SHARE

คัดลอกแล้ว

ถึงจะให้บริการมานานแล้ว แต่ธุรกิจแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทย ยังไม่มีเจ้าไหนที่มีผลประกอบการเป็น ‘กำไร’ ได้

โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา ผู้เล่นรายหลักๆ ในไทยแม้จะมีรายได้เติบโตขึ้นจากปีก่อน แต่โดยรวมแล้วทุกรายก็ยังขาดทุนต่อเนื่อง

อย่าง ‘แกร็บ’ ที่มีทั้งบริการเรียกรถ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ซื้อของ ปล่อยสินเชื่อให้ไรเดอร์และพันธมิตรร้านค้า ทำให้ปีนี้กวาดรายได้ไปถึง 11,375.6 ล้านบาท เติบโตขึ้น 57.65% แม้จะขาดทุนลดลงมากจากปี 2562 แต่ก็ยังขาดทุนอยู่ที่ 325.3 ล้านบาท

ขณะที่ ‘ฟู้ดแพนด้า’ แพลตฟอร์มรับ-ส่งอาหารที่ให้บริการในไทยเป็นรายแรก และให้บริการมากว่า 10 ปีแล้ว ตอนนี้ก็ขยายบริการไปยังการซื้อของ แต่ดูเหมือนว่าฟู้ดแพนด้าจะวิกฤตหนักสุด

โดยปี 2564 ฟู้ดแพนด้าขาดทุน 4,721.6 ล้านบาท รวม 3 ปีหลังสุดขาดทุนสะสมไปแล้วเกือบ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งฟู้ดแพนด้าบอกว่าแนวโน้มก็ยังน่าจะขาดทุนต่อเนื่อง เพราะยังต้องลงทุนพัฒนาเพิ่มเติมอีก

ส่วน ‘ไลน์แมน’ ที่มีทั้งบริการรับ-ส่งอาหาร ซื้อของ ส่งของ เรียกรถแท็กซี่ ปีที่แล้วก็ขาดทุนไป 2,386.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ อย่างต่อเนื่อง

และน้องใหม่มาแรงที่เปิดตัวเพียงไม่นานก็สามารถขึ้นเป็นเบอร์ 2 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลไปเรียบร้อยแล้ว ‘โรบินฮู้ด’ ปีที่แล้วก็ขาดทุนไปเช่นกัน 1,335.4 ล้านบาท

แต่ถึงอย่างนั้น ไม่ใช่แค่แอปพลิเคชันที่ให้บริการในประเทศไทย แต่ผู้เล่นระดับโลกอย่าง Uber Eats และ DoorDash ก็ยังไม่สามารถทำกำไรจากบริการรับ-ส่งอาหารได้เช่นกัน

ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าการขาดทุนจะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก และเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับธุรกิจแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่ไม่ต่างจากสตาร์ทอัป คือในช่วงแรกจะเน้นการ ‘เผาเงิน’ หรือลงทุนมหาศาลไปกับการพัฒนาระบบ ทำการตลาด แข่งขันการดุเดือดรุนแรงผ่านการอัดโปรโมชั่น จนยอมขาดทุนเพื่อสร้างฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุด

และที่ยอมขาดทุน ก็เพราะว่าแพลตฟอร์มเองก็ได้ประโยชน์ด้วย หลักๆ เลยแน่นอนก็คือ ‘ดาต้า’ หรือข้อมูลผู้ใช้ ที่สามารถเอาไปต่อยอดได้อีกในอนาคต

มากไปกว่านั้นคือในเรื่องของ ‘ผลประโยชน์แบบอ้อมๆ’ อย่างกรณีของโรบินฮู้ด จาก SCB ที่ตั้งแต่เปิดตัวมาก็บอกว่านี่เป็น CSR ช่วยคนตัวเล็ก ไม่เก็บค่า GP จากร้านค้า แต่ก็ได้ประโยชน์ในเรื่องการหาฐานลูกค้าให้ SCB เพราะร้านค้าที่อยู่บนโรบินฮู้ด ต้องเปิดบัญชีกับ SCB นั่นเอง

ส่วนแต่ละบริษัทจะเผาเงินไปถึงตอนไหน และเริ่มทำกำไรได้เมื่อไหร่ เรื่องนี้เราอาจจะต้องติดตามดูกันต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า