Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ. ยืนยัน แม้ปิดรพ.บุษราคัม แต่จะไม่กระทบกับการให้บริการผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19

วันที่ 23 ก.ย. 2564 นพ.กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุษราคัม (โรงพยาบาลสนามที่เมืองทองธานี) เปิดเผยว่า 130 วันกับการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลบุษราคัม ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 2564 ถึงวันที่ 20 ก.ย. 2564 มีผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 20,432 คน เนื่องจากที่การระบาดของโควิด-19

ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 เป็นต้นมา กทม. ปริมณฑล มีผู้ป่วยติดเชื้อจำนวนมาก และเชื้อได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ส่งผลให้จำนวนเตียงใน กทม.และปริมณฑลไม่เพียงพอ ในขณะนั้นภายใต้นโยบายของรัฐบาลประชาชนทุกคนที่ติดเชื้อเป็นโรคต้องเข้าสู่ระบบการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยมีจำนวนมาก ตกค้างในชุมชน

กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดตั้งรพ.สนามขนาดใหญ่เพื่อรองรับผู้ป่วยโดยเฉพาะในกทม. ได้รับการสนุนพื้นที่จากเมืองทองธานี เปิดดำเนินการเป็นเฟส เฟสแรกเปิดเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2564 จำนวน 1,100 เตียง เฟสที่สองเปิดวันที่ 28 พ.ค. 2564 อีก 1,100 เตียง อย่างไรก็ตาม ในกรกฎาคม มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจำนวนมากและรวดเร็ว จากการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า จึงเปิดเฟสที่ 3 ในวันที่ 4 ก.ค. 2564 อีก 1,500 เตียง รวมแล้วขณะนั้นมีเตียงประมาณ 3,700 เตียง หลังจากเปิดไม่เกิน 5 วัน มีผู้ป่วยเข้านอนจนเตียงเต็ม วันละ 300-400 คนต่อวัน

ต่อมามีคนไข้อาการหนักเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเราไม่ปฏิเสธผู้ป่วย รับทุกประเภทที่มาถึงรพ. ขณะเดียวกันเมื่อผู้ปวยมีอาการหนัก แต่เราไม่สามารถส่งต่อไปยังรพ. ที่มีศักยภาพสูงกว่าได้ เนื่องจาก รพ.ขนาดใหญ่ในกทม. ก็มีภาระงาน มีเตียงที่ดูแลผู้ป่วยหนักเต็มเช่นเดียวกัน ช่วงเดือน ก.ค. – ส.ค. รพ.บุษราคัมจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยที่เกินกว่าภารกิจ คือมีอาการหนัก อาการรุนแรง ถึงสีแดงและสีแดงเข้ม บางครั้ง ในเวลา 1-2 สัปดาห์ ต้องมีการใส่เครื่องช่วยหายใจชนิด High flow ถึง 200 ตัวต่อวัน มีผู้ป่วยที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายและท่อช่วยหายใจ 10 คนต่อวัน

ดังนั้นในช่วงนั้นเอง จึงได้ขออนุมัติกับ ศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินของกระทรวงสาธารณสุข ในการขอเปิดหอผู้ป่วยวิกฤติเพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อีก 17 เตียง ในวันที่ 14 ส.ค. 2564 ซึ่งเป็นผู้ป่วยของรพ.บุษราคัมเอง ที่ต้องย้ายเข้ามาอยู่ในไอซียูดังกล่าวก็เต็มทันที ขณะเดียวกันยังมีผู้ป่วยจำนวนมาก ที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ชนิด High flow จึงขอเปิดหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤติอีก 32 เตียง ในวันที่ 1 ก.ย. 2564 ใน 130 วัน รพ.บุษราคัมดูแลผู้ป่วยไป 20,289 ราย โกเมน หอผู้ป่วยวิกฤติ ดูแลผู้ป่วย 92 ราย และ ทับทิม หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ ดูแลผู้ป่วย 55 ราย อย่างไรก็ตามจากมาตรการต่างๆ ผู้ป่วย ในเดือน ก.ย. ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดย 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ป่วยมาที่รพ.บุษราคัม น้อยลงมากๆ จนกระทั่งเหลือเพียงวันละไม่เกิน 5 คน ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ ได้ปรึกษาผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ได้ข้อสรุปว่า ขณะที่รพ.บุษราคัม รับคนไข้น้อยลงเรื่อยๆ วันละ 3 คน 5 คน 7 คน และผู้ป่วยเก่าก็กลับบ้านจนหมดสิ้นในวันที่ 20 ก.ย. 2564 กระทรวงสาธารณสุขจึงขอ “ปิดให้บริการ รพ.บุษราคัม” และจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของกทม.และปริมณฑล ซึ่งขณะนี้ได้รับทราบเบื้องต้นแล้วในการที่จะต้องรับการดูแลต่อเนื่องต่อไป

นพ.กิตติศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันระบบการแพทย์การสาธารณสุขที่เราทราบกันอยู่ทุกวันนี้ภายใต้การครอบคลุมของวัคซีนในกทม. ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ในเข็มแรกแล้วกลุ่ม 608 ผู้มีความเสี่ยงก็ครอบคลุมถึงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนระบบการดูแลผู้ติดเชื้อในกรณีที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ก็มีระบบ Home Isolation ระบบ Comunity Isolation มีรพ.สนามที่เพิ่มเติมขึ้นมาจำนวนมากใน กทม.และปริมณฑล การขยายทรัพยากรทางด้านโครงสร้าง ห้องไอซียู การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึง อาการหนักในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรพ.ของโรงเรียนแพทย์เอง รพ.ของกรุงเทพมหานคร หรือรพ.ของกรมการแพทย์ และรพ.เอกชน
ทำให้เรามีศักยภาพการรองรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก อาการปานกลางมากเพียงพอในขณะนี้

ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ก็มีระบบ Home Isolation ที่ได้รับความเชื่อถือและมั่นใจจากประชาชนแล้ว ตัวเลขการติดเชื้อรายวันในช่วง 2-3 สัปดาห์ก็ลดลงตามลำดับถึง 2,000 กว่าคนในกทม. ถึงแม้จะมากที่สุดในประเทศไทย แต่โดยสัดส่วนประชากรถือว่าไม่มาก และยังคงมีการลดลงต่อเนื่อง ถึงจะเป็นการลดอย่างช้าๆ ในส่วนของผู้ติดเชื้อ แต่ในส่วนผู้เสียชีวิตในกทม. น้อยลงอย่างชัดเจน ขอให้ความมั่นใจกับประชาชนได้ว่า ระบบการแพทย์โดยเฉพาะระบบบริการ เตียงผู้ป่วย การดูแลคนไข้ที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะในกทม. มีความมั่นคงและเพียงพอในขณะนี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า