SHARE

คัดลอกแล้ว

กระแสการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันมากขึ้นตั้งแต่ในปีที่แล้ว โดยแนวคิดการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ (Four-Day Workweek) กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะหลังวิกฤตโควิด-19 ที่คนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของ Work-Life Balance มากขึ้น

‘ดร. ลอนนี่ โกลเด้น’ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ แรงงาน และความสัมพันธ์ในการจ้างงานจาก Penn State Abington ได้นำเสนอข้อมูลจากแบบสำรวจ Work in America ของ APA ในปี 2024 ซึ่งพบว่า 22% ของนายจ้างเริ่มมีการเสนอให้พนักงานทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2022 ที่เคยมีแค่ 14%

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจเดียวกันยังระบุอีกว่า 80% ของพนักงานมีความเชื่อและมั่นใจว่าพวกเขาจะมีความสุขและทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นหากได้ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์

ในด้านนโยบายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ อย่าง ‘มาร์ค ทาคาโนะ’ และวุฒิสมาชิก ‘เบอร์นาร์ด แซนเดอส์’ ได้มีการผลักดันร่างกฎหมายเพื่อลดเวลาทำงานมาตรฐานลงเหลือ 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตั้งแต่ในช่วงปี 2023 ที่ผ่านมา

แนวคิดการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์จึงเป็นแนวคิดที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน แต่ได้รับความสนใจจากทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และนักการเมืองที่ต้องการหาทางปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพนักงานในอนาคต

[ ตัวอย่างประเทศที่นำแนวคิดนี้มาใช้ ]

ตั้งแต่ปี 2022 ทาง 4 Day Week Global ได้ร่วมมือกับนักวิจัยทั่วโลกเพื่อนำร่องชุดการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานที่ลดลง หรือแนวทาง 100-80-100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือ พนักงานจะได้รับค่าจ้าง 100% เพื่อทำงาน 80% ของเวลาทั้งหมดในขณะที่ยังได้รับค่าตอบแทน 100%

ซึ่งใช้เวลาในการทดลอง 6 เดือนซึ่งเริ่มต้นในไอซ์แลนด์และสหรัฐอเมริกาและได้ขยายไปทั่วทวีปยุโรปและแอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

จากการทดลองในบริษัทมากกว่า 200 แห่ง พนักงานรายงานว่ามีสุขภาพจิตและร่างกายที่ดีขึ้น มีความพึงพอใจในชีวิต และมีอารมณ์เชิงดีมากขึ้น รวมถึงมีความเครียด ความเหนื่อยล้าและความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวก็ลดน้อยลง

ตัวอย่างประเทศอื่นๆ เช่น

ญี่ปุ่น : ในปี 2019 บริษัทใหญ่อย่าง Microsoft Japan ทดลองใช้งาน 4 วันต่อสัปดาห์ และพบว่าประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นถึง 40%

สหราชอาณาจักร : มีการทดลองใช้งานจริงในปี 2022 กับหลายร้อยบริษัท และพบว่าคนทำงานมีความสุขขึ้นและมีสุขภาพที่ดีขึ้น

สเปน : รัฐบาลสนับสนุนโครงการทดลองทำงาน 4 วันเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมสุขภาพจิตแนวโน้มในอนาคต

[ ในไทยมีโอกาสเป็นไปได้ไหม? ]

สำหรับคนที่ทำงานหนักๆ ก็คงมีคาดหวังที่เหมือนๆ กัน แต่ในไทยจะทำได้เหมือนกับในต่างประเทศไหม คงต้องมาดูกันไปที่ละเรื่อง

เริ่มที่เรื่องแรก คือ ขึ้นอยู่กับประเภทงาน อย่างงานที่สามารถวัดผลตามผลงาน (Performance-based) เช่น งานด้านเทคโนโลยี ครีเอทีฟ และงานที่ใช้ระบบดิจิทัล อาจปรับเป็น 4 วันได้ง่ายกว่างานที่ต้องให้บริการต่อเนื่อง เช่น การแพทย์ ค้าปลีก หรือภาครัฐ

เรื่องถัดไปคือเรื่องกฎหมายแรงงานยังไม่รองรับเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันกฎหมายแรงงานไทยกำหนดให้ชั่วโมงทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ปกติ 8 ชั่วโมงต่อวัน, 6 วันต่อสัปดาห์) การเปลี่ยนไปใช้ 4 วันอาจต้องมีการปรับข้อกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างในไทย ก็มีบางองค์กรในไทยเริ่มทดลองใช้ เช่น SCG ทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ในบางหน่วยงาน หรือบริษัทยุคใหม่ หลายแห่งเริ่มใช้แนวทาง Hybrid Work ลดวันเข้าออฟฟิศ

ในอนาคตก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น แนวโน้มของตลาดแรงงาน เทคโนโลยี และนโยบายภาครัฐร่วมกันด้วยนั้นเอง

[ เวลาที่น้อยลง อาจมาพร้อมความกดดันที่เพิ่มขึ้น ]

การทำงานสัปดาห์ละ 4 วันดูเหมือนจะเป็นแนวคิดใหม่ และเป็นแนวคิดนี้เรียบง่ายมาก นั่นคือ พนักงานจะทำงานน้อยลงแต่ยังคงผลิตผลงานได้เท่าเดิม เหตุผลก็คือการลดจำนวนวันทำงานลงจะทำให้บริษัทสามารถเพิ่มผลงานและประสิทธิภาพได้

ที่สำคัญยังช่วยให้พนักงานมีสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการชีวิตทำงานที่ดีขึ้นด้วย ส่งผลให้พนักงานมีสมาธิมากขึ้น ภาวะหมดไฟลดลง และมีความสุขมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการให้เวลาหยุดงานมากขึ้น ดูเหมือนว่าจะเป็นผลดีทั้งสองฝ่าย

แต่การสร้างความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตด้วยวิธีแบบนี้จะยั่งยืนได้จริงหรือไม่ หรือว่ามีความกดดันแอบแฝงที่เกิดขึ้นจากการลดเวลาทำงานประจำสัปดาห์ให้เหลือไม่กี่วัน? เพราะหากต้องทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อาจต้องทำงานวันละ 10 ชั่วโมง 4 วัน จากเดิมที่ทำงานวันละ 8 ชั่วโมงแต่ทำงาน 5 วัน

เวลาการทำงานที่น้อยลงอาจมาพร้อมกับความกดดัน ความเป็นจริงแล้ว ในบางกรณีสำหรับพนักงานหลายคนอาจมีรูปแบบหรือขั้นตอนในการทำงานที่ซับซ้อนกว่านั้นมาก การลดเวลาทำงานจาก 5 วันให้เหลือ 4 วันมักจะทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานเข้มข้นและกดดันมากขึ้น

ความสมดุลนั้นมีอยู่จริงหรือไม่? จุดขายหลักของการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์คือการสร้างสมดุลมากขึ้น เส้นแบ่งระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวอาจเลือนลางยิ่งขึ้นเมื่อทำงาน 4 วันติดต่อกัน เมื่อจำนวนวันทำงานที่ออฟฟิศลดลง พนักงานบางคนอาจรู้สึกว่าจำเป็นต้อง “ทำงานตลอดเวลา” อาจเป็นแรงกดดันในการทำงานมีสูงกว่าเดิมได้

อาจเพิ่มภาระให้พนักงาน หากบริษัทไม่ปรับโครงสร้างงานให้เหมาะสม พนักงานอาจต้องทำงานหนักขึ้นในเวลาที่จำกัด รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ หากลดวันทำงานโดยลดชั่วโมงรวม อาจทำให้พนักงานบางกลุ่มมีรายได้ลดลง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ชัดเจนคือการลดจำนวนวันที่พนักงานทำงานเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะรับประกันความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่แท้จริงจำเป็นที่จะต้องมาจากการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความยืดหยุ่นเป็นหลัก

และพนักงานจะต้องไม่ถูกตัดสินจากผลงานเพียงอย่างเดียว รูปแบบการทำงานที่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นการทำงาน 4 วัน 5 วัน หรืออย่างอื่น จำเป็นต้องเน้นที่คุณภาพของงานและสุขภาพจิตของพนักงาน มากกว่าที่จะปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนเครื่องจักรในอุตสาหกรรม

ที่มา :  The rise of the 4-day workweek  By American Psychological Association (APA)

www.forbes.com/sites/benjaminlaker/2024/10/03/the-hidden-costs-of-the-4-day-workweek-and-its-true-impact/

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า