SHARE

คัดลอกแล้ว

กทม. เตรียมความพร้อมแผนเผชิญเหตุน้ำท่วมและภัยธรรมชาติ เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ หากเกิดฝนตกน้ำท่วม เพื่อลดระดับน้ำให้สู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด ขณะที่ กรมชลประทาน สั่งการชลประทานทั่วประเทศรับมือสถานการณ์น้ำ จากอิทธิพลพายุ ‘โกนเซิน’ เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง

วันที่ 12 ก.ย. 2564 พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมการจัดทำแผนเผชิญเหตุน้ำท่วมและภัยธรรมชาติของกรุงเทพมหานคร ว่า กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันมีสาเหตุจากน้ำฝนน้ำหลากและน้ำหนุน โดยขีดความสามารถของระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร สามารถรองรับปริมาณฝนตกสะสมใน 1 วันได้ไม่เกิน 80 มิลลิเมตร หรือปริมาณความเข้มฝนไม่เกิน 58.70 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง หากเกินกว่าปริมาณดังกล่าวก็จะเกิดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ตามความรุนแรงปริมาณฝนที่เกิดขึ้น

ทาง กรุงเทพมหานคร ได้มีจัดเตรียมแผนเผชิญเหตุเมื่อเกิดน้ำท่วมในพื้นที่แล้ว โดยมีมาตรการต่างๆ ดังนี้ มาตรการก่อนเกิดภัย ติดตามสถานการณ์อุทกภัยเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และเตรียมพื้นที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวหากต้องมีการอพยพผู้ประสบภัยน้ำท่วม มาตรการขณะเกิดภัย แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมและข้อปฏิบัติขณะเกิดเหตุให้แก่ประชาชนรับทราบและรับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์เพื่อเข้าให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เพื่อลดระดับน้ำให้สู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่เร็ว (BEST) และหน่วยบริการประชาชนเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีพแก่ประชาชนผู้ประสบภัย การอพยพ ช่วยอพยพประชาชนไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคพื้นฐานและบริการด้านสาธารณสุข มาตรการฟื้นฟูบูรณะหลังเกิดเหตุ จัดตั้งหน่วยบรรเทาทุกข์เพื่อให้การช่วยเหลือบูรณะฟื้นฟูสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่เกี่ยวข้อง

สำหรับ การบูรณาการความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำระหว่างกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร ได้มีการประชุมทุกสัปดาห์ร่วมกับคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ โดยมีหน่วยงานต่างๆ และอีกหลายหน่วยงาน ร่วมกันติดตามวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศ เพื่อเป็นข้อมูลในการสั่งการและสนับสนุนการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งบริเวณรอยต่อกรุงเทพฯ และปริมณฑล

กรุงเทพมหานคร ได้จัดประชุมเตรียมความพร้อมร่วมกับจังหวัดปริมณฑลโดยรอบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือและเตรียมการแก้ไขพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วม ซึ่งมีการดำเนินการมาต่อเนื่องทุกปี

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกับกรมชลประทาน บูรณาการการบริหารจัดการน้ำร่วมกันและได้กำหนดเกณฑ์ค่าระดับและปริมาณน้ำที่ปล่อยเข้าสู่กรุงเทพมหานคร บริเวณรอยต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปริมณฑล เพื่อช่วยรองรับน้ำจากพื้นที่ตอนบน โดยไม่เกิดผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพมหานคร และระบายน้ำออกนอกพื้นที่ไม่ให้กระทบพื้นที่รอยต่อ เช่น สถานีสูบน้ำคลองหกวาสายล่าง ช่วงฤดูฝน จะเดินเครื่องสูบน้ำเมื่อค่าระดับน้ำภายในสูงเกินกว่า +0.90 ม.รทก. และจะหยุดเดินเครื่องสูบน้ำเมื่อค่าระดับน้ำภายนอกสูงถึง +1.70 ม.รทก.

ด้านการเตรียมความพร้อมจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับสถานการณ์น้ำหลากกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีแผนรับมือสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย

1. ติดตามสถานการณ์สภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาและจากเรดาร์ตรวจฝนของกรุงเทพมหานคร โดยศูนย์ป้องกันน้ำท่วม ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง

2. เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ตามจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาน้ำท่วมให้เพียงพอและพร้อมใช้งานได้ทันที

3. ควบคุมและลดระดับน้ำในคลอง บ่อสูบน้ำและแก้มลิงให้อยู่ในระดับต่ำตามแผนฯ

4. เมื่อมีฝนตก ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม แจ้งเตือนสถานการณ์ฝนตกให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม ผ่านระบบวิทยุสื่อสาร Trunked Radio แจ้งเตือนสำนักงานเขตผ่านวิทยุสื่อสารเครือข่าย “อัมรินทร์” แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านกลุ่ม Line “เตือนภัยน้ำท่วม กทม.” (ปภ. ทหาร ตำรวจ สื่อมวลชน)

5. ส่งหน่วยปฏิบัติการเร่งด่วน (BEST) ประจำจุดเสี่ยงและจุดสำคัญเมื่อคาดว่าจะมีฝนตกหนัก เพื่อเร่งระบายน้ำ และแก้ปัญหาด้านการการจราจร

6. หน่วยงานภาคสนามลงพื้นที่ตามจุดต่างๆ และรายงานสถานการณ์น้ำท่วมให้ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม ทราบ

7. ประสานงานขอการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกการจราจร การปิดเส้นทางน้ำท่วม / ทหาร ช่วยเหลือประชาชน หากมีระดับน้ำท่วมสูงรถเล็กไม่สามารถใช้เส้นทางผ่านได้ เป็นต้น

8. เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในจุดที่วิกฤติ โดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำชนิดเคลื่อนที่ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม

9. ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม รายงานสภาพฝน ปริมาณฝน พื้นที่น้ำท่วมขังเป็นระยะๆ และสรุปสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ผ่านหน่วยงานต่างๆและช่องทางโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน กรุงเทพมหานครจัดตั้งศูนย์บูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยมี ผอ.เขต เป็นผู้บัญชาเหตุการณ์

ขณะที่ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ได้กำชับไปยังโครงการชลประทานในพื้นที่เสี่ยง ให้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำท่าอย่างใกล้ชิด พร้อมตรวจสอบอาคารชลประทานให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ บริหารจัดการน้ำในอ่างฯ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด พิจารณาปรับการระบายให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายอ่างฯ ที่สำคัญให้ทำการแจ้งเตือนก่อนการระบายน้ำทุกครั้ง เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายอ่างฯ ให้ได้มากที่สุด

รวมทั้ง มอบหมายเจ้าหน้าที่ประจำจุดเสี่ยง เตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักรเครื่องมือ อาทิ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ รถแบคโฮ เข้าประจำจุดเสี่ยงพร้อมปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา หมั่นกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อให้การระบายน้ำทำได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อโครงการชลประทานใกล้บ้านทุกแห่ง หรือโทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460 ได้ตลอดเวลา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า