SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทย ยังไม่มีเจ้าไหนที่สามารถพลิกกลับมากำไรได้ โดยในปีที่แล้ว หลายเจ้าขาดทุนนับพันล้านบาท อย่างไรก็ตาม การขาดทุนของแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า ตลอด 3 ปีหลังสุด เจ้าของแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทยทั้ง 4 เจ้าหลักล้วนขาดทุนกันถ้วนหน้า เริ่มที่ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของแอปพลิเคชั่นแกร็บ (Grab) ที่ทั้งสามารถเรียกรถเพื่อการเดินทาง และสั่งอาหารเดลิเวอรี่ได้ ในช่วง 3 ปีหลังสุด แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) ขาดทุนรวมไปทั้งสิ้นกว่า 3,347 ล้านบาท โดยปีที่แล้วขาดทุนมากที่สุด 1650.1 ล้านบาท

สำหรับฟู้ดแพนด้า (foodpanda) ซึ่งเป็นแอปฯ สั่งอาหารเดลิเวอรี่ที่มีบริษัทแม่คือ เดลิเวอรี่ ฮีโร่ สัญชาติเยอรมนี ในช่วง 3 ปีหลังสุด บริษัท เดลิเวรี่ ฮีโร่ (ประเทศไทย) จำกัด ขาดทุนรวมกันทั้งสิ้น 1,442.8 ล้านบาท โดยปีที่แล้วขาดทุนมากที่สุดถึง 1,264.5 ล้านบาท

อีกเจ้าคือ โกเจ็ก (Gojek) แพลตฟอร์มสั่งอาหารเดลิเวอรี่สัญชาติอินโดนีเซีย ที่ก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะเคยรู้จักในชื่อ เก็ท (GET) ก่อนที่จะประกาศเปลี่ยนชื่อแอปฯ ให้สอดคล้องกับชื่อบริษัทแม่ที่อินโดนีเซียเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา โกเจ็กจดทะเบียนทำธุรกิจในประเทศไทยในชื่อ บริษัท เวล็อคซ์ ดิจิตอล จำกัด โดยตลอดช่วง 2 ปีตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำธุรกิจส่งอาหารในประเทศไทย โกเจ็กขาดทุนไปแล้วรวม 1,243.5 ล้านบาท โดยปีที่แล้วขาดทุนกว่า 1,137.3 ล้านบาท

และแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่เจ้าใหญ่เจ้าสุดท้ายในไทยคือ ไลน์แมน (LINE MAN) ที่ผลประกอบการปีที่แล้วระบุว่าขาดทุนไป 157.2 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไลน์แมนได้รวมกิจการกับแอปฯ ริวิวอาหารอย่างวงใน (Wongnai) แล้ว ก็ต้องดูต่อไปว่าบริษัทฯ จะสามารถพลิกมาทำกำไรได้หรือไม่

ทั้งนี้ การขาดทุนของแพลตฟอร์มสั่งอาหารเดลิเวอรี่เป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันผู้ประกอบการเจ้าใหญ่อย่างอูเบอร์ อีทส์ (Uber Eats) หรือดอร์แดช (DoorDash) ล้วนยังไม่สามารถทำกำไรจากธุรกิจนี้ได้เลย สำหรับผลการขาดทุนที่เกิดขึ้นในธุรกิจนี้นั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการทำโปรโมชั่นอย่างรุนแรงเพื่อขยายฐานผู้ใช้ รวมถึงการแข่งขันจากการมีผู้เล่นหลายเจ้า ทำให้มาร์จิ้นกำไรในธุรกิจนี้ต่ำมาก

ปัจจุบันเราเริ่มเห็นกระแสการควบรวมกิจการของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่บ้างแล้ว เช่นในสหรัฐฯ ซึ่งอาจเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ตลาดเหลือผู้เล่นน้อยราย และอาจทำให้ธุรกิจนี้พลิกกลับมาทำกำไรได้ในที่สุด ส่วนในประเทศไทย ก็ต้องรอดูต่อไปว่าการควบรวมกิจการเพื่อให้เหลือผู้เล่นน้อยรายแบบในต่างประเทศจะเกิดขึ้นหรือไม่ และหากเกิด ผู้ที่อยู่รอดจะเป็นเจ้าไหน

อ้างอิงผลประกอบการจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า https://datawarehouse.dbd.go.th/

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า