SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 16 พ.ย.นายชูเกียรติ บุญมี นายกเทศมนตรีตำบลบางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ สันธินาค ประธานเครือข่าย ทสม.อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติหมู่บ้าน นายอิทธิพันธ์ ขาวละมัย นายมงคล แสงจักร ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา พร้อมคณะเดินทางไปสำรวจป่าบริเวณ หมู่ 1 ต.บางชะนี อ.บางบาล ซึ่งได้มีการสำรวจพบว่าเป็นป่าที่มีความสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

จากตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาไปยังวัดจุฬามณี ข้ามสะพานจุฬามณีซึ่งเป็นสะพานที่มีความยาว 1 กม. จะพบผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก มีต้นไม้ปกคลุมหนาแน่น โดยเฉพาะต้นยางนาที่มีความสูงกว่า 20 เมตร อายุไม่น้อยกว่า 150 ปี อีกทั้งยังมีนกนานาชนิด จำนวนมาก ที่สำคัญคือมีวัดร้างอยู่กลางป่า สภาพที่หลงเหลือเป็นลักษณะคล้ายวิหารขนาดเล็ก หรือกุฎิสร้างด้วยอิฐที่ใช้เปลือกหอยในการประสานมวลอิฐ ซึ่งเป็นการก่อสร้างแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดินเข้าไปบรรยากาศไม่แตกต่างจากป่าในเขาใหญ่หรือป่าทั่วไป

นายชูเกียรติ เปิดเผยว่า ป่าแห่งนี้น่าจะมีอายุนับร้อยปี มีพื้นที่ 18 ไร่ หลังจากที่ข้าศึกเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาแล้ว วัดเหล่านี้กลายเป็นวัดร้าง ความเจริญรุ่งเรืองหมดไป ธรรมชาติก็กลับเข้ามายึดครอง ซึ่งจากการสำรวจของ ปตท. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหน่วยงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยืนยันว่าป่าแห่งนี้เป็นป่าที่สมบูรณ์แหล่งสุดท้ายในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่ติดแม่น้ำ ทางเทศบาลตำบลบางบาลจึงได้ทำโครงการเสนอไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี 2561 เพื่อขอดำเนินโครงการสวนพฤกษศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมพรรณไม้นานาชนิด ที่อยู่ในท้องถิ่น โดยเฉพาะต้นไม้ที่หายาก เช่น สะแก ยางนา ชำมะเรียง หว้า หวาย ไผ่หลายพันธุ์ ข่อย เต่ารั้ง มันนก ตลอดจนหาทางขยายพันธุ์เพื่อให้มีปริมาณมากขึ้นเพื่อการศึกษาและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว อีกทั้งเป็นสถานที่ออกกำลังกายของประชาชนและเยาวชนที่เข้ามาเดินชมธรรมชาติ

บริเวณที่ดินดังกล่าวอยู่ในความดูแลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แบ่งออกเป็น 3 แปลง คือ วัดใหม่ มีเนื้อที่ 5 ไร่, วัดท่า เนื้อที่ 5 ไร่ และวัดท่าเหยี่ยว ประมาณ 9 ไร่ ซึ่งทั้ง 3 วัดเป็นวัดร้าง ยังคงหลงเหลือซากให้เห็น นอกจากนี้บริเวณดังกล่าว ยังมีชาวบ้านพบพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่จำนวนมากจมดินอยู่ยังไม่มีการขุดขึ้นมา ซึ่งจะดำเนินการหลังจากได้รับความเห็นชอบจากทางจังหวัด

นายชูเกียรติ ยังกล่าวด้วยว่าก่อนหน้านี้ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะมีการเจาะเผาเอายางจากต้นยางนา ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน แต่ทางจังหวัดสั่งระงับไป ซึ่งต้นยางนาเหล่านี้มีอายุนับร้อยปี อีกทั้งยังมีนกเหยี่ยวซึ่งเป็นนกที่มีมานานสมัยกรุงศรีอยุธยาบินมาทุกปีบริเวณวัดท่าเหยี่ยว โดยมีโครงการที่จะทำสกายวอล์กทอดยาวไปตามต้นไม้สูง เพื่อดูธรรมชาติด้วย

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า จากการเดินสำรวจพบว่าป่าแห่งนี้มีความสมบูรณ์และมีพันธุ์ไม้หายากมากหลายชนิด  หากมีการพัฒนาโดยรักษาสภาพเดิมไว้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้จริง จะเกิดประโยชน์มาก และยังส่งผลต่อเศรษฐกิจชุมชนในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่สำคัญขณะนี้มีชาวบ้านมาเก็บใบไม้จากต้นก้ามปู เก็บของป่า สมุนไพรจากป่าไปใช้ ซึ่งถือเป็นผลผลิตจากป่าที่สมบูรณ์แห่งนี้ ขณะนี้ทางชุมชนและเทศบาลมีการจัดให้มีการดูแลบ้างแล้ว หากจะเข้ามาเดินชมตอนนี้ก็ทำได้ แต่ก็ต้องได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการใช้ประโชน์ต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า