SHARE

คัดลอกแล้ว

Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)

เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2565 บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) Fitch คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะเติบโตที่ 3.3% และเพิ่มขึ้นเป็น 3.8% ในปี 2566 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับเดียวกัน (Peer) ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2% ปัจจัยสนับสนุนสำคัญ คือ

– การฟื้นตัวอย่างมากของภาคการท่องเที่ยว โดยคาดว่านักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นจาก 10.3 ล้านคน ในปี 2565 เป็น 24 ล้านคน ในปี 2566 จากการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ

– การประกาศปรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากการเป็นโรคติดต่อร้ายแรง (Pandemic) เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic)

– อุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐและอัตราเงินเฟ้อที่ผ่อนคลาย

2) ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ เนื่องจากมีกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เข้มแข็ง โดย Fitch คาดว่า การขาดดุลงบประมาณของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องลดลงตามสถานการณ์การระบาดที่คลี่คลาย

จากระดับ 6.8% ในปี 2564 เป็น 4.9% และ 3.8% ในปี 2565 และ 2566 ตามลำดับ และคาดว่าจะยังอยู่ในระดับดังกล่าวในระยะต่อไป

ระดับการขาดดุลดังกล่าวจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับมีเสถียรภาพและรัฐบาลมีพื้นที่ทางการคลังที่สามารถรองรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต (Shock)

นอกจากนี้ รัฐบาลสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในประเทศได้ทุกสถานการณ์ และหนี้สาธารณะคงค้างส่วนใหญ่เป็นหนี้สกุลเงินบาทจึงช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และคาดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง

3) ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) มีความเข้มแข็งและยืดหยุ่น แม้ในปี 2565 ประเทศไทยจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ 3.2% แต่ Fitch คาดว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเกินดุล (Surplus) เป็น 1.9% และ 3.7% ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ

ปัจจัยหนุนมาจากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในปี 2566 จำนวน 6.9 เดือน ซึ่งสูงกว่า Peers ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.6 เดือน

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ Fitch ให้ความสนใจและจะติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การดำเนินมาตรการด้านอัตราเงินเฟ้อ สัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนต่อ GDP และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า