SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมชลประทาน แถลงสถานการณ์น้ำและการจัดการน้ำฤดูน้ำหลากปี 2564 ย้ำใช้ระบบชลประทานในการบริหารจัดการน้ำอย่างเต็มที่ เตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนทันที

วันที่ 4 ต.ค. 2564 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน แถลงสถานการณ์น้ำว่า จากปริมาณฝนที่ตกในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศของปี 2564 สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 9% โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคกลางสูงกว่าค่าเฉลี่ย 9% เท่ากัน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าค่าเฉลี่ย 1% จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเตี้ยนหมู่ ช่วงวันที่ 24 – 26 ก.ย. 2564 ทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งส่วนใหญ่จะตกบริเวณด้านท้ายเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ส่งผลให้ปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) ณ วันที่ 3 ต.ค. 64 มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกันเพียง 12,832 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำใช้การได้ 6,136 ล้าน ลบ.ม. ยังสามารถรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 12,000 ล้าน ลบ.ม. 

ทั้งนี้ฝนที่ตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนล่างบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรและในพื้นที่จังหวัดลำปาง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงสูงขึ้น และน้ำส่วนหนึ่งที่มาจากพื้นที่จังหวัดลำปาง ไหลลงสู่ลำน้ำแม่มอกและคลองแม่รำพันในเขตจังหวัดสุโขทัย ทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำฝั่งขวาของแม่น้ำยมบริเวณ อ.เมืองสุโขทัย 

การบริหารจัดการน้ำท่าในลุ่มน้ำยม

กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำท่าในลุ่มน้ำยม เพื่อดึงน้ำจากลำน้ำแม่มอกและคลองแม่รำพันให้ระบายลงสู่แม่น้ำยมได้สะดวกรวดเร็ว พร้อมกันนี้ได้หน่วงน้ำไว้ในพื้นที่แก้มลิงทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก เพื่อช่วยลดผลกระทบกับปริมาณน้ำที่ท่วมในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยฝั่งตะวันตก รวมไปถึงช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลหลากลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วย

การบริหารจัดการน้ำแม่น้ำปิง

ด้านแม่น้ำปิง ปัจจุบันปริมาณน้ำได้ลดลงแล้ว แต่ยังมีปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังไหลมาสมทบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ต้องผันน้ำเข้าคลองทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยารวม 376 ลบ.ม./วินาที (ฝั่งตะวันตก 331 ลบ.ม./วินาที และฝั่งตะวันออก 45 ลบ.ม./วินาที) เพื่อลดการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 

ปัจจุบัน (4 ต.ค. 2564) มีการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,771 ลบ.ม./วินาที และที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ยในอัตรา 3,091 ลบ.ม./วินาที(รับน้ำได้สูงสุด 3,500 ลบ.ม./วินาที) กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักให้ไหลมาสู่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่เกิน 3,200 ลบ.ม./วินาที โดยจะไม่ส่งผลกระทบกับกรุงเทพมหานคร 

การบริหารจัดการน้ำแม่น้ำป่าสัก

สำหรับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำป่าสักที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องระบายน้ำเพื่อลดปริมาณน้ำที่เกินระดับเก็บกักของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปัจจุบัน (4 ต.ค. 2564) มีการระบายลงสู่ด้านท้ายในอัตรา 1,133 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มลดลง กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำในแม่น้ำป่าสัก โดยการผันน้ำบางส่วนออกทางคลองระพีพัฒน์ ผ่านประตูระบายน้ำ (ปตร.) พระนารายณ์ ลงสู่คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองบางขนากและคลองพระองค์ไชยานุชิต เพื่อสูบออกแม่น้ำบางปะกงและอ่าวไทยตามลำดับ ช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านเขื่อนพระรามหกและลดผลกระทบบริเวณ อ.ท่าเรือ อ.นครหลวง และอ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งลดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่าน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา อีกด้วย

การบริหารจัดการน้ำเขื่อนเจ้าพระยา

นายประพิศ กล่าวต่อว่า กรมชลประทาน นอกจากจะใช้เขื่อนเจ้าพระยาเพื่อควบคุมปริมาณน้ำและรับน้ำเข้าคลองทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังได้ใช้ทุ่งรับน้ำบริเวณตอนล่างของลุ่มเจ้าพระยา 10 ทุ่ง รับน้ำเข้าไปเก็บไว้ช่วยลดยอดปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่าง รวมไปถึงเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งด้วย ซึ่งวันที่ 3 ต.ค. 2564 มีการรับน้ำเข้าทุ่งไปแล้วรวม 878 ล้าน ลบ.ม. 

นอกจากนี้ในพื้นที่ตอนล่าง กรมชลประทาน ได้ใช้โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างให้ไหลลงสู่ทะเลได้เร็วขึ้น ถือว่าเป็นเครื่องมือที่จะช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้เป็นอย่างมาก

การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำชี – มูล

สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชี – มูล จากปริมาณฝนที่ตกหนักสะสมในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบน ทำให้มีน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบน ส่งผลให้มีน้ำไหลลงมายังแม่น้ำชีตอนกลางและลำน้ำสาขา ประกอบกับในช่วง 1 – 2 วันที่ผ่านมา ลุ่มน้ำมูลในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีปริมาณฝนตกสะสมประมาณ 150 มิลลิเมตร ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำมูลเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง 

โดยวันที่ 3 ต.ค. 2564 ระดับน้ำบริเวณสถานีวัดน้ำ M.7 (บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย) อำเภอเมืองอุบลราชธานี สูงกว่าตลิ่งประมาณ +0.45 เมตร แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีพื้นที่ได้รับผลกระทบบริเวณที่ลุ่มต่ำริมสองฝั่งแม่น้ำมูล ในเขตเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ กรมชลประทานได้ปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำต่างๆ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ เพื่อรองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน 

พร้อมทั้งจัดจราจรน้ำในแม่น้ำชีตอนบน แม่น้ำชีตอนกลาง แม่น้ำชีตอนล่าง และแม่น้ำมูล ด้วยการปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ และเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งชะลอน้ำที่เขื่อนชนบท จังหวัดขอนแก่น เขื่อนยโสธร จังหวัดยโสธร และเขื่อนหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านท้ายน้ำ เพื่อเร่งการระบายน้ำในแม่น้ำมูลตอนล่างให้ไหลลงแม่น้ำโขงให้เร็วมากขึ้น

ยังมีน้ำท่วมอีก 20 จังหวัด

นายประพิศ กล่าวต่อว่า ในส่วนของสถานการณ์อุทกภัย ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวมทั้งสิ้น 20 จังหวัด 87 อำเภอ ตนได้สั่งการให้ทุกโครงการชลประทาน เฝ้าระวังติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเตรียมความพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้ทันที 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า