SHARE

คัดลอกแล้ว
จากกรณีมีการเผยแพร่เอกสารงบการเงินประจำปีของพรรคการเมือง ที่นายทะเบียนพรรคการเมืองประกาศให้ทราบและพบว่าหลายพรรคมีการกู้เงินหรือมีการใช้เงินทดรองจ่ายจากกรรมการบริหารพรรค จึงทำให้เกิดขึ้นสงสัยว่า ทำไมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถึงไม่ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีพรรคอนาคตใหม่ ที่ กกต.ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยยุบพรรค
.
วันที่ 15 ม.ค. กกต.ออกจดหมายข่าวชี้แจง ใจความสำคัญว่า กรณีพรรคอนาคตใหม่มีผู้ยื่นคำร้องกล่าวหา เมื่อเดือน พ.ค. 62 ว่านายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค ให้พรรคกู้เงิน ซึ่งในส่วนคดีอาญา กกต.ให้มีการสืบสวนและยังไม่ได้ชี้ขาด

นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต.และ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ กกต. และนายทะเบียนพรรคการเมือง

 

แต่ส่วนของคดียุบพรรค กกต.มีมติให้นายทะเบียนพรรคการเมือง (เลขาธิการ กกต.) พิจารณาและดำเนินการซึ่งพบว่าพรรคอนาคตใหม่ฝ่าฝืนมาตรา 72 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง จึงยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรค
.
ส่วนของพรรคอื่นๆ เป็นการตรวจสอบตามปกติและประกาศให้ประชาชนรับทราบเป็นการทั่วไป ซึ่งงบการเงินประจำปี 2557-2561 ได้ประกาศเมื่อ 25 ธ.ค. 2562 หลังจากนี้ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าพรรคใดกระทำการเข้าข่ายฝ่ายฝืนกฎหมายก็จะแจ้งให้มาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อไป
ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ได้ยื่นคำร้องให้ กกต.ตรวจสอบ 32 พรรคการเมือง ที่เข้าข่าย ยืมเงิน และใช้เงินทดรองจ่ายจากผู้บริหารพรรคแล้ว ซึ่งในจำนวน ดังกล่าวมีพรรค พรรคเพื่อไทย,พรรคภูมิใจไทย, พรรครวมพลังประชาชาติไทย, พรรคชาติพัฒนา, พรรคพลังชล, พรรคชาติไทยพัฒนา, พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย, พรรคพลังท้องถิ่นไท รวมอยู่ด้วย
นายศรีสุวรรณ  กล่าวว่า มีพรรคการเมืองจำนวน 34 พรรค ที่ปรากฏรายการกู้เงินในเอกสารงบการเงินของพรรคประจำปี 2561 แต่เนื่องจาก พรรคไทยรักษาชาติถูกศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไปแล้ว และพรรคอนาคตใหม่ กกต.ได้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว วันนี้ตนจึงยื่นเรื่องให้ กกต.ตรวจสอบพรรคการเมือง 32 พรรคว่า เข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 62 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 หรือไม่ หากเข้าข่ายก็จะต้องมีการเอาผิดตามมาตรา 72 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง ซึ่ง กกต.เคยวินิจฉัยกรณีเงินกู้ของพรรคอนาคตใหม่ไปแล้ว และส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคตามมาตรา 92 (3) พ.ร.ป.พรรคการเมืองต่อไป
.
แต่กรณีนี้อาจจะยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ เพราะถ้อยคำที่พรรคการเมืองใช้มีถ้อยคำที่แตกต่างกัน ทั้ง “เงินกู้” “เงินยืม” “เงินทดรองจ่าย” ซึ่ง กกต.จะต้องวินิจฉัยคำเหล่านี้เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ว่าเงินยืม และเงินทดรองจ่าย ถือเป็นเงินตามมาตรา 62 ของพ.ร.ป.พรรคการเมืองหรือไม่ หรือเป็นเงินที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 62 ในลักษณะเดียวกันกับเงินกู้ ซึ่งหาก กกต.วินิจฉัยว่าเงินยืม และเงินทดรองจ่ายไม่ใช่เงินกู้ ก็ต้องว่ากันไปอีกเรื่อง อย่างไรก็ตาม กกต.จะต้องตรวจสอบและทำเรื่องนี้ให้ปรากฏเพราะเอกสารและข้อมูลเรื่องงบการเงินของพรรคการเมืองก็อยู่ในมือ กกต.อยู่แล้ว
.
อย่างไรก็ตามแกนนำบางพรรคชี้แจงเมื่อวานนี้ว่าตาม รัฐธรรมนูญ 2550 สามารถกู้ยืมเงินได้ ส่วนที่ปรากฏเป็นงบการเงินก่อน รัฐธรรมนูญ 2560 มีผลบังคับใช้

 

https://www.facebook.com/EctThailand/posts/1501091773382223

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า