SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2565 ประเทศไทยยังต้องเฝ้าติดตาม ‘พายุลูกใหม่’ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ขณะที่เช้านี้ถนนหลายสายยังมีน้ำท่วม รถเล็กสัญจรลำบาก

บรรยากาศการเดินทางทางไปทำงานเช้านี้ (4 ต.ค. 2565) ถนนหลายสายยังมีน้ำท่วมขัง รถเล็กสัญจรลำบาก หลังจากวานนี้มีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงบ่ายถึงค่ำส่งผลน้ำท่วมและรถติด ล่าสุดกรมทางหลวง (ทล.)โดยสำนักงานทางหลวงที่ 13 (กรุงเทพฯ) รายงานภาพรวมน้ำท่วมบนผิวจราจร บนเส้นทางโครงข่ายทางหลวง ในพื้นที่กรุงเทพฯ – ปริมณฑล 26 จุดเฝ้าระวังที่มีน้ำท่วม 5 เส้นทาง ได้แก่

จุดที่ 4 ทล 31 วิภาวดีรังสิต (แยกหลักสี่) ไม่มีฝนตก มีน้ำท่วมขัง 5- 20 ซม. จำนวน 2 ช่องจราจร ระยะทาง 300 เมตร คาดว่าเหตุการณ์ปกติเวลา 12.00 น.

จุดที่ 6 ทล 304 แจ้งวัฒนะ (วงเวียนบางเขน) ไม่มีฝนตก มีน้ำท่วมขัง 5 – 10 ซม. จำนวน 2 ช่องจราจร ระยะทาง 100 เมตร คาดว่าเหตุการณ์ปกติเวลา 12.00 น.

จุดที่ 11 ทล 302 งามวงศ์วาน (ใต้ด่วนงามวงศ์วาน) ไม่มีฝนตก มีน้ำท่วมขัง 15 ซม. จำนวน 1 ช่องจราจร ระยะทาง 400 เมตร คาดว่าเหตุการณ์ปกติเวลา 11.00 น.

จุดที่ 13 ทล 304 แจ้งวัฒนะ (หน้าห้างไทวัสดุ) ไม่มีฝนตก มีน้ำท่วมขัง 15 – 20 ซม. จำนวน 1 ช่องจราจร ระยะทาง 600 เมตร คาดว่าเหตุการณ์ปกติเวลา 11.00 น.

จุดที่ 22 ทล 3344 ศรีนครินทร์ (ซอยแบริ่ง – ซอยลาซาล) ฝนตกเล็กน้อย มีน้ำท่วมขัง 5 – 10 ซม. จำนวน 1 – 2 ช่องจราจร ระยะทาง 400 เมตร คาดว่าเหตุการณ์ปกติเวลา 10.00 น.

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่งและบริเวณภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักมากบางแห่ง

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ กรุงเทพฯ (166 มม.) จ.หนองบัวลำภู (103 มม.) และ จ.ยะลา (101 มม.)

แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันเกิดพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ระหว่างวันที่ 28 ก.ย. – 3 ต.ค. 65 บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร ตาก อุตรดิตถ์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่นนครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ มุกดาหาร สระบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี และพังงา

ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 62,885 ลบ.ม. (77%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 52,449 ล้าน ลบ.ม. (77%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 23 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก แควน้อย ทับเสลา ป่าสัก กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ลำนางรอง สิรินธร ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร และบึงบอระเพ็ด

กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม ไทยยังคงต้องเฝ้าติดตามพายุลูกใหม่หมุนเขตร้อนที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้น มีผลกระทบ ภาคใต้ตอนบนถึงภาคใต้ตอนกลาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องประสานข้อมูลการดำเนินการอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ น้ำท่วม ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมการเพื่อดูแลพี่น้องประชาชนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

นโยบายในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยจากพายุลูกใหม่ ได้แก่

1) การพยากรณ์ โดยขอให้มีการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ น้ำท่วม และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนต่าง ๆ ทุกกลุ่มได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเร็วที่สุด

2) ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย น้ำท่วม ทุกระดับ ทุกกระทรวง/หน่วยงาน เตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกล สำหรับช่วยเหลือประชาชนตามแผนงานและแผนเผชิญเหตุ รวมถึงการกำจัดวัชพืช การจัดการขยะตามเส้นทางน้ำ การพร่องน้ำ การระบายน้ำ การเปิดทางน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดอุทกภัย

3) หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนและเส้นทางต่าง ๆ ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขปัญหาโครงการที่ส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำในช่วงฝนตกหนัก และในอนาคตการสร้างถนนจะต้องไม่ขวางทางน้ำ และมีท่อสำหรับการระบายน้ำด้วย

4) การติดตั้งสัญญาณไฟจราจร ป้ายบอกทางในพื้นที่อุทกภัย น้ำท่วม ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดอุบัติเหตุในเส้นทาง

5) เมื่อสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วม คลี่คลาย ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถเร่งให้ความช่วยเหลือเยียวยาตามหลักเกณฑ์ฯ ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า