SHARE

คัดลอกแล้ว

นายกฯ ย้ำจังหวัด-หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ในทุกด้าน แจ้งเตือนประชาชนให้ทราบอย่างทันท่วงที

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์น้ำทั่วประเทศอย่างใกล้ชิดรวมถึงสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะนี้มีน้ำหลากจากทางตอนเหนือไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น

สถานการณ์ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาล่าสุด (8 ส.ค. 2565) อยู่ที่ +17.64 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ซึ่งสูงกว่าระดับเก็บกัก 1.14 (+16.50 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง) ทั้งนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของบานระบายน้ำและตัวเขื่อนเจ้าพระยา กรมชลประทานจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในเกณฑ์ +17.60 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ซึ่งจะส่งผลทำให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตรามากกว่า 2,900-3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2565 รวมทั้งกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้คาดการณ์ระดับน้ำทะเลหนุน ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียง จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติด้วย โดยระดับน้ำจะมีความสูงประมาณ 1.90-2.20 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ในช่วงวันที่ 8-13 ตุลาคม 2565

นายกรัฐมนตรีห่วงใยประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่อาจได้รับผลกระทบจากระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่บริเวณพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอป่าโมก และอำเภอไชโย คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล อำเภอเสนา และอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.10-0.15 เมตร รวมทั้งบริเวณตั้งแต่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.15-0.30 เมตร

“นายกรัฐมนตรีขอให้จังหวัดในพื้นที่ดังกล่าว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมรับมือในทุกด้าน เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชนให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ รวมทั้งเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที ขณะเดียวกันให้มีการปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ รวมทั้งใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สำหรับเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ขอให้บริหารจัดการน้ำโดยใช้ระบบชลประทานในการนำน้ำเข้าคลองต่าง ๆ ทั้งด้านฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้ได้มากที่สุด ตามศักยภาพคลองชลประทานในแต่ละช่วงเวลาที่สามารถรองรับได้ ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาในเขตจังหวัดชัยนาทและอุทัยธานี ให้เตรียมป้องกันระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ และสิ่งสำคัญคือ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำ แนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร และพื้นที่จุดเสี่ยงบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำให้รับทราบล่วงหน้า เพื่อประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวสามารถเตรียมความพร้อมรับมือได้กับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที” นายอนุชาฯ กล่าว.

กอปภ.อยุธยา แจ้งเตือนหน่วยงาน และประชาชนริมสองฝั่งแม่น้ำให้เฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำเพิ่มขึ้น และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ในช่วงวันที่ 8-13 ตุลาคมนี้

นายไพรัตน์ เพชรยวน รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีน้ำหลากจากทางตอนเหนือไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 3,077 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีจึงขอให้เฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ในช่วงวันที่ 8-13 ตุลาคม 2565 ดังนี้

1. ตั้งแต่ด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา คลองบางบาล อำเภอเสนา และผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.10-0.15 เมตร

2. บริเวณตั้งแต่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.15-0.30 เมตร

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพิจารณาแล้ว เห็นว่าเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ จึงขอให้ นายอำเภอทุกอำเภอ นายกเทศมนตรีนครพระนครศรีอยุธยา และนายกเทศมนตรีเมืองทุกแห่ง ประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนที่ประกอบกิจการในแม่น้ำ เช่น งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร ผู้บังคับเรือโดยสาร/เรือโยงขนส่งสินค้าหรือวัสดุ เป็นต้น รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

เนื่องด้วยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง แจ้งว่า กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้มีประกาศฉบับที่ 49/2565 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2565 แจ้งว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีน้ำหลากจากทางตอนเหนือไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 3,077 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าว จะไหลมารวมกับแม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขาไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา ปัจจุบันระดับน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ +17.64 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ซึ่งสูงกว่าระดับเก็บกัก 1.14 (+16.50 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง) เพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของบานระบายน้ำและตัวเขื่อนเจ้าพระยา กรมชลประทานจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในกณฑ์ +17.60 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตรามากกว่า 2,900-3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่
วันที่ 8 ตุลาคม 2565 ประกอบกับกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้คาดการณ์ระดับน้ำทะเลหนุน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียง จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ โดยระดับน้ำจะมีความสูงประมาณ 1.90-2.20 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง

เทศบาลนครกรุงเก่าระดมวางถุงบิ๊กแบ็คกลางดึก ป้องกันน้ำทะลักเข้าเกาะเมือง

เวลา 23.00 น.วันที่ 7 ตุลาคม 2565 เจ้าหน้าที่เร่งนำบิ๊กแบ๊กวางเสริมแนวคันกั้นน้ำในคลองมหาชัย หน้าตลาดหัวรอ  ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อปิดรอยรั่วแนวบิ๊กแบ็คเดิม ที่ป้องกันน้ำจากคลองเมืองไม่ให้ไหลเข้าสู่เกาะเมือง โดยทางเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ได้วางแนวบิ๊กแบ็คชั้นแรกเพื่อชะลอน้ำจากเกาะเมืองแล้ว 1 ชั้น แต่เนื่องจากระดับน้ำในคลองเมืองรวมเพิ่มสูงอย่างรวดเร็วและยังสูงขึ้นต่อเนื่อง และเพื่อป้องกันเขตเกาะเมือง จึงได้ระดมเจ้าหน้าที่อุดรอยรั่วและวางแนวป้องกันทั้งฝั่งคลองเมืองและฝั่งเกาะเมือง  และจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจแนวป้องกันน้ำในเขตเทศบาลฯ ตลอด 24 ชั่วโมง

โดยทางเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการปั้นคันดินรอบเกาะเมือง ระยะทาง 12.5 กม. ทั้งนี้หากจุดไหนเสี่ยงจะปั้นคันโดยการใช้กากมิกซ์ ซึ่งปัจจุบัน ได้ดำเนินการเสริมคันกากมิกซ์แล้ว 1 กิโลเมตร สามารถป้องกันน้ำเข้าท่วมชุมชนได้ 67 ชุมชน 18,000 ครัวเรือน 43,000 คน รวมทั้ง ได้จัดทำสะพานไม้ พร้อมติดตั้งไฟส่องสว่าง ให้ประชาชนสามารถเดินสัญจรเข้าออกไปยังบ้านพักอาศัยได้อย่างสะดวกและปลอดภัยอีกด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า