Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ยืมเงินแล้วเหนียวหนี้ จะใช้คืนกี่โมงไม่รู้ เรื่องแบบนี้มักจะเกิดมากกับการยืมเงินในกลุ่มเพื่อนฝูง

การขอยืมเงินเพื่อน คนใกล้ชิด เป็นเรื่องที่อาจเกิดได้กับใครหลายคน ทั้งการเป็นฝ่ายไปยืม และฝ่ายที่ถูกยืม เพื่อนคนไหนที่ทวงเงินไม่เก่งความกระอักกระอ่วนมีอยู่แน่นอน

ส่วนฝ่ายที่ยืมเงิน ย่อมคิดว่าประโยชน์หนึ่งคือ ยืมเพื่อนแล้วเพื่อนก็มักจะไม่คิดดอกเบี้ย ซึ่งในทางจิตวิทยา ก็มีแนวโน้มว่าเพื่อนจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั่นเอง

หากการยืมเงินเพื่อนไม่ได้เกิดบ่อยครั้ง และใช้คืนตามเวลา ก็จะไม่ทำให้มิตรภาพสั่นคลอน

แต่ผลการศึกษาล่าสุดที่เพิ่งเผยแพร่ออกมาในปีนี้ โดย Ashley Angelu และทีม เรื่อง “ผลกระทบจากมิตรภาพและปฏิกริยาตอบโต้จากการช่วยเหลือทางการเงิน : จิตวิทยาของการกู้ยืมและการให้ยืม”

ค้นพบว่า การขอยืมเงินจากเพื่อน มีข้อเสียหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อนอาจรู้สึกว่าตัวเองมีสิทธิที่จะตัดสินว่าลูกหนี้ใช้เงินที่ยืมไปทำอะไร และอาจโกรธหากเห็นว่าการใช้เงินนั้นฟุ่มเฟือยหรือไม่จำเป็น

ในการศึกษาที่มีผู้เข้าร่วม 460 คน จากกลุ่มตัวอย่าง มีการถามคำถามเชิงทดลองว่าถ้าให้เงิน 60 ดอลลาร์ (2 พันบาทนิดๆ) ในแบบที่เป็นเงินรางวัลตอบแทนจากการทำงาน หรือเป็นเงินแนวโบนัสของขวัญ แล้วดูว่า คนๆ นั้นนำเงินไปซื้ออะไรระหว่าง หนังสือ กับ วิดีโอเกม คำตอบคือ ไม่ว่าจะใช้อย่างไร คนๆ นั้น จะไม่ถูกตัดสินอะไรเลย

แต่ในทางกลับกันพอเปลี่ยนคำถามว่า เงินนั้นเป็นเงินให้ยืมจากเพื่อน พบว่าผู้คนจะโกรธเพื่อนที่ใช้เงินไปซื้อวิดีโอเกม มากกว่าซื้อหนังสือ

การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการตัดสินมาจากความรู้สึกของผู้ให้ยืมเงินว่าพวกเขาสามารถมีอำนาจควบคุมว่า ลูกหนี้ใช้เงินที่ยืมไปทำอะไร

ผลการศึกษายังไปถึงขนาดที่ว่า หากเพื่อนคืนเงินแล้วก็ตาม แต่มารู้ว่าลูกหนี้ใช้เงินที่ยืมตัวเองไปกับสิ่งที่ถือว่าไร้สาระ พวกเขาก็ยังคงโกรธมากกว่าลูกหนี้ที่เอาเงินไปซื้อสิ่งจำเป็น แปลว่าสิทธิในการควบคุมยังคงมีอยู่ แม้ว่าธุรกรรมการกู้ยืมเงินนั้นจะจบคืนกันไปแล้วก็ตาม

ผลสำรวจพฤติกรรมนี้แสดงให้เห็นว่า สิทธิการตัดสินว่ายืมเงินไปทำอะไร ของคนที่ให้ยืม มีผลต่อมิตรภาพระหว่างเพื่อนได้ เพราะคนให้ยืมอาจรู้สึกดีขึ้นหากรู้ว่าเงินที่ยืมไปนั้นเอาไปใช้ในเรื่องจำเป็น

การสำรวจนี้ยิ่งสะท้อนว่า การให้ใครยืมเงินนั้นก็มีความหมายจากคนให้ยืมเช่นกัน

อย่างไรก็ตามถ้าหลีกเลี่ยงการยืมเงิน ไม่ก่อหนี้ได้จะดีที่สุด เพราะไม่รู้กี่เคสต่อกี่เคสที่เพื่อนต้องมาผิดใจกันเพราะเรื่องยืมเงินกันมานักต่อนัก

 

ที่มา งานศึกษาเรื่อง Friendship fallout and bailout backlash: The psychology of borrowing and lending. เผยแพร่ในวารสารจิตวิทยาผู้บริโภค (Journal of Consumer Psychology)

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า