Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เตรียมจัดประชุมระดมความคิดเห็น “แนวทางการจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอ” เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า เปิดโอกาสให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม หน่วยงานรัฐ เอกชน เข้ามามีส่วนร่วม หลังก่อนหน้าทุกฝ่ายเห็นตรงกันควรมีกองทุนแบบถาวรขึ้นมา เผยจะเร่งรวบรวมผลศึกษา ผลระดมความเห็นชงคณะทำงานชุดปลัดพาณิชย์พิจารณาในเดือน ธ.ค.นี้

วันที่ 4 ก.ย.2563 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมจัดประชุมระดมความเห็นกลุ่มย่อย (focus group) เรื่อง “แนวทางการพัฒนาจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอ : กลไกช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า” ในวันที่ 9 ก.ย.2563 ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษา เรื่อง แนวทางการพัฒนากลไกช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยเชิญภาคเกษตร ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมรับฟังผลการศึกษาและระดมความเห็น ซึ่งการประชุมกลุ่มย่อยครั้งนี้ ยังเปิดกว้างให้ผู้สนใจร่วมรับชมสดและร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านทางออนไลน์ที่ Facebook กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย

ปัจจุบันภาครัฐมีกลไกช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) 2 กลไก คือ กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ และโครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า แต่จากการลงพื้นที่สอบถามความเห็นภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการ พบว่า กลไกดังกล่าวยังมีข้อจำกัดและยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการเท่าที่ควร จึงต้องการให้ปรับปรุงกลไกการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีที่มีอยู่

ทั้งนี้ เมื่อเดือนพ.ย.2562 ที่ผ่านมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการพัฒนากองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน มีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งการทำงานมีความคืบหน้ามาโดยตลอด โดยผลจากการรับฟังความเห็น ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เสนอว่ารัฐบาลควรจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งในเบื้องต้น กรมบัญชีกลางแนะนำว่า การตั้งกองทุนจะต้องจัดทำเป็น พ.ร.บ. ตามแนวทางที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 ซึ่งจะต้องระบุรายละเอียดที่สำคัญ เช่น โครงสร้างการบริหารทุนหมุนเวียน แหล่งเงินทุนและแหล่งรายได้ การลดความซ้ำซ้อนกับกองทุนหมุนเวียนที่มีอยู่ รวมถึงเป้าหมายและประโยชน์ที่ได้รับต้องชัดเจน เป็นต้น

นางอรมน กล่าวว่า ระหว่างนี้จนถึงเดือนพ.ย.2563 กรมฯ จะรวบรวมผลการศึกษาและผลการระดมความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมนำเสนอคณะทำงานฯ ในเดือนธ.ค.2563 เพื่อพิจารณาแนวทางการจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า