SHARE

คัดลอกแล้ว

สั่งอาหาร Food Delivery ลดลง สำรวจคนกลับเข้าออฟฟิศใช้ชีวิตข้างนอก ค่าอาหารในแอปฯสูงขึ้น แพลทฟอร์มลดแข่งอัดโปรฯหันทำกำไร คาดสั่งอาหารผ่านแอปลดลง 3.7% มูลค่าตลาด Food Delivery 8.6 หมื่นล้านบาท หดตัว 1.0 %

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกรายงานที่คาดว่าในปี 2567 ปริมาณการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่น (Food Delivery) น่าจะลดลงประมาณ 3.7 % จากปี 2566 สาเหตุมาจาก

1. ความจำเป็นในการสั่งผ่านแอปฯ ลดลง ผู้บริโภคกลับไปทานอาหารที่ร้าน ตามการออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน และส่วนใหญ่ได้กลับมาทำงานเต็มสัปดาห์ตามปกติ โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ระบุว่ายังมีการใช้บริการ Food Delivery แต่ 48% ของกลุ่มตัวอย่างคิดว่าจะสั่งอาหารน้อยลง ขณะเดียวกันกลุ่มลูกค้าสมัครใหม่ชะลอลง เพราะส่วนใหญ่เข้าถึงการใช้บริการ Food Delivery นี้มากพอสมควรแล้ว

2. ราคาอาหารเฉลี่ยในแอปฯ ปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อปริมาณการสั่ง ซึ่งเป็นผลมาจาก ต้นทุนสะสมที่สูงทำให้ร้านอาหารต้องปรับราคาขึ้นทั้งหน้าร้านและในแอป อาทิค่าสาธารณูปโภค ค่าแรง ค่าวัตถุดิบและต้นทุนทางการเงิน ปรับตัวสูง ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาอาหาร

ปี 2567 คาดว่าราคาอาหารเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2.2% ต่อเนื่องจากราคาเฉลี่ยที่ปรับขึ้นประมาณ 5.7% ในปี 2566

3.การแข่งอัดโปรโมชั่นจากแพลทฟอร์มผ่อนลงจากก่อนนี้ที่แพลตฟอร์มหันมาเน้นสร้างกำไร แต่ส่วนใหญ่บันทึกขาดทุนสะสม ทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจของผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น Food Delivery ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ความยืดหยุ่นในการทำตลาดด้วยการลดค่า GP (ค่าเฉลี่ย GP จัดเก็บอยู่ที่ประมาณ 30%) รวมถึงส่วนลดในค่าจัดส่งมีข้อจำกัด

สถานการณ์ตอนนี้เราเลยได้เห็น ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น Food Delivery หันมาปรับกลยุทธ์ ขยายฐานลูกค้าด้วยการเพิ่มพื้นที่บริการในต่างจังหวัดตามเมืองท่องเที่ยวที่เมืองรอง การขยายฐานแหล่งรายได้ใหม่ เช่น เพิ่มส่วนลดการบริการเรียกรถ ส่วนลดนั่งทานอาหารในร้านที่เป็นพันธมิตร การสร้างพันธมิตรข้ามธุรกิจ

มีการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น (Selective Marketing) มากกว่าการทำตลาดในวงกว้างอย่างที่ผ่านมา อาทิ ทำตลาดร่วมกับร้านอาหารที่ได้รับความนิยมหรือมีการสั่งซื้อสูง ผ่านการจัดแคมเปญส่วนลดค่าอาหารเมื่อซื้อครบตามที่กำาหนด รวมถึงการใช้รูปแบบ Subscription Model ซึ่งช่วยให้ผู้สั่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง นอกจากนี้ยังมีส่วนลดหรือไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการอื่นในแอปพลิเคชั่น เช่น Ride Hailing และจัดส่งพัสดุตามแพคเกจ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2567 มูลค่าตลาด Food Delivery จะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท หดตัว 1.0 % จากปี 2566

แม้เทรนด์การสั่งอาหาร Food Delivery จะมีทิศทางที่ชะลอลง อย่างไรก็ตาม ช่องทางนี้ยังสำาคัญ เนื่องจากยังมีผู้บริโภคจำนวนมากยังคงมีการใช้บริการ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่จำเป็นเร่งด่วน หรือ Work From Home เป็นต้น นอกจากนี้ช่องทางนี้ก็มีความสำคัญต่อธุรกิจร้านอาหารที่มีสัดส่วนรายได้จาก Food Delivery สูงกว่าการให้บริการหน้าร้าน เช่น ร้านอาหารข้างทาง และร้านอาหารในกลุ่ม Fast Food

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า