SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ที่พบว่าตกหนักที่สุด เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ส่งผลให้มีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ และเริ่มมีกระแสข่าวออกมาเกี่ยวกับความวิตกกังวลว่า กรุงเทพฯ จะกลายเป็นเมืองบาดาลที่จมอยู่ใต้น้ำหรือไม่ โดยมีการเปรียบเทียบกับประเทศอินโดนีเซียที่มีกำลังเตรียมย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาเพราะกำลังจะจมน้ำ

ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจารย์สาขาวิศวกรรมปฐพี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายกับทีมข่าวเวิร์คพอยท์ ถึงกรณีนี้ว่า สาเหตุที่จะทำให้กรุงเทพฯ จมน้ำได้นั้นมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1. การทรุดตัวของแผ่นดิน และ 2.น้ำทะเลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปัจจัยแรก คือเรื่องของแผ่นดินทรุดนั้น ปัจจุบันมีการวิจัยแล้วพบว่าแผ่นดินกรุงเทพฯ หยุดการทรุดตัวมานานหลายปีแล้ว ซึ่งในอดีต ในกรุงเทพฯ เคยมีการสูบน้ำบาดาลมาใช้ แต่หลังจากปี 2540 มีกฎหมายบังคับห้ามสูบน้ำบาดาล การทรุดตัวจึงชะลอลง กระทั่งปัจจุบันหยุดการทรุดตัวแล้ว และยังพบว่าบางจุดแผ่นดินสูงกลับขึ้นมาบ้าง แต่ยังไม่เท่ากับระดับเดิมก่อนการทรุดตัว

ส่วนกรณีตึก อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ก็ไม่ได้มีผลต่อการทรุดตัวของแผ่นดินแต่อย่างใด เนื่องจากการก่อสร้างอาคาร มีการตอกเสาเข็ม โดยเฉพาะอาคารสูง มีการตอกเสาเข็มลึกไปจนถึงชั้นดินแข็ง นั่นหมายความว่าอาคารตั้งอยู่บนเสาเข็ม ซึ่งไม่มีผลต่อการทรุดตัวอย่างแน่นอน แต่อาคารสิ่งปลูกสร้างที่เป็นคอนกรีต จะส่งผลต่อระบบการระบายน้ำ กรณีที่มีฝนตก เนื่องจากอาคารไปปกคลุมพื้นที่หน่วงน้ำเดิม เช่น ทุ่งนา ต้นไม้ พื้นดิน ทำให้น้ำไหลลงท่อระบายน้ำเร็ว การกระบายน้ำจึงทำได้ช้าลง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในบางพื้นที่

ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ตามลักษณะภูมิประเทศ ของกรุงเทพฯ เป็นแอ่งอยู่แล้ว บางจุด พบว่าอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเล็กน้อย และบางจุดต่ำกว่า เช่น รามคำแหง และ สุขุมวิท ทำให้ทุกครั้งที่ฝนตกลงมาพื้นที่เหล่านี้จะมีน้ำท่วมขังเสมอ

โดยย้ำถึงกรณีที่มีการนำสถานการณ์น้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ ไปเปรียบเทียบกับ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ว่าอาจจะมีแนวโน้มคล้ายกัน คือเป็นเมืองที่จมอยู่ใต้น้ำ ว่าเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากทั้ง 2 พื้นที่มีความแตกต่างกัน ทั้งลักษณะภูมิประเทศ ตำแหน่งที่ตั้ง การบริหารจัดการทรัพยากร โดยยเฉพาะเรื่องการใช้น้ำบาดาล

“ถ้าเทียบกับอินโดนีเซีย ที่จาการ์ตา จริง ๆ แล้วคนละเรื่องนะครับ โดยเฉพาะเรื่องของการสูบน้ำ อินโดนีเซียยังมีสถานการณ์เหมือนเราเมื่อ 30 ปีที่แล้ว คือยังใช้น้ำบาดาล ยังทรุดตัวเยอะมาก ไม่ได้มีกฎหมายควบคุมเหมือนเรา และ อินโดนีเซียมีการขยับขึ้นลงของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งเขาอยู่ในแนววงแหวนแห่งไฟ ซึ่งอยู่ใกล้กับแนวรอยต่อแผ่นเปลือกโลก แผ่นดินของเขาก็จะมีการขึ้นลง จาการ์ตานี่เข้าใจว่าลงนะครับ พอลงมันก็ยิ่งทวีคูณ จากทรุดตัวเนื่องจากสูบน้ำบาดาล บวกกับแผ่นเปลือกโลกที่ยุบตัว น้ำทะเลก็จะเข้ามาง่ายขึ้น ดังนั้นปัจจัยจะแตกต่างจาก กรุงเทพฯ” ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ กล่าว

ส่วนกรณีที่เห็นว่า พื้นดินทรุดจากการถมที่ดินเพื่อสร้างบ้าน หรือสร้างถนนนั้น เป็นการยุบตัวของดินที่นำมาถม ไม่ได้เกิดจาดแผ่นดินเดิม ซึ่งการทรุดที่เกิดขึ้นนั้นก็จะไม่ทรุดลงไปต่ำกว่าพื้นดินเดิมอย่างแน่นอน

พร้อมกับทิ้งท้ายว่า ไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกกับประเด็นที่ว่า กรุงเทพฯ จะจมน้ำหรือไม่ เพราะปัจจุบันประเทศไทยมีเทคโนโลยีทางวิศวกรรมศาสตร์ ที่จะช่วยป้องกันได้ ประกอบกับ กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง และพื้นที่เศรษฐกิจ ที่เต็มไปด้วยเงินจำนวนมหาศาล เชื่อว่า ไม่มีใครนิ่งเฉย ปล่อยให้กรุงเทพฯ จมน้ำไปต่อหน้าต่อตาอย่างแน่นอน

เบื้องต้นมีแนวทางที่สามารถทำได้ ประกอบด้วย

1. ก่อสร้างระบบสูบน้ำในพื้นที่ต่ำให้ครบตามเเผนที่วางไว้

2. เเผนของการสร้างระบบคันดินหรือประตูกั้นน้ำทะเล ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการศึกษาเเละเตรียมพร้อมไว้เเล้ว ในระดับที่เป็นไปได้

3. มีการศึกษาเรื่องระบบนิเวศในอ่าวไทยก่อน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลกระทบ

สภาพการจราจรบริเวณถนนวิภาวดี

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า