SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมการค้าต่างประเทศเผยยอดการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าช่วง 4 เดือนปี 63 ลดลง 12.08% จากการใช้สิทธิภายใต้ FTA ลดลง 13.30% ขณะที่การใช้สิทธิ GSP เพิ่มขึ้น 3.87% ระบุน่าจับตาสินค้ากลุ่มเครื่องดื่ม อาหาร เกษตรและเกษตรแปรรูป มีการใช้สิทธิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

วันที่ 3 ก.ค.2563 นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) และภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ในช่วง 4 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-เม.ย.) มีมูลค่า 21,340.04 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 12.08% มีสัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ฯ 78.11% ของการใช้สิทธิทั้งหมด แบ่งเป็นการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA มูลค่า 19,546.52 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 13.30% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 77.51% และการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ GSP มูลค่า 1,793.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.87% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 85.25%

กีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ การใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ความตกลง FTA จำนวน 11 ฉบับ ไม่รวมอาเซียน-ฮ่องกง เนื่องจากภาษีนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่เป็น 0% อยู่แล้วก่อนที่จะมีความตกลงฯ และไทย-นิวซีแลนด์ ที่ใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของผู้ส่งออก ที่ลดลง 13.30% เพราะหลายประเทศทั่วโลกยังคงดำเนินมาตรการป้องกันไวรัสโควิด-19 เช่น การปิดเมือง ปิดพรมแดน รวมถึงปิดประเทศชั่วคราว ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตจนไปถึงการขนส่งสินค้า โลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ทำให้กระทบต่อการส่งออกในภาพรวม และทำให้การใช้สิทธิประโยชน์ลดลง แม้หลายสินค้าจะมีการใช้สิทธิลดลง แต่สินค้าในกลุ่มเกษตรและอาหาร มีการใช้สิทธิส่งออกเพิ่มขึ้น รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ทุเรียนสด (อาเซียน-จีน) ผลไม้อื่นๆ เช่น ลำไย เงาะ ลางสาด (อาเซียน-จีน) แชมพู (อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์) เครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง (อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์) เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัว (ไทย-เปรู) ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ก และปลาโบนิโต (ไทย-เปรู) อาหาร-ปรุงแต่งอื่นๆ (อาเซียน) น้ำ รวมถึงน้ำแร่และน้ำอัดลม (อาเซียน) เป็นต้น

ส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ GSP ซึ่งไทยได้รับสิทธิจำนวน 4 ระบบ คือ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์ ที่เพิ่มขึ้น 3.87% มาจากการใช้สิทธิส่งออกไปสหรัฐฯ มากที่สุด มูลค่า 1,644.78 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.34% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 89.63% รองลงมา คือ สวิตเซอร์แลนด์ มูลค่า 85.26 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.84% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 44.05% รัสเซียและเครือรัฐ มูลค่า 55.30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.57% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 85.76% และนอร์เวย์ มูลค่า 8.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.01% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 77.54%

สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิสูง และมีการขยายตัวของการใช้สิทธิสูง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเครื่องดื่ม อาหาร และเกษตรแปรรูป ที่เป็นที่ต้องการในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น อาหารปรุงแต่งอื่นๆ (สหรัฐฯ) น้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ไม่ได้หมักและเติมสุรา (สหรัฐฯ) สับปะรดกระป๋อง (รัสเซียและเครือรัฐเอกราช) พืชและผลไม้ปรุงแต่ง (รัสเซียและเครือรัฐเอกราช) น้ำสับปะรด (สวิตเซอร์แลนด์) ปลาทูน่ากระป๋อง (สวิตเซอร์แลนด์) ข้าว (นอร์เวย์) ผลไม้ปรุงแต่ง (นอร์เวย์) เป็นต้น

ที่มา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า