SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้จากอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ทำให้หลายจังหวัดได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่น สุโขทัย ชัยภูมิ นครราชสีมา รวมถึงพื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาอีกหลายจังหวัด จนหลายคนเริ่มตั้งคำถามว่า สถานการณ์น้ำท่วมปี 2564 นี้ จะเหมือนกับสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 หรือไม่

workpointTODAY รวบรวมไล่เรียงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ มองสถานการณ์น้ำท่วมปีนี้เทียบเท่าปี 54 หรือไม่อย่างไร

เริ่มต้นกับ นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย บอกว่าน้ำท่วมครั้งนี้มาจากฝนที่ตกหนักในรอบ 10 ปี

รู้จักเส้นทางน้ำไหล

นายสนธิ กล่าวว่า สำหรับเส้นทางน้ำไหลแม่น้ำเจ้าพระยามีเขื่อน 4 เขื่อนหลัก คือเขื่อนภูมิพล จ.ตาก, เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์, เขื่อนกิ่วลม จ. ลำปาง, เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก ซึ่งทั้ง 4 เขื่อนตอนนี้ฝนตกน้อยเขื่อนยังรับน้ำได้ มีเพียงแม่น้ำยมที่ไม่มีเขื่อนกั้น น้ำทั้งหมดจะไปรวมที่ ชุมแสง ปากน้ำโพธิ์ จ.นครสวรรค์ จากนั้นจะไหลไปที่ อุทัยธานี ชัยนาท (ซึ่งมี อ.สรรพยา มีเขื่อนเจ้าพระยา เป็นประตูกั้นน้ำ)

จากนั้นน้ำจะไหลไป สิงห์บุรี อ่างทอง ซึ่งทั้งสองข้างจะเป็นแก้มลิง ก่อนที่จะไหลไปที่อยุธยา ซึ่งที่อยุธยามีน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ไหลมาบรรจบกัน ก่อนจะไหลต่อไปที่ปทุมธานี กทม. สมุทรปราการ

ภาพรวมน้ำท่วม ปี 54

นายสนธิ บอกว่า ภาพรวมน้ำท่วมเมื่อเทียบปี 54 มีลานินญ่า ฝนตกตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมและฝนตกเหนือเขื่อน พอถึงเดือนมิถุนายน มีฝนตกหนักทำให้น้ำเต็มเขื่อน เดือนตุลาคมจึงต้องปล่อยน้ำมหาศาลออกมา แต่ว่าในปีนี้เขื่อนยังมีพื้นที่อยู่มาก

เช็กปริมาณน้ำในเขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา

เมื่อเช็กข้อมูลจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ พบว่า เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำในอ่าง 6,285 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 47% ของความจุ ยังเหลือพื้นที่รองรับน้ำมากกว่า 7,100 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำในอ่าง 4,091 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 43% ของความจุ ยังเหลือพื้นที่รองรับน้ำมากกว่า 5,400 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 2,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ยังต่ำกว่าปี 2554 ที่มีน้ำไหลผ่านประมาณ 3,000-4,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำในอ่าง 794 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 83% ของความจุ

3 ปัจจัย น้ำปี 2564 จะท่วมเหมือนปี 2554 หรือไม่

นายสนธิ บอกว่า ปีนี้น้ำจะท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 หรือไม่ ต้องดู 3 อย่าง คือ

-ปริมาณน้ำในเขื่อน ซึ่งตอนนี้เทียบกับปี 54 ปริมาณน้ำน้อยกว่ามาก

-ต้องดูว่าจะมีพายุเข้ามาอีกหรือไม่ หากมีพายุเข้ามามากก็อันตราย โดยในปี 54 มีพายุเข้ามา 5 ลูก ขณะที่ปีนี้ กรมอุตุฯ รายงานว่าวันที่ 27 – 30 ก.ย. ร่องมรสุมจะเลื่อนไปพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ทำให้มีฝนตกหนักภาคกลางและทำให้น้ำไหลมาที่เขื่อนเจ้าพระยาค่อนข้างมาก และหลัง 10 ต.ค. อาจจะมีพายุเข้ามาอีก

-นอกจากนี้ต้องดูสถานีตรวจวัดน้ำ C.2 ที่นครสวรรค์ ถ้าปล่อยน้ำมาเกิน 2,500 ลบ.ม. ต่อวินาที จะทำให้ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อุทัยธานี นครสวรรค์ น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นประมาณ 0.3 – 1 เมตร

ต่อมาดูที่สถานีวัดน้ำ C.29A ที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ซึ่งหากเกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที จะทำให้นนทบุรี กทม. สมุทรปราการ น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูง 0.3 – 1 เมตร

ถ้าน้ำสูงขึ้นเกิน 1 เมตรจะล้นตลิ่งเจ้าพระยา จะเป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งในปี 54 ที่สถานีวัดน้ำ C.29A น้ำไหลประมาณ 3,860 ลบ.ม./วินาที แต่ตอนนี้ยังอยู่ที่ 2,100 ลบ.ม. / วินาทีเท่านั้น

คาด 1 – 3 สัปดาห์ อัตราน้ำไหลที่นครสวรรค์เริ่มลดลง

ขณะที่ ผศ.ดร.ณัฐ มาแจ้ง ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ม.เกษตรศาสตร์ ระบุว่า ถ้าเทียบสถานการณ์ วันนี้ จะพบว่า ที่สถานี C.2 อัตราการไหลอยู่ที่ 2,419 ลบ.ม./วินาที เทียบกับปี 54 อยู่ที่ 4,335 ลบ.ม./วินาที จะเห็นว่าอัตราการไหลมีแค่ร้อยละ 56 ของปี 54 เท่านั้น และอัตราการไหลเพิ่งเริ่มเพิ่มขึ้นเพียงในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาเท่านั้น

และในปีนี้อีกไม่นาน (คาดว่า 1 – 3 สัปดาห์) อัตราการไหลที่นครสวรรค์จะคงที่และเริ่มลดลงเนื่องจากฝนจะลดลงในช่วงอาทิตย์ข้างหน้าทำให้มีน้ำเติมลงมาน้อยกว่าเดิม

มั่นใจน้ำไม่ท่วม กทม.

สำหรับน้ำที่ไหลลงมาตอนนี้ เกือบ 2,500 ลบ.ม./วินที ในวันนี้ส่วนใหญ่จะระบายผ่านเขื่อนเจ้าพระยาลงแม่น้ำเจ้าพระยาด้านท้ายน้ำ และทุกคนรู้ว่าคอขวดการไหลอยู่ที่อยุธยาซึ่งรับน้ำได้ประมาณ 1,200 ลบ.ม./วินาที หลายคนจะบอกว่าน้ำลงมา 2,500 อยุธยารับได้ 1,200 อย่างนี้ท่วมแน่ๆ แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

แม่น้ำเจ้าพระยาท้ายเขื่อนชัยนาทจะมีคลองลพบุรีและคลองบางแก้วรับน้ำออกทางฝั่งซ้าย และมีคลองโผงเผง และคลองบางบาลรับน้ำออกทางฝั่งขวา รวมความสามารถ 818 ลบ.ม./วินาที

แต่ด้วยสภาพพื้นที่ลุ่มต่ำแถวๆ บางบาล ทำให้มีน้ำท่วมขังเปรียบเสมือนแก้มลิงธรรมชาติก่อนที่จะไหลลงมาที่อยุธยา และน้ำจากคลองต่างๆ เหล่านี้รวมกับแม่น้ำป่าสักจะไหลลงมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณด้านใต้ของอยุธยา ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่บางไทรลงมา จะสามารถรับน้ำได้ถึง 3,500 ลบ.ม./วินาที

ดังนั้น น้ำที่ลงมาในปีนี้จนถึงวันนี้ จึงไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร และถ้ามีฝนตกลงมาอีกในเดือนหน้า ก็จะคาดหมายได้ว่าน่าจะลงมาในบริเวณทุ่งเจ้าพระยาตอนกลางและตอนล่าง ซึ่งน้ำที่เกิดจากน้ำฝนบริเวณนี้ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นบางพื้นที่ในส่วนที่มีฝนตกหนักมาก

ด้านนายปราโมทย์ ไม้กลัด รองปธ.กก.มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อดีตอธิบดีกรมชลประทาน เห็นว่าทั้งข้อมูลปริมาณฝน ปริมาณน้ำกักเก็บ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา ในขณะนี้มีน้อยหากเปรียบเทียบกับในห้วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 54 จึงมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดน้ำท่วมใน กทม. ครั้งใหญ่เช่นปี 54

ขณะที่รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองปธ.กก.มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติให้ความเห็นว่า แม้ว่าขณะนี้แม้จะมีกรณีน้ำท่วมเกิดขึ้นในหลายจังหวัด แต่โอกาสน้ำท่วม กทม. เหมือนปี 54 มีโอกาสเป็นไปได้น้อย เว้นแต่จะมีน้ำระบายไม่ทันทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า