Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หากพูดถึง EMS เชื่อว่าหลายคนน่าจะนึกถึงธุรกิจ ‘ส่งด่วน’ (Express Mail Service: EMS) เป็นอันดับแรกๆ

แต่รู้หรือไม่ว่า ธุรกิจ EMS ไม่ใช่ตัวย่อของธุรกิจส่งด่วนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังหมายถึงธุรกิจรับจ้างผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Manufacturing Services: EMS) ได้อีกด้วย

วันนี้ TODAY Bizview มีโอกาสพูดคุยกับ ‘นิศา อมตานนท์’ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ฟอร์ท อีเอ็มเอส จำกัด (มหาชน) หรือ FORTH EMS ที่จะมาเล่าถึงธุรกิจ EMS ในไทยอย่างละเอียด

[ อยากให้ FORTH EMS แนะนำตัว ]

เท้าความก่อนว่า FORTH EMS เป็นผู้ผลิตภายใน (In-house Production) ของบริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ FORTH เปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของ FORTH ในช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมา

จนกระทั่งในปี 2562 ทีมผู้บริหารของ FORTH อยากให้ FORTH EMS ขยายธุรกิจ เติบโต ก่อนเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงบริษัทแม่อีกต่อไป

ธุรกิจหลักของ FORTH EMS คือ ผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (Box-Build) พร้อมส่งออกขายทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในและนอกกลุ่ม FORTH

แผงวงจรส่วนใหญ่ของ FORTH EMS จะถูกใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฮาร์ดดิสไดร์ฟ และตู้อัตโนมัติ ฯลฯ ซึ่งข้างในจะต้องมีแผงวงจรซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์

หลักๆ แล้วผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ พลังงาน การแพทย์ ยานยนต์ โทรคมนาคม สินค้าอุปโภค/บริโภค และตู้อัตโนมัติ ส่วนใหญ่ยังกระจุกอยู่ในกลุ่มพลังงานและตู้อัตโนมัติประมาณ 80%

ปัจจุบันมีสัดส่วนสินค้าที่ผลิตให้กลุ่ม FORTH อยู่ราวๆ 30% เช่น ตู้เต่าบิน อีกประมาณ 70% มาจากลูกค้าจากภายนอก

[ อธิบายภาพธุรกิจ EMS ในประเทศไทย ]

ในไทยยังมีธุรกิจ EMS ไม่มาก สำหรับการแข่งขันในธุรกิจรับจ้างประกอบนั้น แน่นอนว่ามีการแข่งขันกันในแง่ของการผลิต (Manufacturing) แต่ไม่ได้เป็นการแข่งขันกันในเซกเมนต์เดียวกัน

‘กลุ่มธุรกิจ กลุ่มลูกค้าที่เราไปจับ ส่วนใหญ่จะเป็นคนละกลุ่มกัน EMS ในไทยแต่ละเจ้าจะมีจุดแข็ง (Core Strength) ที่แตกต่างกัน’

ยกตัวอย่าง FORTH EMS จุดแข็งคือความยืดหยุ่น (Flexibility) กล่าวคือ รับผลิตในปริมาณที่ไม่เยอะได้ และบริการที่เทียบเท่ากับ EMS เจ้าใหญ่ของโลก ขณะที่ราคาสามารถแข่งขันได้ ไม่แรงเท่ากับ EMS เจ้าใหญ่

ตัวอย่างให้เห็นภาพคือ เจ้าใหญ่รับผลิตที่ 10 ล้านเหรียญ (ราว 350 ล้านบาท) ขึ้นไป แต่กับ FORTH EMS หลัก 5 ล้านเหรียญ (ราว 170 ล้านบาท) ก็สามารถพูดคุยกันได้ กล่าวคือ ขนาดที่รับอยู่ระดับกลางๆ แต่บริการเทียบเท่ากับระดับโลก

นอกจากแผงวงจรแล้ว FORTH EMS ยังสามารถประกอบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ เช่น ตู้เต่าบิน ซึ่งแผงวงจรคิดเป็น 10% ของตู้ทั้งหมดเท่านั้น

ที่เหลือเป็นส่วนของเหล็ก พลาสติก สายไฟ กลไกหุ่นยนต์ต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะเชี่ยวชาญไม่ถึงเลเวลนี้ แตกต่างกับ FORTH EMS ที่ทำครบวงจร

[ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ ‘ตู้เต่าบิน’ ]

ตู้เต่าบิน 1 ตู้มีส่วนประกอบกว่า 9,000 ชิ้น ซึ่ง FORTH EMS ผลิตเองทั้งหมด 100% เวลาพาร์ทเนอร์มาเดินเยี่ยมโรงงาน ก็จะเห็นถึงความสามารถ (Capability) ของบริษัทฯ

‘เราก็พยายามขายในจุดที่มันมีโอกาสที่เราสามารถขายได้ อย่างตอนนี้เราขยายเต่าบิน เราทำอะไรที่ไม่เหมือน EMS เจ้าเก่าทำ และมี Capability ที่ไม่เหมือนใคร ตรงนี้ก็เป็นจุดขายของเรา’

การประกอบถึงเลเวลนี้ เปรียบเสมือนการประกอบแอร์ขึ้นมาทั้งเครื่อง ซึ่งปกติจะไม่มีโรงงานไหนทำตั้งแต่แผงวงจรจนถึงแอร์ ส่วนมากโรงงานผลิตแอร์ก็จะประกอบแอร์เท่านั้น ส่วนแผงวงจรก็จ้างผลิตเอา

แต่ของ FORTH EMS สามารถทำได้ตั้งแต่แผงถึงประกอบเต็มตัวได้เลย ลูกค้าก็มองเห็นจุดแข็งตรงนี้ที่ไม่เหมือนเจ้าอื่น ซึ่งตัวอย่างที่เห็นชัดประเทศก็คือตู้เต่าบิน

‘ช่วงที่พีคที่สุดผลิตวันละ 40 ตู้ หรือเดือนละ 1,200 ตู้ แต่ตลาดในประเทศตอนนี้เป็นลักษณะหมุนเวียนเอา เริ่มปรับเปลี่ยนที่ทางของตู้ แต่ในปีหน้า (2567) จะเห็นตู้เต่าบินไปต่างประเทศมากขึ้น’

[ โอกาสเติบโตกับ​ ‘ตู้เต่าบิน’ ในอนาคต ]

ตอนนี้ตลาดในประเทศค่อนข้างอิ่มตัว แม้ว่าจะมีการเติบโต แต่การเติบโตนั้นคงไม่มากเท่ากับเมื่อก่อน ส่งผลให้เต่าบินหันไปเน้นการเติบโตในต่างประเทศมากขึ้น จากปัจจุบันมีการขยายไปในมาเลเซียและออสเตรเลียแล้ว

ปัจจุบันเต่าบินอยู่ระหว่างพูดคุยกับพันธมิตรเพื่อขยายตู้เต่าบินไปในอีหลายประเทศ ส่งผลให้โอกาสเติบโตยังมีค่อนข้างเยอะ จากตู้เต่าบินในประเทศตอนนี้ที่ราว 7,000 ตู้

ขณะที่เต่าบินในประเทศ โดยหลักคือการปรับเปลี่ยนโลเคชั่น (Relocation) อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้า เพราะตำแหน่งที่ตั้งมีผลค่อนข้างมากกับการขายอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการเน้นให้บริการ 24 ชั่วโมง

นอกจากเป้าหมายขยาย 20,000 ตู้ในประเทศแล้ว เต่าบินยังหันมาเน้นขยายเต่าบินคาเฟ่มากขึ้น ซึ่งผู้ผลิตทั้งหมดนี้คือ FORTH EMS

forth-ems-who-build-taobin

[ ทำไมถึงอยากขาย IPO เข้าตลาดหุ้น ]

บริษัทฯ วางแผนเข้าตลาดหุ้นตั้งแต่เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว เพื่อเตรียมขยายธุรกิจให้เติบโตไปในทิศทางที่อยากจะไป กล่าวคือ ขยายไปยังตลาดโลก (Global Market) นอกจากตลาดในประเทศ (Local Market)

นอกจากนี้ EMS เป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนค่อนข้างเยอะ ทั้งการสั่งซื้อวัตถุดิบ (Material) ช่วงเวลานำการผลิต (Lead Time) เครดิตเทอม (Credit Term) ดังนั้น เงินทุนจึงมีความสำคัญในการทำธุรกิจ

สำหรับโอกาสการเติบโต แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. การเติบโตจากกลุ่ม FORTH เช่น ตู้จำหน่ายเครื่องดื่ม ‘เต่าบิน’ ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ‘กิ้งก่า’ และล่าสุด ‘เต่าบินคาเฟ่’ ซึ่งธุรกิจหลักของ FORTH คือการวิจัยและพัฒนา จึงมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้บริษัทฯ ประกอบอยู่เรื่อยๆ

2. การเติบโตจากกลุ่มลูกค้ากลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่ FORTH ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีการลงทุนต่อเนื่องเพื่อให้เพียงพอกับการเติบโตในช่วง 4-5 ปีข้างหน้าไปบ้างแล้ว ซึ่งเพียงพอรับออเดอร์ในอนาคตจากกลุ่มธุรกิจเป้าหมาย เช่น ยานยนต์ โทรคมนาคม การแพทย์ ฯลฯ

ขณะที่เทรนด์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งโลกเริ่มมีการปรับเปลี่ยน กล่าวคือ เลเยอร์ต่างๆ จะมีความละเอียดมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ FORTH EMS ตัดสินใจ IPO เพื่อนำเงินมาอัปเกรดโรงงานของบริษัทฯ เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต

นอกจากนี้ การเข้ามาอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับบริษัทฯ คู่ค้ามีความมั่นใจมากขึ้นในแง่ของมาตรฐาน เมื่อเป็นบริษัทจดทะเบียน

[ กระบวนการ IPO ตอนนี้อยู่ตรงไหน ]

ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ SET ภายในครึ่งแรกของปี 2567

เบื้องต้นคาดว่าจะ IPO ด้วยชื่อย่อ FEMS ราคาพาร์ 0.50 บาท ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี หมวดธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

จำนวนหุ้น IPO 320,000,000 หุ้น คิดเป็น 28.57% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วหลัง IPO โดยมีบริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

[ ภาวะตลาดมีผลต่อการระดมทุนอย่างไร ]

ตลาดหุ้นมีวงจร (Cycle) ของตัวเอง จากระดับ 1,800 จุด มาสู่ 1,300 จุด เป็นระดับที่เห็นมาตลาดในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา มองว่าเป็นเรื่องปกติ

แต่สิ่งที่เป็นตัวตัดสินมูลค่าหุ้น น่าจะเป็นพื้นฐานของบริษัทฯ มากกว่า ทั้งความสามารถในการทำกำไรและคุณภาพของกำไร ที่บริษัทฯ สามารถส่งมอบให้กับผู้ถือหุ้น

ซึ่งหากบริษัทฯ สามารถส่งมอบได้ตามเป้าหมาย ราคาหุ้นก็จะเป็นไปในทิศทางที่ดีเอง ไม่ว่าสภาวะตลาดแบบไหน ราคาหุ้นก็จะยืนได้ด้วยตัวเอง

‘เราโฟกัสกับการทำผลงานในเชิงการบริหารมากกว่า ราคาหุ้นก็เรื่องหนึ่ง เพราะเราไม่ได้โฟกัสว่าจะต้องออกสอตรี่อะไรให้ราคาหุ้นมันพุ่งพล่าน เน้นทำพื้นฐานให้มันดี’

[ ปัจจัยแวดบวก-ลบ ของธุรกิจ EMS ]

แน่นอนว่าสภาวะตลาดมีความสำคัญที่สุด ทั้งสภาวะตลาดโลกและความต้องการของลูกค้า เนื่องจากธุรกิจเติบโตตามการเติบโตของลูกค้า จากที่รับจ้างผลิต

‘ถ้าเราจับกลุ่มลูกค้าแค่กลุ่มเดียวหรือเซกเมนต์เดียว บางทีมีความเสี่ยงจากภาวะตลาดของเซกเมนต์นั้นปรับตัวลง เราก็จะถูกกระทบไปด้วย’

โดยหลักเป็นความเสี่ยงจากฝั่งความต้องการซื้อ (Demand) เพราะในฝั่งของความต้องการขาย (Supply) เพิ่มขึ้นค่อนข้างน้อย เพราะฉะนั้นเวลาตลาดเซบเซามักจะมาจากฝั่ง Demand เป็นหลัก ทำให้ Supply ต้องแย่งกันเอง

อีกหนึ่งปัจจัยแวดล้อมคือวัตถุดิบ ถ้าช่วงตลาดบูม หรือสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตัวไหนเป็นที่ต้องการ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (EV Car) เริ่มบูม ก็จะเกิดภาวะขาดแคลน (Supply Shortage)

นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนก็มีผล จากการส่งออกสินค้า รวมถึงนโยบายของภาครัฐ โดยเฉพาะนโยบายด้านต่างประเทศ การสนับสนุนการลงทุนต่างๆ เหล่านี้ก็มีผลต่อธุรกิจ EMS เช่นกัน

forth-ems-who-build-taobin

[ มองไปข้างหน้า ตลาดไหนมีศักยภาพเติบโต ]

ปัจจุบันลูกค้ายังกระจุกอยู่ในกลุ่มลูกค้าพลังงานและตู้อัตโนมัติ 80% แต่ในปีหน้า (2567) คาดว่าสัดส่วนจะกระจายตัวมากขึ้น จากกลุ่มลูกค้าโทรคมนาคมและอุปโภค/บริโภคที่เข้ามา

นอกจากนี้ บริษัทฯ ก็ยังมองหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มยานยนต์ ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย ซึ่ง FORTH EMS รับมาผลิตอีกที

ถัดมาคือกลุ่มการแพทย์ ที่ลูกค้าในมือตอนนี้มีหน้าร้านกว่า 300 แห่งทั่วโลก และมีการกระจายภูมิภาคเพื่อบริหารจัดการ ซึ่งบริษัทฯ ก็พยายามเข้าไปช่วยสนับสนุนในตลาดเอเปก เป็นต้น

อีกหนึ่งกลุ่มคือ โทรคมนาคม ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปในสหรัฐฯ และมีประเทศอื่นประปราย ลักษณะคือประกอบและเก็บไว้ที่ FORTH EMS ก่อนกระจายไปยังที่อื่นๆ

ทั้งนี้ กลุ่มตลาดต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 70% ที่เหลือราว 30% อยู่ในประเทศไทย อนาคตคาดว่าจะเห็นการขยายงานในอเมริกาและยุโรปมากขึ้น

[ เป้าหมาย 3-5 ปีนี้ของ FORTH EMS ]

โดยในช่วงที่ผ่านมา รายได้และกำไรของบริษัทฯ เติบโตเท่าตัว ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากที่จีนย้ายฐานการผลิต และอีกส่วนมาจากฐานที่ต่ำ จากที่ประกอบให้กลุ่ม FORTH และลูกค้าในประเทศเป็นหลัก

นอกจากนี้ การเติบโตของกลุ่ม FORTH เองก็มีผล ทั้งตู้เต่าบินและกิ้งก่า เพราะหลังจากออกโปรดักต์ใหม่ 2 ตัวนี้มา ปรากฎว่ากระแสตอบรับค่อนข้างดี ซึ่งบริษัทฯ ก็เป็นผู้ผลิตให้ทั้ง 2 ตู้ด้วย

ทั้งนี้ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2563-2565) บริษัทฯ มีรายได้รวมที่ 821.80 ล้านบาท 2,046.90 ล้านบาท และ 4,586.40 ล้านบาท ตามลำดับ และมีกำไรสุทธิที่ 0.004 ล้านบาท 150 ล้านบาท และ 366.20 ล้านบาท ตามลำดับ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า