SHARE

คัดลอกแล้ว

ลุ่มน้ำเจ้าพระยาวิกฤต วันนี้เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำสูงสุดที่ 3,164 ลบ.ม./วินาที ขณะที่เขื่อนพระราม 6 เร่งระบายกว่า 1,000 ลบ.ม./วินาที ไหลล้นข้ามทุ่งศาลาลอย อ.ท่าเรือ บ่าข้ามถนนบ้านร่อม สายนครหลวง ท่าเรือ ด้านฝั่งทิศเหนือ และยังมีน้ำล้นมาจาก อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี และ อ.ไชโย จ.อ่างทอง ไหลเข้ามาสมทบจ่อเข้าใกล้นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง 

เปิดภาพถ่ายมุมสูงแม่นำ้ป่าสัก บริเวณรถไฟสะพานจักรี ท่าเรือ เทศบาลตำบลท่าเรือ ตลาดสดเช้าหน้าเทศบาลตำบลท่าเรือ สถานีรถไฟท่าเรือ วัดหนองแห้ว และบริเวณชุมชนรอบๆ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา หลังเขื่อนพระรามหกเพิ่มการระบายน้ำเพื่อชะลอน้ำเหนือในพื้นที่ว่างเหนือเขื่อน ส่งผลให้ระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น

ขณะที่ล่าสุดวันนี้ (11 ต.ค. 2565) เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพิ่มอัตราการระบายไปที่ 3,164 ลบ.ม./วินาที สูงสุดในรอบปี เพื่อรักษาสมดุลของน้ำเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน รองรับปริมาณน้ำฝนและชะลอน้ำเหนือไว้ในลำน้ำเหนือเขื่อน ส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนระดับน้ำขึ้นสูงต่อเนื่อง วัดได้ 17.38 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เอ่อล้นสูงกว่าตลิ่ง 92 ซม. เป็นเกณฑ์ที่เขื่อนเจ้าพระยามีการปรับระดับการแจ้งเตือนจากธงเหลืองในสถานการณ์เฝ้าระวังขึ้นเป็นธงแดง ซึ่งเป็นสถานการณ์เข้าขั้นวิกฤต เป็นวันที่ 3 ต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เขื่อนเจ้าพระยามีแผนคงการระบายน้ำไว้ในเกณฑ์ +3,000 ลบ.ม. ไปจนถึงวันที่13 ต.ค.65 เพื่อพร่องน้ำในพื้นที่เหนือเขื่อนที่กำลังเต็มความจุลำน้ำ และลดผลกระทบต่อพื้นที่ริมตลิ่งเหนือเขื่อน แต่จะกระทบกับพื้นที่ท้ายเขื่อน ซึ่งจะมีระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นได้อีก จึงควรเตรียมรับมือ

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02cHjcpA6iF35Kt61rXPtCLc14BfRyfQ4NHXjbzWqRd3Syw8uYChkAUTp5W3CuypWHl&id=100001835612910

 

นิคมอุตสาหกรรมนครหลวงปักธงส้ม แจ้งรับมือน้ำท่วม 

นายไพรัตน์ เพชรยวน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าตรวจสอบสภาพน้ำรอบนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา และตรวจสอบระบบป้องกันน้ำท่วมตัวนิคม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน เนื่องจากนิคมแห่งนี้เมื่อปี 54 ถูกน้ำท่วมสูง และเป็นนิคมที่อยู่ด่านแรกที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำเหนือ

เขื่อนพระราม 6 ที่ อ.ท่าเรือ เร่งระบายกว่า 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไหลล้นข้ามทุ่งศาลาลอย อ.ท่าเรือ บ่าข้ามถนนบ้านร่อม สายนครหลวง ท่าเรือด้านฝั่งทิศเหนือ และยังมีน้ำล้นมาจาก อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี และอ.ไชโย จ.อ่างทอง ไหลเข้ามาสมทบจ่อเข้าใกล้นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง ที่สำคัญชาวบ้านเห็นนิคมขึ้นธงสีส้ม ส่งสัญญาณเตือนภัยนิคมถึงจุดเสี่ยงน้ำท่วมให้เตรียมรับมือ

นายไพรัตน์ ยืนยันว่า นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง รับมือได้ ประชาชนไม่ต้องเป็นกังวล แตกตื่น ทางนิคมได้ทุ่มงบกว่า 250 ล้านบาท ปรับปรุงก่อสร้างคันกั้นน้ำของนิคม สามารถรับน้ำได้มากกว่าน้ำท่วมใหญ่ปี 54 ตั้งศูนย์บัญชาการรับมือโดยเฉพาะ และยังจ้างบริษัทมืออาชีพมาบริหารจัดการควบคุมอีกชั้น นอกจากนี้ตัวนิคมยังมีถนนทางหลวงปรับปรุงสูงขึ้นกว่าเดิมเป็นคันป้องกันน้ำชั้นแรกอีกด้วย

ส่วนที่ชาวบ้านเห็นนิคมปักธงสีส้มส่งสัญญาณไปยังผู้ประกอบการ พนักงาน และประชาชน ให้ได้ทราบว่าตัวนิคมอยู่ในสภาวะจุดเสี่ยงภัยจากน้ำท่วมนั้น ไม่ต้องกลัวหรือเป็นกังวลน้ำท่วมนิคม ศูนย์บัญชาการป้องกันน้ำท่วมของนิคม มีมาตรฐานการเก็บรวบรวมข้อมูล การระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนพระราม 6 หากทั้ง 3 เขื่อนระบายน้ำรวมกันแล้วเกินกว่า 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทางศูนย์บัญชาการป้องกันน้ำท่วม ก็จะปักธงสีส้มเตือนภัยไปยังผู้ประกอบการ ให้ได้รับทราบสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน

จากภาพมุมสูงที่ถ่ายไว้ในปัจจุบัน จะเห็นว่าน้ำไหลบ่าเข้ามาจ่อล้อมรอบตัวนิคม ซึ่งยังรับน้ำในปัจจุบันได้อีก 250 เซนติเมตร คันป้องกันน้ำของตัวนิคมที่ปรับปรุงใหม่สูงกว่าคันเดิมที่ถูกน้ำท่วมเมื่อปี 54 ถึง 80 เซนติเมตร มั่นใจได้นิคมรับมือน้ำท่วมได้เต็มที่ และทราบว่าขณะนี้นักลงทุนได้ย้อนกลับเข้ามาประกอบการดำเนินธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า