SHARE

คัดลอกแล้ว

งานเสวนา Friends of Silk Road ในสถานการณ์ใหม่ของโลก ‘อภิสิทธิ์-โภคิน’ หนุนสัมพันธ์จีน ผ่านโครงการ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” หวังฟื้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด และเพิ่มโอกาสเป็นเส้นทางแห่งสุขภาพและดิจิทัล 

เมื่อวันที่ 29 ต.ค.2563  สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน ร่วมกับ Silk Road Club แห่งประเทศจีน จัดงานเสวนา เรื่อง  Friends of Silk Road ในสถานการณ์ใหม่ของโลก  ที่ห้องประดิษฐ์เปรมโยธิน อาคารธรรมนิติ กรุงเทพฯ

การเสวนาครั้งนี้มีบุคคลสำคัญทางการเมือง ภาคธุรกิจ เอกชน  ร่วมให้มุมมองต่อสถานการณ์ใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก

นายโภคิน พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน  กล่าวว่า นับแต่ประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีน สมัยที่ 18  ซึ่งได้สถาปนาการนำของประธานสีจิ้นผิง เป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้มีความคิดริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”  ได้กลายเป็นกระแสหลักของโลกอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการขับเคลื่อนสันติภาพและการพัฒนาไปในทุกพื้นที่ของโลก ทำให้โลกเข้าสู่สถานการณ์ใหม่ ความตื่นตัวในการสร้างสันติภาพในทุกพื้นที่ทั่วโลกและในการพัฒนาร่วมกันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ขึ้นสู่กระแสสูง ในขณะเดียวกัน ก็ได้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ได้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มประเทศ องค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้ กับองค์การนาโต้ ได้เกิดสิ่งที่เรียกว่ายุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างชาติมหาอำนาจ และส่งผลกระทบต่อประเทศทั้งหลายในภูมิภาคอาเซียนทั้งประเทศไทยด้วย

นายโภคิน พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน

“ประเทศไทยเป็นหนึ่งในอาเซียน เป็นศูนย์กลางสำคัญยิ่งทางด้านการคมนาคม ทะเล อวกาศ เชื่อมโยงประชากรครึ่งหนึ่งของโลก ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ภูมิภาคนี้เป็นที่สนใจของประเทศและองค์กรต่างๆ อย่างไรก็ตาม ไทยรักสันติมุ่งหมายเป็นมิตรทั่วโลก ด้วยความเสมอภาค เคารพซึ่งกันและกัน ไม่ตั้งตนฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นกลุ่มอาเซียน มีผลประโยขน์แน่นแฟ้น การเข้าสู่สถานการณ์ใหม่ เศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และมีปัญหาแพร่ระบาดโควิด จึงเป็นความท้าทายความร่วมมือร่วมใจของทั่วโลก โดยเฉพาะไทยกับจีน“ นายโภคิน กล่าว

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากมองในมุมนักเศรษฐศาสตร์ การริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”  หรือ  Silk Road มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้หลังสิ้นสงครามเย็น แนวคิดกระแสหลักมีการเปิดเศรษฐกิจโลกให้เสรีและขับเคลื่อนมาต่อเนื่อง สอดคล้องกับประเทศจีนเปิดตลาด มีการเข้าร่วมองค์การการค้าโลก(WTO) ขยายข้อตกลงการค้า สามารถขับเคลื่อนให้เศรษฐโลกขับเคลื่อนได้เร็วและลดความยากจนได้เป็นอย่างดี แต่ว่ามาสะดุดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อสิบปีที่แล้ว ในส่วนของไทยคือวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้เศรษฐกิจที่เคยเติบโต ถูกตั้งคำถามขึ้น และผลตามมา โลกตะวันตก ที่เป็นโลกเสรีกลับมีปัญหา เริ่มปฏิเสธข้อตกลงการค้าต่างๆ เกิดเบร็กซิท (Brexit) ชาติในยุโรปออกจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ

“ขณะที่เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตตามลำดับ ขยับมาเป็นอันดับที่สองของโลก เพราะการริเริ่มของผู้นำสีจิ้นผิง ด้วยนโยบายเส้นทางสายไหมอันเป็นวิสัยทัศน์เพื่ออุดช่องว่างที่ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจมาทั้งหมด ซึ่งสมัยที่ผมเป็นนายกฯ และทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียน ก็ผลักดันการเชื่อมโยงภูมิภาคนี้กับนโยบายเส้นทางสายไหม “ อดีตนายกฯ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เส้นทางสายไหมทำให้การเชื่อมโยงทางกายภาพเกิดความสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนการค้าการลงทุนเพิ่มขึ้น และอาจตอบโจทย์ไม่ทิ้งใครข้างหลัง  ประเทศที่อยู่ในเส้นทางสายไหมจะได้ประโยชน์ ประมาณการว่าจะเพิ่มรายได้ และดึงคนจากภาวะยากจนได้อีก 40 ล้านคน

“ธนาคารโลก เคยระบุ ประเทศที่ได้รับประโยชน์มากคือไทย เพราะเป็นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเพิ่มการเติบโตร้อยละ 8  แต่หลังจากดำเนินการ 7 ปีมีปัญหาอุปสรรค อันดับแรก การริเริ่มของจีนกับอีกหลายร้อยประเทศพบว่าการเชื่อมโยงแสวงหาความร่วมมือยังไม่ได้เต็มที่ “ นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าการบริหารจัดการแต่ละประเทศมีจุดอ่อน บางประเทศมีภาวะเศรษฐกิจ มีหนี้สาธารณะ แม้จะสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หลายรัฐบาลถูกวิจารณ์ความโปร่งใส ยกตัวอย่างประเทศไทย มีการพูดถึงเส้นทางรถไฟ คุณหมิง ถึงกรุงเทพฯ ซึ่งสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เคยวางแผนเส้นทางรถไฟจากคุณหมิงถึงสิงคโปร์ด้วยซ้ำ แต่เมื่อไม่กี่วันรัฐบาลเพิ่งลงนามบันทึกข้อตกลง เส้นทางรถไฟ กรุงเทพฯ ถึงโคราช ขณะที่ สปป.ลาว วางรางรถไฟเชื่อมโยงกับจีนไปแล้ว  หรือแม้แต่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เหมือนจะถูกออกแบบเชื่อมโยงภายในประเทศมากกว่าเชื่อมโยงเส้นทางสายไหม

นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19  สร้างความท้าทายต่อเส้นทางสายไหม เนื่องจากจีนยอมรับว่าโครงการต่างๆ ที่จีนวางไว้ทั่วโลกจะได้รับผลกระทบ 20 %  ที่กระทบตามมาลึกซึ้งกว่านั้น รัฐบาลก่อหนี้เยียวยาโควิดในประเทศตนเอง บางประเทศที่เปราะบาง หนี้สาธารณะอาจทำให้โครงการต่างๆ ล่าช้า กรอบเวลาการใช้จ่ายเงินอาจทำให้ผิดแผนไปหมด ตรงนี้ล้วนเป็นความท้าทาย

“อย่างไรก็ตาม โอกาสเป็นไปได้ คือ เส้นทางสายไหมทางสุขภาพ เนื่องจากทุกประเทศกำลังแสวงหาวัคซีน รวมถึงเส้นทางสายไหมทางดิจิทัล เพราะจากพฤติกรรมผู้คนเปลี่ยนแปลงไปซื้อขายออนไลน์  อยากบอกว่า ความสำคัญของเส้นทางสายไหมต่อไปชัดเจนขึ้น เพราะถึงวันนี้ กติกาการค้าโลกยังอึมครึม ปัญหาความไม่ลงตัวดูจากความร่วมมือต่างๆ แต่ความเชื่อมโยงเส้นทางสายไหมให้คนร้อยกว่าประเทศกว้างขวางขึ้น สามารถปรับกติการูปแบบการค้าการลงทุนให้เป็นธรรมจะเป็นประโยชน์มหาศาลไม่ใช่แต่ประเทศในนี้ แต่นอกกลุ่มก็เป็นประโยชน์ ประเทศในอาเซียนจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต (คนถือไมค์โครโฟน)

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์  คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ตนเห็นโอกาสจากวิกฤตโควิด-19  นั่นคือ ความเชื่อมโยงด้านการแพทย์ของจีนกับแพทย์แผนไทย  โดยขอยกตัวอย่าง ประเทศไทยส่งเสริมให้กัญชามาใช้ทางการแพทย์ ซึ่งจากที่ตนค้นคว้าทางประวัติการใช้กัญชาของโลก เพื่อให้ดูว่าเส้นทางสายไหมไทย-จีน จะหามิตรภาพทางพืชที่ชื่อว่ากัญชาได้หรือไม่  เพื่อไม่ให้ชาติอื่นๆจดสิทธิบัตรกัญชาทางการแพทย์ เราจะพบไทยใช้กัญชามานานหลายร้อยปี  และประเทศที่ยาวนาน คือ จีน และได้ใช้ส่งผ่านมายังไทย อินเดีย ตะวันออกกลาง ส่งสัญญาณชัด พืชหนึ่งตัว เหมือนดวงอาทิตย์ขึ้นฝังตะวันออกจรดตะวันตก วันดีคืนดี ก็เกิดขึ้นตะวันออกอีกครั้ง

“ในช่วงโควิด-19  ผมค้นว่า มีตำรับยาไทยอะไรรักษาโรคระบาดได้บ้าง  ซึ่งพบว่าตั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ค้นพบตำรายา มีการศึกษาถึงระบบธาตุของแต่ละประเทศ โดยประมาณการได้ว่า จะมีโรคระบาดเกิดขึ้นในช่วงไหน หรือ หากมองถึงกรณีโควิด-19  ถ้าเรามีประเมินก็อาจจะยุติได้ประมาณเดือนพฤษภาคมปีหน้า  เช่นเดียวกับที่จีนมีการทำมาแล้วเป็นพันปี ทำให้จีนมีการวิจัยต่อเนื่อง” นายปานเทพ กล่าว

นายสรสินธุ ไตรจักรภพ รองเลขาธิการหอการค้าไทย-จีน (คนถือไมค์โครโฟน)

หอการค้าฯ หนุนเรียนรู้ภาษาจีนมากขึ้น

นายสรสินธุ ไตรจักรภพ รองเลขาธิการหอการค้าไทย-จีน ให้ความสำคัญเส้นทางสายไหมจะทำให้เกิดการส่งเสริมด้านภาษาและวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน

“ผมคิดว่าการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญรองรับเส้นทางสายไหม ตราบใดความรู้ภาษาจีนที่มีศักยภาพไม่สมบูรณ์ก็เป็นเรื่องยากลำบาก ผมเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ส่งเสริมภาษาจีน พยายามทำให้คนไทยสื่อสารภาษาจีน อย่างน้อยนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาประเทศไทย เราจะสามารถสื่อสารกับเขาได้” รองเลขาธิการหอการค้าไทย-จีน กล่าว

นายสรสินธุ กล่าวว่า ตอนนี้อุตสาหกรรมเด่น คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ขณะที่อุตสาหกรรมแขนงอื่นๆ ล้มเหลว และเป็นของต่างชาติ  มีตัวเดียวของไทยจริงๆ คือ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีความจำเป็นต้องใช้ภาษาสื่อสารกับนักท่องเที่ยว

ทั้งนี้ นโยบายรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ส่งเสริมให้เรียนภาษาจีน  ทำให้ทราบประเทศอาเซียนสิบประเทศ ไทยเกี่ยวกับภาษาจีนแย่ที่สุด ขณะที่คนจีนอยู่ในไทยมากที่สุด  ฉนั้นจึงต้องแก้ปัญหาอัพเกรดคุณครูเพิ่มศักยภาพการสอน และเชิญครูจีนเข้ามาสอน และพยายามทำสื่อให้คนไทยสื่อสารกับคนจีนมากขึ้น รองรับทั้งอีอีซี ที่ผู้ประกอบการลงทุนส่วนใหญ่เป็นคนจีนด้วยซ้ำ ประเทศจีนเป็นโรงงานของโลก บางสิ่งบางอย่างผลิตในไทยและเป็นฐานส่งออก ภาษาจีนเป็นภาษาสำคัญ ซึ่งหอการค้าไทย-จีน ไปมีส่วนร่วมตรงนั้น

“จากการที่ผมไปเป็น ผช.รมต.กระทรวงศึกษาธิการ ค้นพบว่า คนที่เรียนจบปริญญาโทไม่มีความรู้ภาษาจีน สตาร์ทเงินเดือนหมื่นห้าพันบาท แต่ถ้ามีภาษาจีนเพิ่มได้อีกสามเท่ากลายเป็นบุคลากรที่ต้องการของสังคมมาก จึงอยากแนะแนวลูกหลานเรียนภาษาจีนให้มากที่สุดเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและเส้นทางสายไหม” นายสรสินธุ กล่าว

ภูมิศาสตร์ไทยได้เปรียบต่อเส้นทางสายไหม

ด้านนายชุน ไพลินดีเลิศ นายกสมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน  กล่าวว่า “โครงการหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางสายไหม” (One Belt, One Road) ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มี 150 ประเทศ เข้ามาร่วมมือยิ่งขยายกว้างออกไปส่งผลดีต่อไทยและอาเซียน  ทั้งนี้ภูมิศาสตร์ไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน ตั้งอยู่ในตำแหน่งสำคัญระเบียงทางเศรษฐกิจมีที่ตั้งเป็นภูมิศาสตร์ มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ขนาบข้าง ขณะที่ความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสายไหมสอดคล้องนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยปัจจุบันบริษัทขนาดใหญ่จากจีนเข้าลงทุนในไทย เช่น หัวเว่ย สร้างศูนย์วิจัยนวัตกรรมเพื่อเชื่อมต่อชนบท อาลีบาบา วีแชต เข้ามาขยายฐานการผลิตเพื่อให้ไทยก้าวหน้าในโลกยุคใหม่ไปด้วย รวมถึงโครงการถไฟไทย-จีน  จากคุณหมิง ลาว กรุงเทพฯ จะแล้วเสร็จในไม่ช้า ทำให้การขนส่งรวดเร็วยิ่งขึ้น เห็นได้ชัดว่าไทยมีบทบาทสำคัญหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสายไหมนี้แน่นอน

นายกสมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน  กล่าวด้วยว่า  แม้สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิดส่งผลกระทบต่อทางเศรษบกิจ แต่ยอดการค้าไทย-จีนเติบโตสวนกระแส มีมูลค่าสองหมื่นล้านเป็นประเทศลงทุนในไทยมากที่สุดเช่นกัน สมาชิกสมาคมฯกว่าสองร้อยชีวิตเกิดในจีนแต่มาอยู่ในไทย 20-30 ปี  มีความมั่นใจ ส่งเสริมไทยจีนทั้งการเมือง เศรษฐกิจวัฒนธรรมและสัมผัสความมุ่งมั่นรัฐบาล ประชาชนพัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากขึ้น ประชาชนชาวไทยจีนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมต่อสู้โรคร้ายด้วยกัน  เรายินดีร่วมมือสำคัญทั้งการสู้โรคระบาดและพัฒนาประเทศทุกมิติ ทำให้ขยายความสัมพันธุ์เชิงกว้างและเชิงลึกต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า