Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว ฟอร์ด (Ford) แบรนด์รถยนต์สัญชาติอเมริกันคือรถยนต์ที่สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้มากที่สุดในสิงคโปร์ ทำให้ฟอร์ดสามารถเปิดโรงงานรถยนต์แห่งแรกในอาเซียนได้สำเร็จ

จนกระทั่ง ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นยึดโรงงานฟอร์ดแห่งแรกในอาเซียนที่สิงคโปร์ เพื่อใช้ผลิตรถยนต์นิสสัน สำหรับใช้ในปฏิบัติการของกองทัพ

หลังจากนั้น ฟอร์ดพ่ายแพ้ในตลาดรถยนต์อาเซียนราบคาบ จนไม่สามารถเอาชนะรถยนต์ญี่ปุ่นอย่าง โตโยตา (Toyota) ฮอนดา (Honda) หรือนิสสัน (Nissan) ได้อีกเลย

ทำไมสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงทำให้ฟอร์ดที่รุ่งเรือง กลายเป็นรถยนต์ที่ไม่ได้อยู่ติดอันดับ Top 10 ของตลาดอาเซียนอีกต่อไป 

ฟอร์ดรุ่งเรืองด้วยกฎหมายอาณานิคม

ในปี 1908 ฟอร์ดเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ชื่อว่า ‘Model T’ เป็นรถที่มีน้ำหนักเบา ซ่อมง่าย ซ่อมเองได้ และราคาถูกมาก เพราะสมัยก่อนรถยนต์ขายประมาณคันละ $2,000 แต่ Model T ขายแค่ $850

นี่คือการปฏิวัติวงการรถยนต์ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง ทำให้รถยนต์ไม่ได้เป็นสินค้าสำหรับคนรวยเท่านั้น แต่ยังทำให้คนธรรมดาสามารถเป็นเจ้าของรถยนต์ได้ด้วย ซึ่ง Model T ไม่ได้ขายดีเฉพาะในอเมริกาเท่านั้น แต่ยังตีตลาดไปทั่วโลก รวมถึงในแถบอาเซียนบ้านเราด้วย

ในช่วงปี 1900 ต้น ๆ สิงคโปร์กับมาเลเซียอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ เรียกว่า ‘บริติชมาลายา’ 

มาลายาเป็นตลาดที่น่าสนใจมาก เพราะว่าคนมาลายาเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้เยอะที่สุด มีคนซื้อรถยนต์เยอะที่สุดในอาเซียน ฟอร์ดสนใจตลาดนี้มาก จึงอยากเข้ามาขายรถยนต์ในแถบมาลายา แต่ตอนนั้นรัฐบาลอังกฤษสนับสนุนให้คนในปกครองของจักรวรรดิอังกฤษใช้สินค้าของอังกฤษ

ฟอร์ดเป็นรถยนต์อเมริกัน ขายรถยนต์ในมาลายาได้ยังไง

ยุคนั้น ฟอร์ดขยายตลาดไปเปิดบริษัทในหลายประเทศ หนึ่งในนั้นคือแคนาดา ซึ่งอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษ ทำให้ฟอร์ดตัดสินใจนำเข้ารถยนต์จากบริษัทฟอร์ดในแคนาดา มาขยายที่มาลายาแทน 

จากที่คนมาลายานิยมใช้รถของอังกฤษ ก็เริ่มหันมาใช้รถยนต์ Model T ที่ราคาถูกกว่าแทน จนยอดขายของฟอร์ดในมาลายาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ในปี 1926 ฟอร์ดตัดสินใจว่าจะเปิดโรงงานผลิตรถในสิงคโปร์ไปเลย แต่ฟอร์ดไม่ใช่เจ้าเดียวที่คิดแบบนั้น

เจเนรัลมอเตอร์ (General Motors) เจ้าของยี่ห้อคาดิแลค (Cadillac) และ เชฟโรเลต (Chevrolet) ยื่นเรื่องขอตั้งโรงงานในสิงคโปร์ แต่รัฐบาลอังกฤษปฏิเสธ เพราะกังวลว่าโรงงานอาจจะสร้างความเสียหายให้ชุมชนในระแวกนั้น GM เลยไปตั้งโรงงานที่ชวา อินโดนีเซียที่ตอนนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของดัตช์แทน

ส่วนฟอร์ดใช้กฎหมายอาณานิคมอังกฤษเอื้อผลประโยชน์ ก่อตั้ง ‘Ford Malaya’ ทำให้ฟอร์ดสามารถเปลี่ยนโรงรถในห้องแถวเป็นโรงงานประกอบรถยนต์แห่งแรกของฟอร์ดในอาเซียน 

ในปี 1929 หลังจากเปิดโรงงานแห่งแรกได้ 3 ปี รถ Model T มียอดขายเพิ่มขึ้น ฟอร์ดจึงต้องย้ายโรงงานไปประกอบรถในโรงงานที่ใหญ่ขึ้น

หลังจากตั้งโรงงานได้ 10 ปีก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นในปี 1939 การส่งออกรถยนต์ของอังกฤษและยุโรปชะงักไป ทำให้ demand ของรถ Model T เพิ่มมากขึ้น จนฟอร์ดสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดรถยนต์ในมาลายาได้ถึง 80%

ในเดือนตุลาคม 1941 Ford Malaya ก็ย้ายโรงงานอีกรอบมาอยู่ที่ย่าน Bukit Timah หนึ่งในย่านธุรกิจสำคัญของสิงคโปร์

โรงงานประกอบรถ จุดยุทธศาสตร์สงครามโลก

ฟอร์ดเพิ่งฉลองเปิดโรงงานใหม่ได้ 2 เดือน ในวันที่ 8 ธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นจากฝ่ายอักษะ ยกพลขึ้นบกตลอดแนวฝั่งไทยและขอใช้ไทยเป็นทางผ่านไปยังมาลายา ลงมาจนถึงสิงคโปร์ เพื่อโจมตีอังกฤษที่อยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร

อังกฤษกับญี่ปุ่นรบกันในสิงคโปร์ โรงงานฟอร์ดแห่งใหม่ถูกกองทัพอังกฤษยึดไปเป็นโรงงานผลิตเครื่องบินรบของกองทัพอังกฤษแทน

ญี่ปุ่นค่อย ๆ รุกคืบเข้าไปในมาลายาเรื่อย ๆ สุดท้ายญี่ปุ่นก็ยึดโรงงานฟอร์ดที่เป็นฐานผลิตเครื่องบินของกองทัพอังกฤษ ไปเป็นที่บัญชาการรบของญี่ปุ่นชั่วคราว

เย็นของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1942 พลโทอาเธอร์ เพอร์ซิวาล ผู้บัญชาการในมาลายา ลงนามในสนธิสัญญายอมแพ้ญี่ปุ่น ต่อพลโท โทโมยูกิ ยามาชิตะ ที่ห้องประชุมของโรงงานฟอร์ด โรงงานฟอร์ดจึงกลายเป็นที่ผลิตรถทหารของนิสสันเพื่อใช้ในสงคราม

ได้โรงงานคืน พร้อมความพ่ายแพ้ในศึกธุรกิจ

ในปี 1945 ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯทิ้งระเบิด 2 ลูกลงที่ฮิโรชิมะและนางาซะกิ ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม อังกฤษตัดสินใจยึดโรงงานฟอร์ดไว้ เพื่อใช้สำหรับปฏิบัติการบางส่วนของกองทัพ ก่อนจะคืนโรงงานให้ฟอร์ดในปี 1947

ฟอร์ดได้โรงงานคืนกลับมาแล้ว แต่พฤติกรรมผู้บริโภคกลับไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

คนสิงคโปร์นิยมขับรถยุโรปมากขึ้น ส่วนรถยนต์ญี่ปุ่นก็พยายามเข้ามาตีตลาดในสิงคโปร์ด้วย แต่ในยุคนั้น กลับมีกระแสชาตินิยมต่อต้านญี่ปุ่นจากสงคราม ทำให้คนสิงคโปร์ไม่ยอมซื้อรถญี่ปุ่นที่ราคาถูก และดูถูกว่ารถญี่ปุ่นด้อยคุณภาพ ทั้งที่คุณภาพไม่ต่างจากรถยุโรปมากนัก

ในช่วงปี 1960 มาลายาถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศคือสิงคโปร์กับมาเลเซีย

ในปี 1964 เป็นเพียงปีเดียวที่ฟอร์ดสามารถพลิกเกมได้ เพราะรถยนต์ Ford Cortina ที่ผลิตในโรงงานฟอร์ดในสิงคโปร์กลายเป็นรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในมาเลเซีย

รัฐบาลมาเลเซียช่วงนั้นหันมาสนับสนุนให้คนใช้รถที่ผลิตในประเทศ นิสสันเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มาตั้งฐานการผลิตในมาเลเซียก็เริ่มขายดีขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นแบรนด์ที่ขายดีที่สุดในมาเลเซีย ตั้งแต่ช่วงปี 1970 เป็นต้นมา

หลังจากนั้น ฟอร์ดก็ไม่สามารถตีตื้นกลับมาเป็นเจ้าตลาดได้อีกเลย ฟอร์ดจึงตัดสินใจปิดโรงงานที่สิงคโปร์ในปี 1980 

แม้ว่าจะผ่านมานานหลายสิบปี ฟอร์ดตัดสินใจย้ายฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนมาอยู่ที่ประเทศไทย แต่ยอดขายรถยนต์ฟอร์ดในไทยยังนับว่าน้อยกว่ารถญี่ปุ่นมาก

โดยในปี 2022 รถยนต์ที่ขายดีที่สุดในไทยคือโตโยตาครองส่วนแบ่งการตลาด 34%, อีซูซุ 25%, Honda 9.8% ส่วนฟอร์ดอยู่ในอันดับที่ 5 ครองส่วนแบ่งการตลาดเพียง 5% เท่านั้น

ด้านตลาดสิงคโปร์ ฟอร์ดยังไม่สามารถตัดอันดับรถยนต์ที่ขายดีที่สุด 10 อันดับแรกได้ตั้งแต่ช่วงปลายปี 1900 จนถึงตอนนี้ โดยรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในสิงคโปร์ปี 2022 คือเบนซ์ 14%, โตโยตา 12%, BMW 11.7% 

ส่วนอาคารของโรงงานฟอร์ดในย่าน Bukit Timah ที่ปิดตัวไป รัฐบาลสิงคโปร์ได้เปลี่ยนโรงงานแห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อว่า ‘Former Ford Factory’ สำหรับจัดนิทรรศการเกี่ยวกับทหารญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงความสูญที่เกิดขึ้นจากสงคราม

ติดตามเรื่องนี้ในรูปแบบวิดีโอในรายการ DEEPDIVE ได้ที่ 

อ้างอิง
https://corporate.nas.gov.sg/former-ford-factory/overview/
https://www.nytimes.com/2008/06/01/books/chapters/chapter-autos-model-t.html
https://eresources.nlb.gov.sg/infopedia/articles/SIP_1260_2007-11-05.html

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า