Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปภ.รายงานสถานการณ์น้ำท่วมยังได้รับผลกระทบหนัก 15 จังหวัด ล่าสุด จ.นครราชสีมา มวลน้ำลำตะคองทะลักท่วมพื้นที่เศรษฐกิจเสียหายหลายส่วน

วันที่ 20 ต.ค. 2564 มวลน้ำจากลำน้ำลำตะคองที่ไหลผ่านเขตเมืองนครราชสีมาหลากเข้าท่วมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 50-60 เซนติเมตร หลังระดับน้ำในลำน้ำลำตะคองบางจุดเอ่อล้นตลิ่ง ทางจังหวัดฯ ได้ประสานขอความช่วยเหลือจากทหาร กองทัพภาคที่ 2 กู้ภัย และ ปภ.น้ำรถบรรทุกขนาดใหญ่มาบริการประชาชน กับ เจ้าหน้าที่ รพ.อำนวยความสะดวกขนย้ายคนเข้าออก ซึ่งมีรถยกสูงบางคัน อาสาบรรทุกเจ้าหน้าที่ฯ เข้าส่งที่อาคาร รพ. ด้วย

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ลงพื้นที่ติดตามอำนวยการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ช่วงเช้าทราบว่ามวลน้ำได้เริ่มทะลักเข้ามาภายในบริเวณของโรงพยาบาลตั้งแต่ช่วงเวลา 04.30 น. ขณะนี้น้ำสูงกว่าระดับผิวดินประมาณ 50-60 เซนติเมตรแล้ว คาดว่าจะเพิ่มสูงเกินพนังที่กั้นไว้ และทาง รพ.ได้ตรวจพบรอยรั่วของพนังกั้นน้ำ วันนี้จึงได้มาตรวจซ้ำเพื่อวางแผนซ่อมแซมอุดรอยรั่วให้ได้ และสูบน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว นอกจากนี้ได้ประสานองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ ให้เข้ามาช่วยเหลือดำเนินการสร้างสะพานชั่วคราวเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของ รพ.และประชาชนที่มาติดต่อใช้บริการ ได้ใช้สัญจรเดินเข้าออกอาคารภายใน รพ. เนื่องจากทางเข้า รพ. ประตูด้านหลังฝั่งประปาเทศบาลนครฯ มีระดับน้ำท่วมสูง รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ จึงต้องมีการทำสะพานให้ประชาชนใช้เดินทางเข้าออก รพ. ซึ่งอาจจะเลือกทำจุดใดจุดหนึ่งก่อน

ปภ.รายงานสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวม 15 จังหวัด ประสานเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ขณะที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวม 15 จังหวัด จากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนล่างและประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ตั้งแต่วันที่ 17-19 ต.ค. 64 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สระแก้ว ชลบุรี สมุทรปราการ นครปฐม และกาญจนบุรี รวม 27 อำเภอ 77 ตำบล 302 หมู่บ้าน ประขาชนได้รับผลกระทบ 6,466 ครัวเรือน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 6 จังหวัด 31 อำเภอ 127 ตำบล 579 หมู่บ้าน 11,122 ครัวเรือน ดังนี้

1. ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคอนสาร อำเภอบ้านเขว้า อำเภอบ้านแท่น อำเภอเทพสถิต อำเภอจัตุรัส อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอเนินสง่า และอำเภอหนองบัวระเหว ระดับน้ำทรงตัว

2. นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสูง อำเภอสีคิ้ว อำเภอพิมาย อำเภอด่านขุนทด อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอปักธงชัย อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอคง อำเภอเมืองยาง และอำเภอประทาย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

3. บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนางรอง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ระดับน้ำลดลง

4. ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูสิงห์ อำเภอขุนหาญ และอำเภอขุขันธ์ ระดับน้ำทรงตัว

5. นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี และอำเภอสามพราน ระดับน้ำทรงตัว

6. สระแก้ว น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสระแก้ว และอำเภอวัฒนานคร ระดับน้ำลดลง

ส่วนอิทธิพลพายุ “คมปาซุ” ซึ่งได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความอากาศต่ำ และร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ตั้งแต่วันที่ 15 -17 ต.ค. 64 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ตาก เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ลพบุรี ปราจีนบุรี และนครนายก รวม 12 อำเภอ 33 ตำบล 112 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,326 ครัวเรือน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 2 จังหวัด 7 อำเภอ 19 ตำบล 78 หมู่บ้าน 2,216 ครัวเรือน ดังนี้

1. ลพบุรี น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอชัยบาดาล อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอลำสนธิ ระดับน้ำลดลง

2. ปราจีนบุรี น้ำป่าไหลหลากและน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม และอำเภอกบินทร์บุรี ระดับน้ำลดลง

ในส่วนของผลกระทบจากพายุ “เตี้ยนหมู่” ซึ่งเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ

ภาคกลาง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 7 ต.ค. 2564 ทำให้มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 33 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม รวม 225 อำเภอ 1,201 ตำบล 8,218 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 333,367 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 14 ราย (ลพบุรี 11 ราย เพชรบูรณ์ 2 ราย ชัยนาท 1 ราย) ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 25 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 8 จังหวัด รวม 37 อำเภอ 264 ตำบล 1,484 หมู่บ้าน 70,826 ครัวเรือน ดังนี้

1. ขอนแก่น น้ำท่วมขังในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอชนบท อำเภอพระยืน อำเภอมัญจาคีรี อำเภอบ้านแฮด อำเภอเมืองขอนแก่น และอำเภอบ้านไผ่ ระดับน้ำลดลง

2. มหาสารคาม น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม ระดับน้ำทรงตัว

3. นครราชสีมา น้ำท่วมขังในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสูง อำเภอพิมาย อำเภอคง อำเภอประทาย อำเภอชุมพวง และอำเภอเมืองยาง ระดับน้ำลดลง

4. สุพรรณบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง ระดับน้ำลดลง

5. สิงห์บุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี ระดับน้ำลดลง

6. อ่างทอง ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก อำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอสามโก้ ระดับน้ำลดลง

7. พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมขังในในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน และอำเภอบางซ้าย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

8. ปทุมธานี น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ริมน้ำ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำลดลง

ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลายในหลายพื้นที่ แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า