SHARE

คัดลอกแล้ว
ฟรานเซส เฮาเกน อดีตผู้จัดการระดับสูงของเฟซบุ๊ก ได้ออกมาเปิดโปงยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียด้วยข้อหาที่บอกว่าเฟซบุ๊กเลือก “ผลกำไรมากกว่าความปลอดภัยของผู้ใช้” ซึ่งข้อกล่าวหานี้ ถือเป็นคำที่รุนแรงและเป็นเรื่องใหญ่มากในสหรัฐฯ 
 
ในการออกมาเปิดโปงครั้งนี้ของเฮาเกน รวมกับเอกสารลับเฟซบุ๊กไฟล์ ชี้แจงปัญหาแยกออกมาอย่างน้อย 4 จุด
  1. อินสตาแกรมทำให้เด็กๆ สุขภาพจิตเสีย เพราะเป็นพื้นที่ที่เห็นแต่ด้านดี เลือกแต่ด้านสวยงามมานำเสนอ ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ และเด็กๆ 1 ใน 3 เกิดภาวะสูญเสียคุณค่าในตนเอง และตามมาด้วยปัญหาสุขภาพจิต
  2. เฟซบุ๊กอยากให้คนใช้งานเฟซบุ๊กให้ได้นานที่สุด เพื่อผลกำไรจากการขายโฆษณา จึงออกแบบให้ผู้ใช้เสพติดความโกรธแค้นจากเนื้อหาการเมือง
  3. เฟซบุ๊กเป็นพื้นที่หลอกลวงของนักค้ายาเสพติดและค้ามนุษย์ ซึ่งเฟซบุ๊กรู้ปัญหานี้ดี แต่มาตรการจัดการดูไม่จริงใจ ทั้งๆ ที่พนักงานของเฟซบุ๊กหลายคนก็พยายามร้องเรียนให้องค์กรเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้
  4. หลอกลวงนักลงทุนและประชาชน โดยการออกแถลงการณ์ที่ไม่ตรงกับการกระทำจริงในองค์กร
ปัญหาทั้ง 4 ข้อเป็นเรื่องที่เคยมีการพูดถึงมานานแล้ว แต่ที่ครั้งนี้เป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาเป็นเพราะเป็นการเปิดโปงผ่านเอกสารในการทำงานของเฟซบุ๊กเป็นหมื่นๆ หน้า ที่ฟรานเซส เฮาเกน แอบเอาออกมาระหว่างที่เธอทำงานที่เฟซบุ๊ก
เฮาเกน เล่าผ่านรายการ 60 Minutes ว่าตลอด 2 ปีที่เธอทำงานในเฟซบุ๊ก เธอเห็นเฟซบุ๊กเลือกผลกำไรมาอยู่เหนือความปลอดภัยของผู้ใช้งานเสมอ เฮาเกนบอกว่ามีอดีตพนักงานหลายต่อหลายคนที่พยายามจัดการกับปัญหานี้ และสุดท้ายก็ต้องเจ็บตัวกลับไป
ทุกวันนี้เฟซบุ๊กมีผู้ใช้งานมากถึงสองพันแปดร้อยล้านคน เกินครึ่งหนึ่งของคนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ท ทำให้ปัญหานี้มันเป็นปัญหาที่ไปไกลกว่าเรื่องโซเชียลมีเดียหรือผู้ใช้งาน แต่มันยกระดับไปเป็นปัญหาสังคม
เฮาเกนบอกว่าต้นตอปัญหารอบนี้มาจากการเปลี่ยนอัลกอริทึ่มของเฟซบุ๊กในปี 2018
เธออธิบายว่า ถ้าเราไถจอเฟซบุ๊กไปสัก 5 นาที เราอาจจะเจอสัก 100 โพสต์ เฟซบุ๊ก สามารถเลือกได้ว่าเราจะได้อ่านโพสต์แบบไหนบ้าง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงในปี 2018 ออกแบบให้โพสต์ที่มีคนกดไลค์ กดโกรธ กดแชร์มากที่สุด หรือเอนเกจมากที่สุด โผล่ในหน้าฟีดบ่อยที่สุด
 
ผลวิจัยที่เฟซบุ๊กมีอยู่ ก็บอกชัดเจนว่าโพสต์ที่คนเอนเกจเยอะๆ ก็คือเนื้อหาที่เต็มไปด้วยความเกลียดชัง ความแตกแยก ซึ่งทำให้คนโกรธและเกลียดกันมากขึ้น
“เฟซบุ๊กรู้ว่าถ้าทำให้หน้าฟีดปลอดภัยขึ้น คนจะใช้เฟซบุ๊กน้อยลง โฆษณาก็จะขายได้น้อยลง เฟซบุ๊กก็จะทำเงินได้น้อยลง” เฮาเกนสรุป
 
ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดคำครหาว่าเฟซบุ๊กทำคนเปิดเผยด้านที่ชั่วร้ายที่สุดของตนเองออกมาหรือ เฮาเกนอธิบายว่าเฟซบุ๊กอาจจะไม่ได้ตั้งใจให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง แต่ด้วยกลไกการใช้งาน การต้องทำให้คนใช้เฟซบุ๊กให้นานที่สุด ทำให้ผลมันออกมาเป็นแบบนั้น
ปัญหาที่คาราคาซังมานาน ทำให้ตอนนี้หน่วยงานการเมืองทั้งในสหรัฐและยุโรปออกมาเทคแอกชั่นกับเรื่องนี้
ด้านเฟซบุ๊กก็พยายามอธิบายและจัดการกับปัญหาต่างๆ 
  1. เรื่องอินสตาแกรม เฟซบุ๊กระงับการเปิดตัว อินสตาแกรมสำหรับเด็ก (Instagram Kids) และหัวหน้าอินสตาแกรม อดัม มอสเซอรี่ ได้ออกมาอธิบายว่าโซเชียลมีเดียก็เหมือนรถยนต์ คือแม้จะมีคนเสียชีวิตจากมันบ้าง แต่โดยรวมแล้วมันก็สร้างประโยชน์ให้กับคนได้มากกว่า ซึ่งก็ตามมาด้วยเสียงวิจารณ์ว่ารถยนต์มีกฎระเบียบคอยกำกับดูแลมากกว่า
  2. เรื่องเนื้อหาการเมือง การค้ายาเสพติด และค้ามนุษย์ มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ได้ชี้แจงว่ากำลังจัดการกับปัญหานี้ โดยพยายามไม่ให้เกิดผลกระทบกับคนในชีวิตจริง ยอมรับว่าระบบมีจุดบกพร่องแต่เฟซบุ๊กก็สะท้อนกับความเป็นจริงของสังคม
  3. เฟซบุ๊กชี้แจงกับ 60 Minutes ว่า “เฟซบุ๊กปฏิเสธข้อกล่าวหาว่าเราสนับสนุนเนื้อหาในทางลบ เราทำงานหนักในการบาลานซ์เสรีภาพในการแสดงออกกับการทำให้พื้นที่นี้น่าอยู่และปลอดภัย ที่ผ่านมาเฟซบุ๊กคืบหน้าอย่างมากในการจัดการกับปัญหาข่าวปลอม ถ้าสังคม รัฐบาล หรืออุตสาหกรรมเทค หาทางออกกับปัญหานี้ได้ ก็คงจัดการไปแล้ว”
คนรุ่นใหม่เริ่มไม่ใช้เฟซบุ๊ก และจะกลายเป็นพื้นที่ของผู้สูงอายุ
 
จากปัญหาระลอกนี้ นิวยอร์กไทมส์พาดหัวว่า “เฟซบุ๊กอ่อนแอกว่าที่เรารู้” โดยวิเคราะห์ว่าแม้เฟซบุ๊กจะยังทำเงินได้อย่างมหาศาลและยังเติบโตในต่างประเทศ แต่อีกไม่นานคนจะเริ่มหนีออกจากเฟซบุ๊ก
 
ที่เฟซบุ๊กต้องเร่งเปิดตลาดเด็กเพราะรู้ตัวว่าคนรุ่นใหม่ใช้เฟซบุ๊กกันน้อยลง ถึงขนาดว่ามีงานวิจัยชี้มาว่าการใช้งานจะลดลงไปถึงร้อยละ 45 ในปี 2023 ทำให้เฟซบุ๊กจะกลายเป็นพื้นที่คนผู้สูงอายุเท่านั้น
ภาวะที่คนรุ่นใหม่หนีไปใช้ TikTok และ Snapchat ทิ้งให้เฟซบุ๊กเหลือแต่ผู้สูงอายุที่เอาแต่แชร์ข่าวปลอมเกี่ยวกับการไม่ยอมฉีดวัคซีนและโต้เถียงเรื่องการเมือง อาจจะทำให้วันหนึ่งเฟซบุ๊กเผชิญชะตากรรมเดียวกับ MySpace ที่เคยเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่สุดท้ายคนกลับเลิกใช้งาน จนกลายเป็นป่าช้าก็เป็นได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า