SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาวะการหดตัวของธุรกิจร้านอาหารที่มาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นกำลังซื้อที่ลดลง ต้นทุนสูงขึ้น การแข่งขันมีมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน การขยายสาขาทำได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารต่างต้องปรับตัว

และหนึ่งในกลยุทธ์ที่เชนธุรกิจร้านอาหารหลายแบรนด์นำมาใช้คือการแตกเซ็กเมนต์ใหม่ เพื่อสร้างโอกาสการเติบโต และดีกว่าที่จะเสี่ยงแขวนตัวเองไว้ที่เซ็กเมนต์เดียว

ตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและได้รับความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ คือการแตกไลน์มาที่ร้านอาหารสตรีทฟู้ด ด้วยเอกลักษณ์ของร้านอาหารริมทางที่ราคาไม่แพง สะดวก อร่อย เข้าถึงง่าย จึงครองใจผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ สถิติที่น่าสนใจจากยูโรมอนิเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังระบุว่า ภาพรวมตลาดร้านอาหารอาหารสตรีทฟู้ดในไทยปี 2560 มีมูลค่า 276,000 ล้านบาท เติบโตจากปี 2559 ถึง 4.3% และยังเติบโตต่อเนื่องอีก 4 ปีติดต่อกัน โดยคาดว่าในปี 2564 จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 340,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราขยายตัวเฉลี่ย 5.3% ต่อปี

โอกาสอันน่าสนใจเหล่านี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่เซ็กเมนต์ใหม่ที่เชนร้านอาหารรายใหญ่ของไทยต่างกระโดดเข้ามาจับอย่างไม่ให้ตกขบวนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จะเป็นการแตกไลน์ธุรกิจไปสู่แบรนด์ร้านอาหารสตรีทฟู้ด ซึ่งนอกจากจะลงทุนเองแล้ว ยังขยายไปสู่ธุรกิจแฟรนไชว์อีกด้วย

กลุ่มเซ็นประเดิมเจ้าตลาด ขยายแฟรนไชส์สู่รถเข็น

ประเดิมรายแรกคือ บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN เจ้าของร้านอาหารหลากหลายแบรนด์ เช่น เซน, ตำมั่ว, AKA และดินส์ ที่ได้เริ่มให้บริการร้านอาหารสตรีทฟู้ดในแบรนด์ ‘เขียง’ มาตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค.2561 ด้วยรูปแบบร้านขนาดเล็กพื้นที่ประมาณ 50 ตารางเมตร ยึดทำเลตามสถานีบริการน้ำมัน คอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์อาหาร รวมถึงให้บริการแบบเดลิเวรี่ โดยเมนูที่ขายล้วนเป็นอาหารตามสั่งเมนูฮิตของคนไทยอย่าง ผัดกะเพรา ผัดซีอิ๊ว ข้าวไข่เจียว ราคาเริ่มต้นที่ 50 บาท ทั้งนี้ การขยายสาขาของแบรนด์เขียง ไม่เพียงแต่เป็นลงทุนเองจากบริษัทเท่านั้น กลุ่มเซ็นยังขยายสาขาด้วยโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ให้กับผู้สนใจอีกด้วย

โมเดลของร้านเขียงเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จไม่น้อย เพราะหลังจากเปิดตัวไปเพียง 8 เดือน ก็สามารถขยายสาขาไปได้ถึง 40 สาขา แต่ละสาขามียอดขายเฉลี่ย 8 แสน – 1 ล้านบาท/เดือน ขณะที่อีกปัจจัยที่หนุนการเติบโตให้แบรนด์ได้เป็นอย่างดี คือการให้บริการในรูปแบบเดลิเวรี่ที่ทั้งที่ทำของตัวเองและร่วมกับพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ จนบางสาขามียอดขายเดลิเวรี่สูงถึง 70% ส่งผลให้ในช่วงตุลาคม 2563 บริษัทปรับกลยุทธ์ ผุดโมเดลที่เรียกว่า Delco ซึ่งเป็นครัวกลางสำหรับปรุงอาหารเพียงอย่างเดียวเพื่อรองรับออเดอร์จากเดลิเวรี่โดยเฉพาะ

และล่าสุดกับโมเดลใหม่ที่เล็กลงกว่าเดิม คือ ร้านเขียงในรูปแบบรถเข็น ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อ ธ.ค. 2563 ใช้พื้นที่เพียงแค่ 30-40 ตารางเมตร ซึ่งมีค่าลงทุนและค่าแฟรนไชส์ต่ำกว่าโมเดลทั่วไป เพื่อตอบโจทย์ผู้สนใจลงทุนร้านอาหารขนาดเล็กที่ใช้งบลงทุนไม่สูงนัก เป้าหมายเปิดสาขาเพิ่มอีก 100 สาขาของร้านเขียงในปีนี้ จึงดูว่าจะเป็นไปได้ไม่ยากนัก

CRG ส่งร้านอร่อยดีท้าชน

ตามมาติด ๆ กับ ‘ร้านอร่อยดี’ แฟรนไชส์ร้านสตรีทฟู้ดจากบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือน พ.ย.2562 ที่ผ่านมา เพื่อให้สอดรับกับปัจจัยสำคัญอย่างกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง อาหารราคาไม่แพงอย่างสตรีทฟู้ดจึงกลายเป็นทางเลือกสำคัญในช่วงเวลาที่กำลังซื้อถดถอยเช่นนี้

สำหรับแบรนด์อร่อยดีนั้นเน้นเป็นเมนูอาหารไทยที่หลากหลาย เข้าถึงง่าย ราคาไม่แพง โดยมีเมนูยืนพื้น เช่น ข้าวผัดกะเพรา ข้าวผัดรถไฟ และผัดมาม่าใส่ไข่ และดึงเมนูเด็ดจากร้านสตรีทฟู้ดเจ้าดังมาขายในร้านด้วย อาทิ โจ๊กกองปราบ, โตเกียว โบวล์, เจ๊เกียงหมูทอด เป็นต้น โดยยึดทำเลหลักคือในสถานีบริการน้ำมัน ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านไทวัสดุ ส่วนรีเทลของคอนโดมิเนียม

พร้อม ๆ ไปกับการให้ความสำคัญกับช่องทางเดลิเวรี่ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน นำมาสู่การให้บริการในรูปแบบคลาวด์คิทเช่นและแกร็บคิทเช่น จนมียอดขายมาจากส่วนเดลิเวรี่ถึง 70% ทำให้ช่วงโควิด-19 แบรนด์อร่อยดีกลับไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ทั้งนี้ CRG วางเป้าหมายไว้ว่าภายในระยะเวลา 5 ปี จะสามารถขยายสาขาของร้านอร่อยดีให้ได้ถึง 300 สาขาทั่วประเทศ แบ่งเป็น 70% มาจากแฟรนไชส์ และ 30% เป็นสาขาของบริษัทเอง

CPF ไม่น้อยหน้า ส่ง ตะหลิว สู้ศึก

และล่าสุดกับร้านไก่ย่างเชสเตอร์จากเครือ CPF ที่เริ่มให้บริการร้านสตรีทฟู้ดอย่าง ‘ตะหลิว’ ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 ที่ผ่านมา และเริ่มทำธุรกิจอย่างจริงจังในช่วงปลายปี 2563 ปัจจุบันมีให้บริการแล้ว 7 สาขา ผ่าน 3 รูปแบบร้าน คือ ร้านขนาดเล็กในฟู้ดคอร์ท, ร้านแบบมีที่นั่งในศูนย์การค้า และสาขาคลาวด์คิทเช่นที่ทำเพื่อบริการเดลิเวรี่โดยเฉพาะ

โดยชูจุดเด่นจากแบรนด์เชสเตอร์อย่างข้าวและพริกน้ำปลา สู่เมนูอาหารไทยยอดนิยม เช่น ข้าวผัดกะเพรา, ผัดพริกเผา, ต้มยำ และอาหารประเภทเส้น ราคาเริ่มต้นที่ 50 บาท และแม้จะเริ่มต้นช้ากว่าคู่แข่ง แต่ CPF ก็วางแผนขยายสาขาด้วยโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

ไม่ว่าท้ายที่สุดแล้วศึกครั้งนี้ใครจะเป็นผู้ชนะ แต่เชื่อว่าการปั้นแบรนด์สตรีทฟู้ด พร้อมขยายสาขาด้วยโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ น่าจะเป็นโอกาสและแรงขับเคลื่อนสำคัญให้เชนร้านอาหารในไทยยังอยู่รอดได้!

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า