Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปภ.เตือน กทม. รับมือสถานการณ์น้ำ คาดจะมีน้ำหลากส่งผลให้ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาน้ำเพิ่มสูงขึ้นช่วงวันที่ 23-30 ต.ค.นี้ ขอให้แจ้งประชาชนพื้นที่เสี่ยงทราบล่วงหน้า

วันที่ 19 ต.ค. 2564 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพฯ ลงวันที่ 18 ต.ค.2564 แจ้งว่า ได้ประเมินและวิเคราะห์ปริมาณฝนตกร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากร

คาดการณ์ปริมาณน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากแม่น้ำปิง จะทำให้มีน้ำไหลผ่านบริเวณอำเภอเมือง จ.นครสวรรค์ เพิ่มสูงสุดจากอัตรา 2,484 ลบ.ม./วินาที เป็น 3,000-3,100 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 22 ต.ค.นี้

โดยจะบริหารจัดการน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยาด้วยการหน่วงน้ำและผันน้ำ เข้าคลองต่างๆ ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท อยู่ในเกณฑ์ 2,700 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท้ายเขื่อน มีระดับน้ำเพิ่มสูงสุดขึ้นจากปัจจุบัน ประมาณ 0.20-0.40 เมตร และจะกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในวันที่ 23-30 ต.ค.64

ขอให้ กทม. ติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ด้านพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า สถานการณ์น้ำเหนือไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อเวลา 06.00 น. ปริมาณน้ำของกรมชลประทานที่ อ.บางไทร ตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่าน กทม. เฉลี่ย 2,923 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาดของ กทม. อยู่ที่ระดับ 2.00 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งยังต่ำกว่าระดับคันกั้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานครอยู่ประมาณ 1.00 เมตร จึงยังไม่ส่งผลกระทบในพื้นที่ กทม.

สำหรับระดับน้ำแนวคันกั้นน้ำด้านตะวันออก ณ ประตูระบายน้ำคลองสอง (สายใต้) อยู่ในระดับปกติ +1.13 (ระดับวิกฤติ +1.80) ประตูระบายน้ำแสนแสบ (มีนบุรี) อยู่ในระดับปกติ +0.69 (ระดับวิกฤติ +0.90) ประตูระบายน้ำลาดกระบัง อยู่ในระดับปกติ +0.42 (ระดับวิกฤติ +0.60) ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (07.00 น.) : พื้นที่กรุงเทพมหานครฝนตกเล็กน้อยบางพื้นที่ ปริมาณฝนรวมสูงสุด 0.5 มม. ไม่มีรายงานจุดเร่งการระบายน้ำในถนนสายหลัก

ทั้งนี้ กทม. ได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำโดยตรวจสอบความแข็งแรงและจุดรั่วซึมของแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 7 จนถึงบางนา ความยาวประมาณ 78.93 กิโลเมตร และเรียงกระสอบทรายเป็นเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ)และบริเวณแนวป้องกันที่มีระดับต่ำตามจุดต่างๆ 14 จุด รวมระยะทาง 2,512 เมตร พร้อมทั้งตรวจสอบความพร้อมของสถานีสูบน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 97 สถานี และบ่อสูบน้ำตามแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งในช่วงน้ำทะเลขึ้น รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังประจำจุด เครื่องสูบน้ำสำรอง เรือผลักดันน้ำ วัสดุอุปกรณ์ กระสอบทราย และอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมปฏิบัติการและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ทันทีเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม ตลอด 24 ชั่วโมง อนึ่ง ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์น้ำผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักการระบายน้ำ https://dds.bangkok.go.th/ ตลอด 24 ชั่วโมง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า