SHARE

คัดลอกแล้ว

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศได้รับผลกระทบ 21 จังหวัด พร้อมสั่งเฝ้าระวังแม่น้ำป่าสัก-เจ้าพระยาระดับน้ำเพิ่มสูง ท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ถึงเขื่อนพระรามหก อยุธยา 

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวันที่ 3 – 9 ตุลาคม 2565 คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลเข้า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์เมตร กรมชลประทานจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำเพื่อควบคุมปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อรักษาเสถียรความมั่นคงของตัวเขื่อน โดยจะทยอยปรับเพิ่มจากอัตรา 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็นอัตรา 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้พื้นที่ริมแม่น้ำป่าสักด้านท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ถึงเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.40 – 1.00 เมตร

บริเวณท้ายเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.40 – 0.60 เมตร และจุดบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.25 – 0.50 เมตร ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่าน อ.บางไทร  จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่ในเกณฑ์ 3,300 – 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และส่งผลให้เกิดน้ำอัดเท้อไหลย้อนเข้ามาในแม่น้ำน้อย ทำให้ระดับแม่น้ำน้อยเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับลุ่มน้ำยมเกิดน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งได้หน่วงน้ำโดยการผันน้ำเข้าไปเก็บในทุ่งบางระกำเต็มความจุแล้ว และมีน้ำหลากจากแม่น้ำปิงไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น

ดังนั้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจาก จ.ชัยนาทถึงสมุทรปราการ จึงจำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ 2,700 – 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาบริเวณ อ.เมืองชัยนาทและมโนรมย์ จ.ชัยนาท และ อ.เมืองอุทัยธานี จ.อุทัยธานี เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.30 เมตร

ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565 กรมชลประทาน ได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล ซึ่งปัจจุบันยังคงมีฝนตกกระจายตัวทั่วประเทศ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักบางแห่งยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น พร้อมเร่งเดินเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชนโดยเร็วที่สุด

สถานการณ์น้ำท่วม ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565 จากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันตก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับสถานการณ์พายุ “โนรู” (NORUJ) ที่เข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. 65 ทำให้มีฝนตกหนังถึงหนักมากกับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ส่งผลให้มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ รวม 35 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา สุโขทัย พิจิตร ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี นครสวรรค์ เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น หนองบัวลำภู อุดรธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม ปราจีนบุรี และสระแก้ว

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 ต.ค. 65

บริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนลดลง แต่บริเวณภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.นราธิวาส (100 มม.) จ.นครศรีธรรมราช (98 มม.) และ จ.สงขลา (87 มม.)

แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

เฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ เนื่องจากระดับน้ำเกินระดับเก็บกักและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำตามมติที่ประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำชี ปริมาณน้ำที่ระบายในวันที่ 6 ต.ค. 65 ปริมาณ 41 ล้าน ลบ.ม.

เฝ้าระวังแม่น้ำป่าสัก-เจ้าพระยา ระดับน้ำเพิ่มสูง 3 จุด

  • ริมแม่น้ำป่าสักด้านท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ถึงเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.40-1.00 เมตร
  • ท้ายเขื่อนพระรามหก ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.40-0.60 เมตร
  • จุดบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.25-0.50 เมตร

ปัจจุบันเกิดยังคงมีสถานการณ์ใน 21 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เพชรบูรณ์ พิจิตร ตาก นครสวรรค์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ลพบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี

ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 64,577 ลบ.ม. (79%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 56,658 ล้าน ลบ.ม. (79%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 23 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก แควน้อย ทับเสลา ป่าสัก กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ลำนางรอง สิรินธร ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร และบึงบระเพ็ด

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศและกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัย เพื่อได้นำไปปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย

  1. พยากรณ์ และคาดการณ์ลักษณะอากาศ สถานการณ์น้ำ และพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย แจ้งเตือนประชาชนเตรียมความพร้อมในการรับมือ
  2. เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกลสาธารณภัย ออกปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัย
  3. จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร แจ้งเตือนประชาชนใช้ความระมัดระวัง หรือหลีกเลี่ยงเส้นทางให้ชัดเจน
  4. เมื่ออุทกภัยคลี่คลาย ให้เร่งสำรวจผลกระทบ ความเสียหายในด้านต่าง ๆ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
  5. เมื่อเกิดน้ำท่วมขัง ให้ฝ่ายปกครอง ร่วมกันกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมทั้งบูรณาการหน่วยงานใช้เครื่องจักรกลสาธารณภัยเปิดทางน้ำ หรือสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่
  6. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างความเข้าใจกับประชาชนถึงแผนการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำในระดับพื้นที่
  7. ให้กรมประชาสัมพันธ์ และจังหวัด สร้างการรับรู้ผลการดำเนินการของภาครัฐ ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
  8. การให้บริการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ต้องให้บริการได้นานและต่อเนื่องที่สุด และต้องมีแผนสำรองด้านการสื่อสาร
  9. เตรียมแผนรองรับในพื้นที่เศรษฐกิจ โรงพยาบาล สาธารณสุข เกษตรกร ชาวประมง ปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์ ให้มีแผนสื่อสารที่ชัดเจนว่าจะได้รับการดูแลอะไรบ้าง
  10. การเตรียมความพร้อมศูนย์อพยพต้องเพียงพอ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า