SHARE

คัดลอกแล้ว

ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ ช่างภาพข่าวอิสระถูกชายอย่างน้อย 3 ราย โจมตีด้วยการทุบตี หนึ่งในนั้นปรากฎไม้กระบองแบบยืดหดได้ จนทำให้เกิดแผลฟกช้ำ เหตุเกิดวันที่ 22 เมษายน 2565 ที่บริเวณเวณร้านแม็คโดนัลด์ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพมหานคร  ล่าสุดกลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบันรับแล้วว่าสมาชิกของตนเป็นผู้ลงมือเนื่องจากคู่กรณีมองหน้า หวั่นเกิดอันตราย ยืนยันไม่ได้รุมและไม่ยอมรับว่านายณัฐพลเป็นสื่อ

ณัฐพลระบุหลังเกิดเหตุว่าก่อนการโจมตีตนไม่มีเหตุทะเลาะวิวาทกับกลุ่มใด และไม่ทราบว่าฝ่ายใดเป็นผู้โจมตี โดยวันดังกล่าวเขาร่วมถ่ายภาพการชุมนุมทางการเมือง จัดโดยกลุ่มมังกรปฏิวัติ ที่ถนนราชดำเนินกลาง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมได้เข้าไปในร้านแม็กโดนัลด์ ถนนราชดำเนินกลางเพื่อนั่งตกแต่งภาพที่ได้ถ่ายไว้จนเสร็จสิ้นในเวลาค่ำ เมื่อออกจากร้านกลับพบชายคนหนึ่งยืนมองจากที่ไกล ๆ ตนจึงรีบขึ้นรถจักรยานยนต์แต่ชายคนดังกล่าวก็เดินเข้ามาพูดคุยด้วยท่าทีคุกคามและถามว่าเป็นสื่อหรือไม่ ขอดูโทรศัพท์ ตนปฏิเสธและเริ่มมองหาความช่วยเหลือด้วยการโบกมือ จึงมีชายอีก 2 รายปรากฎตัวและเริ่มทุบตีเข้าตามลำตัว เขาระบุว่าชายคนแรกใช้อาวุธกระบองแบบยืดหดได้ร่วมด้วย ตนวิ่งเข้าแม็กโดนัลด์จึงได้รับความช่วยเหลือ เบื้องต้นได้ตรวจร่างกาย ขอกล้องวงจรปิดและแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ชนะสงครามแล้ว

ต่อมา วันที่ 24 เมษายน 2565 กลุ่มอาชีวะพิทักษ์สถาบัน ได้ไลฟ์สดผ่านเพจเฟซบุ๊ก “อาชีวะปกป้องสถาบันและภาคีทุกภาคส่วน” ระบุว่าสมาชิกในกลุ่มของตนเป็นผู้ลงมือทำร้ายนายณัฐพลจริง โดยชี้แจงว่าเข้าใจผิดในสาระสำคัญหลายประการ โดยเข้าใจผิดว่าณัฐพลเป็นหนึ่งในผู้ชุมนุม และปฏิเสธไม่เชื่อว่าเป็นสื่อมวลชน

ก่อนหน้าไลฟ์นี้ ในวันเกิดเหตุ  เวลาราว 22.30 น. นายอัครวุธ ไกรศรีสมบัติ กลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบันปรากฎตัวที่ร้านแม็กโดนัลด์ขณะที่นายณัฐพลกำลังดำเนินการร้องขอกล้องวงจรปิดจากร้านอาหาร ชี้แจงว่ากลุ่มของตนไม่เกี่ยวข้องกับกรณีนายณัฐพลถูกทำร้าย ผู้สื่อข่าวในพื้นที่สอบถามว่าจะทำอย่างไรหากพบว่าเหตุเกิดโดยสมาชิกกลุ่มจริงจะทำอย่างไร เจ้าตัวตอบ “ก็ขับ”

กลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบัน เริ่มดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นมาโดยประกาศวัตถุประสงค์ในการจับตาการทำกิจกรรมของกลุ่มเรียกร้องการปฏิรูปสถาบัน ยืนยันด้วยวาจาว่าใช้หลักสันติวิธี โดยแสดงออกด้วยการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีในสถานที่ใกล้เคียงกับที่กลุ่มเรียกร้องการปฏิรูปจัดกิจกรรม เหตุการณ์ของนายณัฐพลเป็นเหตุการแรกที่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นผู้กระทำ

ตลอดทั้งความเคลื่อนไหวเรียกร้องการปฏิรูปทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมาเกิดการเผชิญหน้าระหว่างผู้เห้นด้วยและไม่เห็นด้วยหลายครั้ง เช่น กรณีกลุ่มไม่เห็นด้วยกับกาเรียกร้องการปฏิรูปทำร้ายนักเรียนในชุดเนตรนารีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรณีไล่ตามผู้ชุมนุมเรียกร้องการปฏิรูปที่สะพานมัฆวานวันที่ 14 ตุลาคม 2563 แต่กรณีของณัฐพลเป็นครั้งแรกที่มีประเด็นเหยื่อบอกว่าถูกสอบถามว่าเป็นสื่อมวลชนหรือไม่ก่อนลงมือ

สมาคมสื่อแสดงความกังวลต่อบรรยากาศความปลอดภัยในการทำงานของสื่อมวลชน ร้องเจ้าหน้าที่เร่งดำเนินการอย่างโปร่งใสและรวดเร็ว

วันที่ 23 เมษายน 2565 นายธีรนัย จารุวัสตร์ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แสดงความกังวลต่อเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากเหตุเกิดคาบเกี่ยวระหว่างผู้เสียหายเดินทางกลับจากการทำหน้าที่สื่อมวลชน ทำให้มีการตั้งข้อสงสัยว่าสาเหตุการททำร้ายเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ในฐานะสื่ออิสระหรือไม่ ซึ่งกรณีนี้อาจทำให้สื่อมวลชนและช่างภาพที่ต้องลงพื้นที่ทำงานเกิดความหวาดกลัวและไม่มั่นใจต่อความปลอดภัยของตนขณะปฏิบัติหน้าที่ 

ขณะที่เว็บไซต์ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ยืนยันว่าปลอกแขนที่ออกโดย 6 องค์กรสื่อไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าผู้ใดเป็นสื่อมวลชนหรือไม่



podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า