SHARE

คัดลอกแล้ว

Say Goodbye! ‘foodpanda’ เจ้าหมีสีชมพูกับ 13 ปีในประเทศไทย ถือว่าเป็นผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่รายแรกๆ ที่เข้ามาทำตลาดในไทย โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2555

วันนี้หลายคนได้ทราบข่าวแล้วว่า foodpanda กำลังจะหยุดให้บริการทั้งหมดในบ้านเราไม่ว่าจะเป็นการส่งอาหาร ส่งของ ส่งพัสดุ โดยจะเริ่มหยุดตั้งแต่ 23 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป

ถือเป็นหนึ่งมูฟเมนต์ในโลกธุรกิจที่น่าเศร้า แต่ก่อนที่จะไปพูดถึงสาเหตุการบอกลาประเทศไทยของ foodpanda เรามาย้อนดูเรื่องราวในช่วง 13 ปีที่ผ่านมากันก่อนสักหน่อยดีกว่า

[ ก่อนเป็น ‘หมีชมพู’ เคยเป็น ‘หมีส้ม’ มาก่อน ] 

หากใครจำกันได้ แรกเริ่มที่ foodpanda เข้ามาทำการตลาดในไทยเอกลักษณ์ของแบรนด์นี้คือ ‘หมีสีส้ม’ ซึ่งเป็นสีที่ใช้มาตั้งแต่ที่เยอรมนี

ก่อนที่จะมีการรีแบรนด์หลังจากที่ตีตลาดไทยได้ประมาณ 4 ปี จึงเปลี่ยนมาเป็น ‘หมีสีชมพู’ และช่วงเวลานั้นก็รีแบรนด์อีกหลายประเทศในเอเชีย เช่น สิงคโปร์, ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน ให้เป็น ‘หมีสีชมพู’ เหมือนกัน

[ ภาพจำคือโค้ดส่วนลด ]

อีกภาพที่ติดตาเราบ่อยๆ ก็คงเป็น ‘การแจกโค้ดส่วนลด’ เพราะเจ้าหมีชมพูแบรนด์นี้จะมีการเก็บคะแนน สร้างการรับรู้หรือสร้างการสนใจด้วยกลยุทธ์การแจกโค้ดแบบท่วมๆ และบ่อยมากๆ แบบยิ่งถ้าใช้มากก็ยิ่งได้รับโค้ดส่วนลดมากเท่านั้น

ซึ่งอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ foodpanda ในไทย ก็คือ การบุกพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นเจ้าแรก โดยในปี 2563 foodpanda กลายเป็นแอปพลิเคชันเจ้าแรกและเจ้าเดียวที่เจาะไปตามจังหวัดต่างๆ จนครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศ และมีพันธมิตรร้านอาหารมากกว่า 70,000 ร้าน

ถือว่าเป็นการทำธุรกิจ 8 ปีของ foodpanda ในตลาดไทย ที่รุกหนัก และขยายไปเร็วมากๆ ในยุคนั้น

[ การแข่งขันเดือดในตลาดเดลิเวอรี่ ]

จุดที่ทำให้ foodpanda เริ่มแผ่วลง คือ คู่แข่งเดลิเวอรี่รายอื่นในตลาดที่เพิ่มเข้ามาเป็นตัวเลือกให้คนไทย

ต้องบอกว่าในระยะเวลาที่ผ่านมาของ foodpanda ได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำการตลาดอยู่หลายครั้ง โดยในช่วงแรกยังไม่ได้มีคู่แข่งในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่เยอะ แต่หลังจากนั้นก็เริ่มมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น อย่าง Grab และ LINE MAN

โดยจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือหลังจากที่ Grab เข้ามาในไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เป็นช่วงที่ foodpanda เองก็เริ่มเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายไปที่ต่างจังหวัดมากขึ้น ‘เจาะพื้นที่เล็กลง’

นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม foodpanda ถึงเปิดตลาดต่างจังหวัดได้รวดเร็ว และมุ่งมั่นกับกลยุทธ์ ‘Hyperlocalization’ เพื่อขยายไปยังจังหวัดต่างๆ ให้ได้มากขึ้นแทนที่จะกระจุกอยู่แค่ในกรุงเทพฯ

อย่างไรก็ตาม ด้วย Grab และ LINE MAN ซึ่งมีการทำโปรโมชั่นและกลยุทธ์ทางการตลาดที่ดึงดูดลูกค้าได้มากกว่า ทำให้ foodpanda ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่หนักหน่วงและยากต่อการรักษาส่วนแบ่งตลาด

[ ทำธุรกิจมา 13 ปี ขาดทุน 13 ปี ]

สิ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าตลอดระยะเวลา 13 ปีในการทำธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ของ foodpanda ในไทย บริษัทไม่เคยมีกำไรเลยสักปีเดียว นอกจากนั้นยังขาดทุนอย่างต่อเนื่องสะสมไปเรื่อยๆ ตลอดที่ดำเนินธุรกิจ

  • ปี 2555 มีรายได้ 1.17 ล้านบาท แต่ขาดทุน 13 ล้านบาท
  • ปี 2556 มีรายได้ 4.35 ล้านบาท แต่ขาดทุน 22 ล้านบาท
  • ปี 2557 มีรายได้ 13 ล้านบาท   แต่ขาดทุน 45 ล้านบาท
  • ปี 2558 มีรายได้ 121 ล้านบาท  แต่ขาดทุน 98 ล้านบาท
  • ปี 2559 มีรายได้ 135 ล้านบาท แต่ขาดทุน 93 ล้านบาท
  • ปี 2560 มีรายได้ 210 ล้านบาท แต่ขาดทุน 39 ล้านบาท
  • ปี 2561 มีรายได้ 258 ล้านบาท แต่ขาดทุน 138 ล้านบาท
  • ปี 2562 มีรายได้ 818 ล้านบาท แต่ขาดทุน 1,264 ล้านบาท
  • ปี 2563 มีรายได้ 4,375 ล้านบาท แต่ขาดทุน 3,595 ล้านบาท
  • ปี 2564 มีรายได้ 6,786 ล้านบาท แต่ขาดทุน 4,721 ล้านบาท
  • ปี 2565 มีรายได้ 3,628 ล้านบาท แต่ขาดทุน 3,255 ล้านบาท
  • ปี 2566 มีรายได้ 3,843 ล้านบาท แต่ขาดทุน 522 ล้านบาท

[ ไทยแลนด์ไม่ใช่ตลาดที่ตอบโจทย์อีกแล้ว ]

พอเราอ่านมาถึงตรงนี้หลายๆ คนก็อาจจะเห็นภาพรวมของ foodpanda มากขึ้น และก็อาจจะเดาได้ว่าสาเหตุที่บริษัทตัดสินใจโบกมือบ๊ายบายประเทศไทยสาเหตุมาจากอะไร

ซึ่งทางบริษัทเองก็ได้ออกมาชี้แจงไว้แล้วว่า ในการตัดสินใจครั้งนี้ได้สอดคล้องกับแนวทางการปรับกลยุทธ์เชิงภูมิศาสตร์ของ Delivery Hero ซึ่งเคยดำเนินการมาแล้วในหลายประเทศ เช่น เดนมาร์ก กานา สโลวาเกีย และสโลวีเนีย

โดยบริษัทเองได้พยายามจะมุ่งเน้นทรัพยากรไปยังตลาดอื่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ที่มีศักยภาพในการเติบโตและผลตอบแทนที่สูงกว่า

พูดง่ายๆ ก็คงเพราะ foodpand ต้องเจอกับการแข่งขันที่หนักและไม่สามารถทำกำไรได้ในระยะยาว จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ foodpanda ต้องถอนตัวจากบางประเทศ รวมถึงประเทศไทย เพื่อปรับกลยุทธ์และมุ่งเน้นตลาดที่มีศักยภาพในการทำกำไรมากกว่า

วันที่ 22 พฤษภาคม 2568 จะเป็นวันสุดท้ายที่เราจะได้ใช้บริการหมีสีชมพู จากนี้เราจะไม่ได้เห็นหมีสีชมพูบนท้องถนนอีกแล้ว ถือว่าเป็นการโบกมือลาประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ปิดฉาก 13 ปี foodpanda อย่างสมบูรณ์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า