Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์สประเมินชะตากรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่กำลังพึ่งพาเงินจากต่างชาติมากขึ้น ทำให้ในปี 2564 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อาจอ่อนค่าลงถึง 35% และอาจเป็นผลให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ใช่สกุลเงินหลักของโลกอีกต่อไป
เกิดอะไรขึ้นกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ วันนี้ workpointTODAY จะสรุปสาระสำคัญออกมาเป็น 7 ข้อดังนี้
1. หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ส ออกบทความวิเคราะห์ทิศทางสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อาจอ่อนค่าลงถึง 35% ในสิ้นปี 2564 และอาจไม่ใช่เงินสกุลหลักของโลกอีกต่อไป เพราะสหรัฐฯ กำลังพึ่งพาเงินจากต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะมีผลโดยตรงให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนลง
2. บทความของไฟแนนเชียลไทม์สพิจารณาจากสองปัจจัย คือระดับการออมในประเทศ (domestic saving) และภาวะขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (current account deficit) ในไตรมาสที่ผ่านมา
2. การออมในประเทศ (domestic saving) คือระดับการออมที่เกิดขึ้นจากภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ไปจนถึงภาครัฐ หากระดับการออมในประเทศมีอัตราที่สูงเพียงพอต่อการลงทุนในประเทศ ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงเงินทุนจากการต่างประเทศ
ในกรณีของสหรัฐฯ ไตรมาสที่ผ่านมา ระดับการออมในประเทศอยู่ในภาวะ -1.2% เป็นการติดลบครั้งแรกนับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลก (global financial crisis) เมื่อปี 2551 และเมื่อนำระดับการออมในประเทศไปเทียบเป็นสัดส่วนกับรายได้ประชาชาติ (national income) พบว่าในไตรมาสที่แล้ว คือไตรมาสที่ 2 สัดส่วนดังกล่าวร่วงจากไตรมาสแรกถึง 4.1% ถือเป็นการร่วงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2490
3. ส่วนอีกปัจจัยมาจากภาวะขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (current account deficit) ซึ่งถ้าให้อธิบายง่ายๆ ก็หมายถึง เงินไหลเข้าประเทศมากกว่าไหลออก ซึ่งในกรณีสหรัฐฯ ก็เป็นผลสืบเนื่องจากระดับการออมในประเทศต่ำ จึงต้องมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมากขึ้น
โดยในไตรมาสที่ผ่านมา ภาวะขาดดุลเงินสะพัดเทียบกับจีดีพี ตกลงไปที่ -3.5% ร่วงจากไตรมาสก่อนหน้า 1.4% และเป็นอัตราที่ร่วงลงหนักที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกมา
4. คำถามที่ตามมาคือ ภาวะถดถอยเหล่านี้เป็นผลมาจากการระบาดของโรคโควิด-19 หรือไม่ คำตอบนั้นอาจพูดได้ว่า สถานการณ์การเงินสหรัฐฯ อยู่ในภาวะอ่อนไหวมาตั้งแต่ก่อนการระบาดแล้ว และโรคโควิด-19 จะยิ่งซ้ำเติมให้รุนแรงขึ้น
ย้อนสถิติไปเมื่อปี 2503-2548 ระดับเงินออมในประเทศต่อรายได้ประชาชาติ (GNI) เคยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 7% ก่อนจะตกลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อปี 2554-2562 เหลือเฉลี่ยอยู่ที่ 2.9% ซึ่งสัญญาณที่ร่วงลงมานี้ยังไม่นับรวมการระบาดของโรคโควิด-19 ที่จะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก

5. ก่อนหน้านี้มูลค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ เคยตกหนักมาแล้ว เช่นในช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 1980 ที่เคยตกลงไปถึง 33% ขณะที่ในช่วงปี 2545-2554 มูลค่าของดอลลาร์ก็เคยร่วงไป 28% แต่ในตอนนั้น ระดับการออมในประเทศและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ได้ติดลบรุนแรงเหมือนในตอนนี้
6. ระดับการออมในประเทศที่ต่ำและภาวะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในสหรัฐฯ ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ กำลังเสียสิทธิพิเศษที่เคยเป็นสกุลเงินหลักของโลก เพราะบรรดาผู้ให้กู้จากต่างชาติจะกดดันให้รัฐบาลสหรัฐฯ เลือก ระหว่างการปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่ หรือไม่ก็ต้องปรับมูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งในท้ายที่สุดดูเหมือนว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยอมปรับมูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์ที่จะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง
7. ที่ผ่านมา สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินหลักของโลก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโลกไม่มีทางเลือกว่าจะเงินสกุลใดเป็นหลัก จึงยอมให้ดอลลาร์สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาท แต่ในปัจจุบันเริ่มมีแนวคิดจะใช้สกุลเงินหรือสิ่งมีค่าอื่น เช่น ทองคำหรือสกุลเงินดิจิทัล เป็นตัวอ้างอิงมากขึ้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า