SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐบาล เร่งแก้ไข ‘ฟินแลนด์’ ระงับวีซ่าแรงงานเก็บผลไม้ป่าทุกคนจากไทย ยันต่อต้านค้ามนุษย์-บังคับใช้แรงงาน

จากกรณีเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 67 เวลา 23.00 น. เศษ สถานเอกอัครราชทูตไทยในเฮลซิงกิ เผยแพร่ประกาศของกระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ เรื่องการตัดสินใจระงับการรับคำร้องขอตรวจลงตรา (Visa) ของคนเก็บเบอร์รี่ป่าในไทย โดยการระงับการรับคำร้องขอตรวจลงตรา (Visa) นี้ใช้บังคับกับผู้สมัครที่เป็นแรงงานเก็บเบอร์รี่ป่าทุกคน ที่ยื่นคำร้องขอตรวจลงตราที่สถานทูตฟินแลนด์ในกรุงเทพฯ ซึ่งจะครอบคลุมถึงผู้สมัครทั้งจาก ไทย กัมพูชา และพม่า หรืออีกนัยหนึ่งคือจะไม่มีการพิจารณาตรวจลงตราประเภทเชงเก้นให้แก่คนเก็บเบอร์รี่ป่าที่มาจากไทย กัมพูชา และเมียนมาในฤดูเก็บเกี่ยวช่วงหน้าร้อนปี 2567

โดย สถานเอกอัครราชทูตไทยในเฮลซิงกิ เปิดเผยคำแปลอย่างไม่เป็นทางการของกระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ ระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ ตัดสินใจระงับการรับคำร้องขอตรวจลงตราของคนเก็บเบอร์รี่ป่าในไทย

การระงับการรับคำร้องขอตรวจลงตรา (Visa) นี้ใช้บังคับกับผู้สมัครที่เป็นแรงงานเก็บเบอร์รี่ป่าทุกคนที่ยื่นคำร้องขอตรวจลงตราที่สถานทูตฟินแลนด์ในกรุงเทพฯ ซึ่งจะครอบคลุมถึงผู้สมัครทั้งจากไทย กัมพูชา และพม่า หรือ อีกนัยหนึ่ง จะไม่มีการพิจารณาตรวจลงตราประเภทเชงเก้นให้แก่คนเก็บเบอร์รี่ป่าที่มาจากไทย กัมพูชา และพม่าในฤดูเก็บเกี่ยวช่วงหน้าร้อนปี 2567

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 กระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ ได้เพิ่มความเข้มงวดเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการพิจารณาตรวจลงตราคนเก็บเบอร์รี่ป่า และหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวปี 2566 ได้มีการประเมินเงื่อนไขการพิจารณาตรวจลงตราประเภทเชงเก้นใหม่อย่างละเอียด เนื่องจากมีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับอาชญากรรมร้ายแรงที่เกิดขึ้นช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2566 และเกี่ยวพันกับการเก็บเกี่ยวผลเบอร์รี่ป่าปี 2566

ที่ผ่านมา การตรวจลงตราสำหรับการเก็บเบอร์รี่ป่าได้รับการพิจารณาอนุมัติบนข้อสันนิษฐานว่า คนเก็บเบอร์รี่ป่าเดินทางเข้าฟินแลนด์โดยมีวัตถุประสงค์เทียบเคียงได้กับการท่องเที่ยว และการเก็บเบอร์รี่ป่าอย่างเสรีภายใต้สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของทุกคน (Everyman’s Right) และสามารถเลือกที่จะขายผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ตนเก็บได้ให้กับผู้ซื้อรายใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่าแนวปฏิบัติในปัจจุบันของภาคส่วนนี้ขัดแย้งกับสมมติฐานดังกล่าว และกระทรวงการต่างประเทศได้รับทราบว่าโดยทั่วไปแล้วคนเก็บเบอร์รี่ป่ามีสัญญาจ้างงาน

เนื่องจากประเด็นข้อกล่าวหาและข้อสงสัยเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและมีเหยื่อหลายร้อยรายเกี่ยวข้อง การพิจารณาคำร้องขอตรวจลงตราจึงต้องคำนึงถึงความเสี่ยงอย่างชัดเจนและร้ายแรงในการแสวงประโยชน์โดยมิชอบและการค้ามนุษย์ ในฐานะที่กระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านตรวจลงตรามีอำนาจในการกำหนดแนวทางพิจารณาตรวจลงตรา จึงต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับกรณีการ แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากคนเก็บเบอร์รี่ป่าของไทย

รัฐบาลฟินแลนด์ ประสงค์ที่จะแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาระยะยาวและอย่างครอบคลุมในการเข้าประเทศของคนเก็บเบอร์รี่ป่าในฟินแลนด์ตั้งแต่ฤดูเก็บเกี่ยวปี 2568 เป็นต้นไป ดังนั้น ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2567 คณะทำงาน ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงเศรษฐกิจและการจ้างงาน และนักวิจัยจาก Pellervo Economic Research (PTT) จะดำเนินการประเมินผลกระทบทางเลือกด้านกฎระเบียบต่างๆ ไปพลางก่อน

สถานทูตฟินแลนด์ในกรุงเทพฯ ยังคงรับคำร้องและพิจารณาการตรวจลงตราประเภทอื่นๆ ตามปกติ และจะพิจารณาคำร้องแต่ละรายตามประมวลกฎหมายการตรวจลงตราของ EU

เมื่อวานนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนี้ว่า ได้รับรายงานเมื่อคืนที่ผ่านมา และสั่งให้กระทรวงการต่างประเทศ ไปตรวจสอบดูแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในช่วงที่เรากำลังเจรจาเรื่องของฟรีวีซ่า ไม่อยากให้มีอะไรที่ไปทำให้เกิดความระคายเคืองให้ทางกระทรวงการต่างประเทศไปรวบรวมข้อมูลก่อน

ล่าสุด นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในวันนี้ (18 มี.ค. 67) ว่า รัฐบาล โดยกรมการจัดหางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยกรมการกงสุล และกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ มิได้นิ่งนอนใจต่อกรณีดังกล่าว ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น และระยะยาว ดังนี้

ระยะสั้น – ชะลอการจัดส่งแรงงานไปเก็บผลไม้ป่าในสาธารณรัฐฟินแลนด์และสวีเดน จนกว่าจะปรับระเบียบกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับแรงงานไทยที่จะเดินทางไปเก็บผลไม้ป่า รวมถึงนายจ้างต้องยอมรับเงื่อนไขที่กำหนด โดยหากเป็นการเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าในรูปแบบนายจ้างพาลูกจ้างไปทำงาน นายจ้างต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดลูกจ้างจะต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อเป็นการยืนยันเจตนารมย์มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ การคุ้มครองและการรักษาสิทธิของแรงงานไทยตลอดจนความโปร่งใสและความเป็นธรรมให้แก่แรงงานไทย

ระยะยาว – ปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับแรงงานไทยที่ไปเก็บผลป่าที่ราชอาณาจักรสวีเดนและสาธารณรัฐฟินแลนด์ และกำหนดโทษนายจ้าง/ผู้ประสานงานให้ชัดเจน ทั้งต้องหารือระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐฟินแลนด์ เพื่อหาแนวทางในการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือในการจัดส่งแรงงานไทยต่างประเทศในรูปแบบรัฐต่อรัฐ หรือบันทึกความเข้าใจร่วมกันระหว่างประเทศ (MOU) หรือถึงแม้ว่าอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานก็ตาม เพื่อให้ทั้งสองประเทศร่วมกันในการแก้ไขปัญหาต่อไป

“รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการแก้ไขปัญหาต่อต้านการค้ามนุษย์ พร้อมเดินหน้าต่อต้านการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง เพื่อปกป้อง คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงเพื่อขจัดการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานในทุกรูปแบบ” นายคารม ย้ำ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า