อดีตผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่โพสต์ถามส.ส.ไปงานศพว่าเป็นพระหรือไม่ ทำไมไปงานศพบ่อย พร้อม #สสตลาดล่าง สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์บนโลกออนไลน์ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ภายหลังเจ้าตัวลบทวีตไป ทวีชัย วงศ์ไพโรจน์กุล อดีตผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่ เขต 29 กรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์ส่วนตัวเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 เวลา 20.34 นาที ข้อความว่า “เป็นส.ส. หรือพระครับ วิ่งรอบออกงานศพขนาดนั้น? #สสตลาดล่าง” นายทวีชัยไม่ใช่คนเดียวที่คิดเช่นนี้ ก่อนหน้านี้ในช่วงการเลือกตั้งดุเดือดผู้ใช่โซเชียลมีเดียหลายคนทวีตแสดงความไม่พอใจกรณีส.ส.มางานศพคนใกล้ชิดพร้อมใส่เครื่องหมายพรรคการเมืองชัดเจนและแจกใบปลิวคล้ายการหาเสียงจากงานที่ควรแสดงท่าทีโศกเศร้า วันนี้ไปงานศพญาติคนใกล้ จะเผาแล้ว พระก็สวดอยู่ อยู่ๆมีคนจากพรรคเข้ามา สองสามคน(เท่าที่เห็น) ใส่แจ๊คเก๊ตประจำพรรค เข้ามาเดินแจกโปสการ์ดหาเสียง ให้ทุกคน ไม่ชอบอะ คิดว่าไม่สมควรด้วย แบบ คนโศกเศร้าอยู่ มาหาเสียงเนี่ยนะ ? ถามจริง ? น่าเกลียดค่ะ! โกรธ มากด้วย#เลือกตั้ง62 #เลือกตั้ง — Amioki : 「あみ」(。•̀ᴗ-)و ̑̑✧ (@Amioki731) February 16, 2019 ภายหลังนายทวีชัยลบข้อความดังกล่าวออกจากทวิตเตอร์ของตน และชี้แจงว่าสำรับตนแล้ว ผู้แทนไม่ไปงานศพที่ต้องมีต้นทุนในการใส่ซองแล้ว ก็ยังมีอีกหลายวิธีในการพบประชาชนเช่นการนั่งรถไฟฟ้า เดินตลาด เดินตามสวนสาธารณะ ผู้แทนไม่ไปงานศพ งานบวช งานแต่ง ผู้แทนจะพบประชาชนได้อย่างไร =มีอีกหลายทาง เดินลงพื้นที่พบปะโดยตรง หรือ งานประชุม , งานในชุมชนที่ไม่ใช่งานส่วนบุคคล ควรลดค่านิยมผู้แทนไปงานต่างๆ ถ้าซองละ 500 วันละ 3 งาน =1500 เดือนละ20 = 30,000/เดือน ผู้แทนเอาเงินที่ไหนใช้ทำอย่างอื่น? #เลือกตั้ง62 — เบสท์ \7 (@taweechaibest) May 31, 2019 ผู้แทน ไปงานศพ งานแต่ง งานบุญ คือ ผู้แทน ที่เข้าถึงง่าย? นั่งรถเมล์ นั่งรถไฟฟ้า เดินสวนสาธารณะ เดินตลาด แบบนี้ก็เข้าถึงง่ายมั๊ยครับ การเข้าถึงประชาชนมีหลายวิธี อย่ายึดติดการกระทำแบบเดิมๆที่ส่งผลให้เห็นแบบทุกวันนี้ครับ #เลือกตั้ง62 — เบสท์ \7 (@taweechaibest) May 31, 2019 คุณเป็น ส.ส.มั้ย? การไปงานพวกนี้คือไปรับฟังปัญหาชาวบ้านด้วย คนต่างจังหวัดเขาก็รวมตัวกันตามงานบุญ งานแต่ง งานศพ นั่นแหละคนอายุมากๆเขาไม่ได้รวมตัวกันบนแพลตฟอร์มต่างๆ จะเข้าถึงเขาคุณก็ต้องไปบ้าง ว่าแต่หัวหน้าคุณลงพื้นที่แล้ว คุณลงพื้นที่ของคุณรึยัง? ลงเฉพาะเฟซกับทวิต? — roong (@roong79255778) May 31, 2019 แต่ก็มีผู้ที่เห็นว่าการไปงานศพเป็นเรื่องจำเป็นเนื่องจากเป็นวิถีท้องถิ่น นายภารดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทองพรรคภูมิใจไทย (ภท.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวที่ใช้ชื่อ “Paradorn Battman” ว่าวิธีการหาเสียงของของนายทวีชัย อาจน่าสนใจและน่าศึกษา แต่การไปร่วมงานศพ งานบวช งานแต่งเป็นการเข้าถึงชาวบ้านตามวิถีสังคมชนบน ซึ่งตนก็จะทำต่อไปตราบใดที่ชาวบ้านต้องการให้ทำ ทั้งแนะนำให้ลองศึกษาสังคมชนบบทบ้างจึงจะรู้ถึงปัญหา ขณะที่นายวัน อยู่บำรุง ส.ส. กรุงเทพมหานครพรรคเพื่อไทยก็เห็นด้วยกับการร่วมงานต่าง ๆ ของส.ส. ส.ส.ต้องไปงานศพ เพราะยังก้าวไม่พ้นระบบอุปถัมป์แบบท้องถิ่น งานวิจัยของหัชชากร วงศ์สายัณห์ เรื่องระบบคุณค่าในวัฒนธรรมการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ตีพิมพ์ในงานสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ชี้ว่าในสังคมท้องถิ่นแล้ว การตัดสินใจเลือกตัวแทนในระดับท้องถิ่นมีด้วยกันหลายประการ เช่น ความเป็นท้องถิ่นนิยม ความสามารถในการบริหารจัดการ หนึ่งในนั้นคือการเกื้อหนุนนอกระบบงบประมาณ ที่รวมการอุปถัมภ์แบบท้องถิ่นในงานบวช งานแต่ง งานศพ แต่การไปงานเหล่านี้ก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง ไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมดในการตัดสินใจ แม้งานวิจัยข้างต้นจะกล่าวถึงการตัดสินใจเลือกผู้แทนในระดับท้องถิ่น แต่ก็สอดคล้องกับความเห็นของรศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ากติกาในการเลือกตั้งครั้งนี้จะลดความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง รวมถึงเปิดช่องให้ระบบ เจ้าพ่อ-แม่และระบบอุปถัมภ์กลับมามีอิทธิพลอีกครั้ง ต่างกับการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่สร้างเสริมให้พรรคการเมืองมีบทบาท ทำให้ประชาชนเลือกที่นโยบายโดยไม่สนตัวบุคคลและระบบอุปถัมภ์ ตลาดล่าง เหยียดหรือไม่? นอกจากปัญหาในการถกเถียงประเด็นส.ส.ควรไปงานศพหรือไม่ ยังมีประเด็นคำว่า “ตลาดล่าง” ที่สังคมถกเถียงมาหลายปีว่าเป็นคำแสดงการดูถูกเหยียดหยามหรือไม่ ก่อนหน้านี้คำว่า “ตลาดล่าง” ถูกใช้ในการความหมายเชิงการตลาด เช่น กล่าวถึงตลาดมหาชน (Mass Market) ตรงข้ามกับตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ต่อมาคำเดียวกันนี้ถูกขยายมาใช้จำกัดความกลุ่มประชากรรายได้ต่ำ ซึ่งอาจรวมไปถึงคุณภาพชีวิตที่ต่ำและเข้าถึงระบบการศึกษาได้น้อย เมื่อเร็ว ๆ มานี้มีกระแส #สสตลาดล่าง ในโซเชียลมีเดีย วิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติตัวของส.ส. ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งเห็นว่าไม่เหมาะสม ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ต่อยอดจากสังคมว่าการกล่าวโทษการปฏิบัติตัวของปัจเจกที่ประพฤติตัวต่างจากบรรทัดฐานของสังคมโดยใช้คำว่าเหมารวมไปถึงประชากรที่ด้อยโอกาสเป็นเรื่องเหมาะสมหรือไม่ อย่างไรก็ดี ทวีชัย วงศ์ไพโรจน์กุล ได้โพสต์กล่าวขอโทษและกล่าวว่าได้รับการตักเตือนจากพรรค โดยชี้แจงว่าพรรคอนาคตใหม่เห็นว่าคำว่า “ส.ส. ตลาดล่าง” เป็นการดูถูกหรือลดทอนคุณค่าของคนอื่น ขัดต่อหลักการ-คุณค่าของพรรคที่ส่งเสริมความเท่าเทียม ทางพรรคได้กล่าวตักเตือนผมแล้ว และผมจะระมัดระวังไม่แสดงออกในลักษณะนี้อีกครับ — เบสท์ \7 (@taweechaibest) June 1, 2019 ต่อมานายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กขอโทษเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอย้ำให้สมาชิกพรรคอนาคตใหม่ทำการเมืองอย่างสร้างสรรค์