SHARE

คัดลอกแล้ว

Change.org มีแคมเปญต้านการอนุญาตให้ต่างชาติถือครองที่ดิน หลังมติครม. อนุมัติเงื่อนไขให้ต่างชาติถือครองอสังหาริมทรัพย์ในไทยได้ ด้าน โฆษกรัฐบาล แจงสิทธิถือครองที่ดินตามมาตรการดึงดูดชาวต่างชาติ ไม่ใช่ขายที่ดิน ยึดเงื่อนไขนำเงินมาลงทุน เพื่ออยู่อาศัย ไม่เกิน 1 ไร่ ในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น

Change.org มีแคมเปญต้านการอนุญาตให้ต่างชาติถือครองที่ดิน ในวันนี้ (18 ก.ค. 65) หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติเงื่อนไขให้ต่างชาติ ถือครองอสังหาริมทรัพย์ในไทยได้

ก่อนหน้านี้ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามา อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสูงประเทศไทย ประกาศเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2565 โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือน ก.ย. 2565 นี้ เพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง 4 กลุ่ม ได้แก่

– กลุ่มประชากรผู้มีความมั่งคั่งสูง

– กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ

– กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย

– กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

สามารถพำนักและทำงานในประเทศไทยได้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ทำให้ไทยมีคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงพอให้กับภาคธุรกิอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริม สำหรับการให้สิทธิในการถือครองที่ดินของคนต่างชาตินั้น เป็นเพียงมาตรการหนึ่ง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีการนำเงินมาลงทุนในประเทศไทย

กรมที่ดินอยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงประเทศไทย พ.ศ. …. ตามมาตรา 96 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญ คือ ต้องเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสุดประเทศไทย นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ปี ในธุรกิจหรือกิจการประเภทที่กำหนด เช่น การลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึง การลงทุนในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนใน อสังหาริมทรัพย์ ที่จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรม ในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และหากคนต่างด้าวที่ประสงค์จะได้มาซึ่งที่ดิน อยู่ 2 เงื่อนไขสำคัญ คือ รวมไม่เกิน 1 ไร่ และใช้เป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น โดยสอดคล้องกับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายในปัจจุบัน

โฆษกรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังชี้แจงข้อเท็จจริง ประเด็นมาตรการลดค่าธรรมเนียมการซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินหรืออาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท จะได้สิทธิลดหย่อนค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 0.01% ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 18 มกราคม นั้น ใช้เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น ยีนยันว่า รัฐบาลไม่เคยมีแนวคิดจะให้คนต่างชาติใช้สิทธิในเรื่องนี้

นายธนกร ย้ำว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติผู้มีความมั่งคั่งสูง ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ ผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ โดยวางเป้าหมาย ภายใน 5 ปีงบประมาณ 2565 – 2569 จะช่วยเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติที่พักอาศัยในประเทศไทย 1 ล้านคนเพิ่มปริมาณเงินใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมูลค่า 1 ล้านล้านบาทเพิ่มการลงทุนในประเทศ 8 แสนล้านบาทและสร้างรายได้จากการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท ซึ่งหนึ่งในมาตรการสำคัญ ‘บู๊ส อัพ’ เศรษฐกิจไทยกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ด้วยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงทั่วโลก เดินหน้าตามกลยุทธ์ ‘3แกน สร้างอนาคต’ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม สร้างโอกาส เชื่อมไทย ช่วยผู้ประกอบการ ประชาชนและแรงงานในประเทศให้มีรายได้ต่อเนื่อง

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า