการฝึกไปด้วย

นายวิโรจน์ ถามต่อว่า ในกรณีนี้ผู้บังคับการกองพันก็ระบุว่าป่วยอยู่ก่อนแล้ว ทำไมต้องฝึกต่อ ทำไมไม่จำหน่ายออก และในวันที่ 5 ธ.ค. ช่วงเวลากลางคืน มีการนำพลทหารชัยชนะ เข้าโรงพยาบาล และจากนั้นนอนยาวเลย ปัญหาคือตามข่าวระบุว่าญาติมาเยี่ยมในวันที่ 4 ธ.ค. แปลกหรือไม่ว่าญาติมาเยี่ยมก่อนที่จะเข้าโรงพยาบาลในช่วงกลางคืนวันที่ 5 และท้ายที่สุดเมื่อเกิดเหตุเสียชีวิตขึ้น ซึ่งในกรณีนี้มีเหตุต้องสงสัยว่าเสียชีวิตแบบผิดธรรมชาติอยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 156 จะต้องมีการแจ้งญาติก่อนชันสูตร ซึ่งตนไม่แน่ใจว่ามีกระบวนการแจ้งญาติก่อนชันสูตรหรือไม่ เพราะถ้ามีการแจ้งจริงทำไมคุณแม่และคุณป้าถึงติดใจ และอยู่ดีๆ ก็หายติดใจในวันที่ 14 ม.ค. หลังจากที่มีการแถลงข่าว ว่าไม่ติดใจ ทั้งๆ ที่วันที่ 13 ม.ค. คุณป้าระบุว่าจะนำศพกลับบ้านไม่ได้ถ้าไม่แถลงข่าวแก้

“ผมจึงตั้งเป็นข้อสังเกตและตั้งเป็นกระทู้ถามข้อที่สอง อยากให้ท่านรัฐมนตรีอธิบายว่าเหตุใด ในเมื่อมีการนำตัวพลทหารชัยชนะ เข้าโรงพยาบาลค่ายสุรสีห์ในช่วงกลางคืนวันที่ 5 ปกติญาติต้องมาเยี่ยมหลังจากนั้น ทำไมในกรณีนี้ญาติมาเยี่ยมก่อน เหมือนรู้ว่าจะต้องเข้าโรงพยาบาล เหตุอะไรเกิดขึ้นก่อนที่พลทหารชัยชนะ จะเข้าโรงพยาบาล และการชันสูตรแจ้งญาติก่อนหรือไม่ ถ้าแจ้งทำไมคุณแม่และคุณป้าถึงยังติดใจ” นายวิโรจน์ กล่าว

พล.อ.ชัยชาญ กล่าวตอบกระทู้ว่า เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. พลทหารชัยชนะได้เข้าโรงพยาบาลมาเนื่องจากการฝึกทางยุทธวิธี บังเอิญได้ถูกกิ่งไม้เกี่ยวเข้าทางตาขวา คืนนั้น มีการขยี้ตาเลยทำให้มีอาการบวมแดง ญาติซึ่งประกอบด้วยพี่เขย น้องชาย และเพื่อนๆ ได้เข้ามาเยี่ยมในวันที่ 5 ธ.ค. ในวันที่เข้าโรงพยาบาล โดยหน่วยมีการประสานงานกับญาติตลอดเวลา มีการแจ้งว่าพลทหารชัยชนะป่วยด้วยโรคอะไร อาการเป็นอย่างไรตลอดเวลา และเรียนว่าพลทหารชัยชนะปกติจะอยู่กับพี่สาวพี่เขย ไม่ได้อยู่กับคุณป้าหรือคุณแม่ ทางหน่วยก็ได้ติดต่อกับพี่เขยพี่สาวเสมอ แจ้งว่ามีอาการอย่างไรตลอดเวลา สรุปแล้ว การชันสูตรพลิกศพอยู่ที่ญาติจะให้ดำเนินการอย่างไร สุดท้ายญาติก็ไม่ติดใจ เพราะได้ติดตามการป่วยไข้ของพลทหารชัยชนะมาอย่างต่อเนื่อง

นายวิโรจน์ ถามคำถามที่ 3 ว่าเมื่อไรจะเป็นรายสุดท้าย เพราะ ผบ.ทบ.แจ้งว่าจะดูแลทหารเกณฑ์เหมือนน้องชายคนเล็ก ที่ตนและพรรคต้องเข้ามายุ่งเพราะเขาเป็นประชาชน ในเมื่อมีเหตุเคลือบแคลงในการชันสูตรโดยแพทย์ทหาร และ รมช.กลาโหม เคยตอบกระทู้ในสภา เมื่อ 18 ธ.ค. ถ้ามีเหตุสงสัยพร้อมจะทำความจริงให้กระจ่าง กรณีนี้จะให้มีการชันสูตรซ้ำได้หรือไม่

พล.อ.ชัยชาญ ตอบว่า เรื่องดูแลเหมือนน้องชายคนเล็ก กองทัพได้ปฏิบัติจริง เราให้ความสำคัญกับทหารกองจำการ ส่วนกรณีการเสียชีวิตทุกเหตุ มีการตั้งกรรมการสอบสวน ถ้ามีความผิดมีการลงโทษทั้งวินัยและอาญา กรณีนี้ หน่วยกับญาติติดต่อกันแล้ว ญาติรับทราบและไม่ติดใจ ขณะที่กรมทหารราบที่ 29 มีการตั้งกรรมการสอบสวนแล้ว ทำตามขั้นตอนและกระบวนการ

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า