SHARE

คัดลอกแล้ว

ธนาคารแห่งประเทศไทย สนับสนุนการพัฒนาฟินเทค เชื่อมความร่วมมือของผู้ให้บริการทางการเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ เปิดบ้านที่ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อจัดงาน Bangkok FinTech Fair 2019 ในธีม Collaboration for the Future of Finance ขึ้น ระหว่างวันที่ 18 -19 กรกฎาคม 2562 โดยภายในงานเน้นความสำคัญของการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการ ทั้งภาคสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการชำระเงิน บริษัทด้านเทคโนโลยีทางการเงินหรือฟินเทค รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำเทคโนโลยีทางการเงินมาพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร นอกจากนี้ยังได้ครอบคลุมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านบริการทางการเงินและการชำระเงินโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วย

ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความสำคัญของฟินเทคที่แบงก์ชาติให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่องว่า ข้อแรก ฟินเทคจะช่วยเพิ่มผลิตภาพของภาคการเงิน (Productivity) ถ้าภาคการเงินมีต้นทุนถูกลง ก็จะช่วยทำให้ผลิตภาพของทั้งระบบเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศดีขึ้น ข้อที่สอง ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Inclusivity) โดยฟินเทคจะมาช่วยทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึง และข้อที่สาม ฟินเทคใหม่ๆ จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน ตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ระบบการเงิน (Immunity)

“ประเทศไทยมีพัฒนาการด้านฟินเทคที่ค่อนข้างดี ถ้าเทียบกับประเทศภูมิภาค เราเป็นผู้นำในหลายๆ เรื่อง เช่น พร้อมเพย์ เป็นระบบที่ให้บริการประชาชนเป็นระบบแรกของอาเซียน และเติบโตอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เปิดให้บริการมาจนถึงปัจจุบันประมาณ 2 ปีเศษ มีผู้ใช้บริการประมาณ 50 ล้าน ID แล้ว มีการทำธุรกรรมเฉลี่ยวันละ 6 ล้านรายการผ่านพร้อมเพย์ ประชาชนสัมผัสได้ว่ามีความสะดวกมากขึ้น ต้นทุนการทำธุรกรรมก็ถูกลง ประเทศไทยมีต้นทุนการใช้บริการทางการเงินที่ถูกที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ส่งผลต่อไปที่ระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัลที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถซื้อขายได้เมื่อมีระบบการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพ”

นอกจากนี้ ดร.วิรไท ยังกล่าวด้วยว่า แบงก์ชาติจะสนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่ายทางการเงิน (Value of Financial Network) ขึ้น เพื่อให้ระบบการเงินสามารถต่อเชื่อมกัน และสามารถนำข้อมูลในระบบมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อประเทศต่อได้ ทั้งนี้การสร้างเครือข่ายดังกล่าวประกอบด้วย 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่

1. โครงข่ายระบบพื้นฐานแบบเปิด (Open Architecture Framework) เพื่อให้ผู้เล่นรายใหม่ๆ สามารถเข้ามาเชื่อมต่อกับระบบได้

2. ระบบที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ (Interoperability of Systems) เป็นระบบมาตรฐานกลางที่จะมาช่วยให้ผู้ให้บริการที่มีความแตกต่างกัน สามารถที่จะเชื่อมโยงเข้าหากันได้ เช่น ระบบคิวอาร์โค้ดมาตรฐาน (Standardized QR code)

3. ทำโครงสร้างพื้นฐานที่มาช่วยสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมให้กับทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (Creating the Right Incentive Structure) ด้วยการทำระบบให้สะดวกขึ้นและมีราคาที่ถูกลง

4. โครงสร้างของการกำกับดูแล (Regulatory Framework) โดยกฎระเบียบที่ออกมาต้องมีความสมดุล ไม่หย่อนยานหรือเข้มงวดจนเกินไป ตลอดจนต้องมีความยืดหยุ่นและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้ผู้ให้บริการที่สนใจ สามารถมาลงทุนและให้บริการ เกิดตลาดที่มีความเป็นธรรม รวมทั้งดึงนวัตกรรมทางเงินต่างๆ ให้เข้ามาในระบบการเงินไทยได้ด้วย

นอกจากภายในงานทั้งสองวัน จะมีเวทีเสวนาในหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องฟินเทค และ showcase มากมายจากผู้ให้บริการทางการเงินต่างๆ แล้ว ยังมีแถลงข่าวสำคัญ 2 งาน ได้แก่ งานแถลงข่าวเรื่อง โครงสร้างระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (National Digital ID – NDID) โดยบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเป็นตัวกลางให้ภาครัฐและเอกชนเชื่อมต่อข้อมูลในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เอื้อประโยชน์แก่ทุกภาคส่วนโดยยึดหลักประชาชนผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง และมีกำหนดจะเปิดให้บริการในช่วงต้นไตรมาส 4 ปี 2562

และงานแถลงข่าวบริการ QR Payment รูปแบบใหม่ขยายสู่ภาคธุรกิจ “The New Chapter of QR Payment: MyPromptQR” โดยเป็นการขยายมาตรฐาน Thai QR Payment สู่ภาคธุรกิจ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีเครือข่ายสาขาจำนวนมาก เช่น ร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้า โดย MyPromptQR จะช่วยให้ภาคธุรกิจรับชำระเงินได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น สามารถเชื่อมโยงระบบการรับชำระเงินกับระบบ Point of Sale ที่จุดรับชำระเงินของร้านค้าได้อัตโนมัติ สะดวกขึ้นจากการให้บริการคิวอาร์โค้ดแบบเดิมที่ลูกค้ากรอกยอดเงินและสแกนคิวอาร์โค้ดของร้านค้า จึงลดขั้นตอนและเวลาของแคชเชียร์ในการรับชำระเงิน อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงกับระบบส่งเสริมการขาย ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้ในอนาคต

ที่มา:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า