SHARE

คัดลอกแล้ว

ขณะที่นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร เดินทางเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง 75 ปี ความสัมพันธ์ไทยกัมพูชา

ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน รัฐบาลกัมพูชาเพิ่งจะลงนามความร่วมมือครั้งสำคัญกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ระหว่างการเดินทางเยือน 3 ชาติอาเซียนของผู้นำจีน ท่ามกลางสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ที่กำลังดุเดือดขึ้นทุกขณะ

ความร่วมมือดังกล่าวคือการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการขุดคลองฟูนันเตโช ซึ่งเป็นเมกะโปรเจกต์ของกัมพูชาที่ตั้งใจจะสร้างเส้นทางขนส่งทางน้ำจากกรุงพนมเปญไปยังท่าเรือติดอ่าวไทย เพื่อเปิดทางออกทางทะเล

โครงการนี้ถูกคัดค้านอย่างหนักจากเวียดนาม จนกลายเป็นรอยร้าวระหว่างสองประเทศ เนื่องจากมีความกังวลว่าเวียดนามจะได้รับผลกระทบจากโครงการนี้ โดยเฉพาะผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เพราะก่อนหน้านี้กัมพูชาจะต้องพึ่งพาการขนส่งผ่านท่าเรือขอเวียดนามเป็นหลัก หากโครงการขุดคลองจากกรุงพนมเปญมายังอ่าวไทยสำเร็จ เวียดนามจะเสียรายได้มหาศาลจากการเก็บค่าผ่านทาง

ยังไม่รวมถึงข้อกังวลเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะตามมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่จะเกิดกับแม่น้ำโขงซึ่งเวียดนามกลัวว่าหลังขุดคลองฟูนันเตโชเสร็จแล้วจะทำให้กระแสน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนไปกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของชาวเวียดนามที่อยู่ปลายน้ำ

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งข้อกังวลสำคัญ ที่ประเทศไทยเองก็ควรจะต้องหยิบมาพิจารณา คือมีบางมุมมองชี้ว่า คลองฟูนันเตโชอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างอิทธิพลของจีนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและอ่าวไทย โดยเฉพาะการที่จีนเป็นเจ้าของเงินทุนก่อสร้างโครงการนี้ อาจทำให้จีนเข้ามาใช้ฐานทัพเรือในภูมิภาคได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

คลองฟูนันเตโชโครงการแลนด์บริดจ์ของกัมพูชา

โครงการขุดคลองฟูนันเตโช เป็นเมกะโปรเจกต์สำคัญที่นายกรัฐมนตรีฮุน มาเน็ต เคยประกาศว่า ตั้งใจจะให้เป็นโครงการชาตินิยมที่จะสร้างประโยชน์ให้กับชาวกัมพูชาทุกคนทั้งในด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยวการขนส่งและการลงทุนจากต่างชาติซึ่งจะช่วยสร้างงานให้กับชาวกัมพูชาจำนวนมากลดการพึ่งพาการขนส่งผ่านเวียดนามช่วยลดต้นทุนค่าคนส่งได้มหาศาล

โครงการนี้ถูกวางงบประมาณไว้ 1,700 ล้านดอลลาร์ (ราว 57,000 ล้านบาท) ในการดำเนินการขุดคลองระยะทาง 151.6 กิโลเมตร จากกรุงพนมเปญ ไหลผ่านจังหวัดตาแกว (Takeo) ไปเชื่อมกับแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงในจังหวัดกันดาล (Kandal) ซึ่งไหลลงอ่าวไทยทางใต้ของกัมพูชา

โดยบริเวณดังกล่าวที่เป็นจุดที่เส้นทางจากคลองฟูเตนันโชไหลลงสู่อ่าวไทย ถือเป็นจุดเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์สำคัญ ที่มีแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงในกัมพูชาไหลลงสู่อ่าวไทย และไปบรรจบกับดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม 

 

ทุนจีนขยายอิทธิพลในอาเซียน

แต่ปัญหาไม่ได้อยู่แค่นั้นด้วยความที่โครงการนี้ต้องใช้งบประมาณมหาศาลซึ่งเกินกว่าความสามารถที่รัฐบาลกัมพูชาจะทำได้จึงจำเป็นต้องขอให้จีนซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญของกัมพูชาเข้ามาช่วยสนับสนุนทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าการที่จีนเข้ามาข้องเกี่ยวเป็นนายทุนให้กับเมกะโปรเจกต์ของกัมพูชาจะยิ่งทำให้จีนมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม กระแสความกังวลดังกล่าวเริ่มซาลงในช่วงปลายปี 2567 เพราะหลังจากที่โครงการขุดคลองฟูนันเตโช เริ่มมาแค่ไม่กี่เดือน ก็ต้องประสบปัญหา เนื่องจากรัฐบาลจีนมีนโยบายลดขนาดการลงทุนในต่างประเทศ เพราะเผชิญภาวะเศรษฐกิจซบเซา ซึ่งรวมถึงการลงทุนในกัมพูชาด้วย ส่งผลให้โครงการขุดคลองฟูนันเตโชของกัมพูชาสะดุดลง

ท่ามกลางกระแสข่าวมากมายว่าไม่ใช่แค่เพราะจีนประสบปัญหาทางเศรษฐกิจแต่อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลจีนตัดสินใจลดการสนับสนุนโครงการขุดคลองฟูนันเตโชเป็นเพราะส่วนหนึ่งจีนเองก็ไม่ได้มั่นใจเกี่ยวกับความชัดเจนของโครงการนี้โดยรัฐบาลจีนเคยออกมาเปิดเผยเองว่าไม่เคยมีการตกลงสัดส่วนการลงทุนอย่างชัดเจนกับกัมพูชาเลย

นำไปสู่การเจรจากันอีกครั้ง จนประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้นำจีนได้ลงนามความร่วมมือกับกัมพูชา ช่วยสนับสนุนทางการเงิน 1,156 ล้านดอลลาร์ (ราว 39,000 ล้านบาท) ให้กับโครงการขุดคลองฟูนันเตโช

ส่งผลให้มีการตั้งข้อสังเกตขึ้นมาว่า เงินสนับสนุนที่จีนตกลงว่าจะให้ความช่วยเหลือกัมพูชาซึ่งสูงถึง 1,156 ล้านดอลลาร์ ครองสัดส่วนมากกว่า 60% ของงบประมาณที่รัฐบาลกัมพูชาวางไว้สำหรับโครงการขัดคลองฟูนันเตโช 1,700 ล้านดอลลาร์ทำให้เกิดคำถามตามว่าการที่จีนเข้ามาลงทุนในสัดส่วนมากขนาดนี้จะทำให้จีนมีอิทธิพลเหนือเส้นทางเดินเรือเส้นนี้มากกว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่

 

ไทยอยู่ตรงไหนในประเด็นนี้

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นสิ่งที่ต้องไม่ลืมคืออ่าวไทยถือเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์สำคัญของภูมิภาคทำให้หนึ่งในข้อกังวลสำคัญที่เกิดขึ้นคือการสร้างคลองฟูเตโชอาจทำให้จีนสามารถอ้างสิทธิ์ส่งเรือรบมาปรากฏในบริเวณนี้ได้มากขึ้นซึ่งถือเป็นความกังวลทางยุทธศาสตร์ที่คงไม่สามารถมองข้ามได้และแน่นอนว่าไทยเองก็ควรจะต้องตระหนักเกี่ยวกับปัญหานี้ด้วยเช่นกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังถูกมองว่าเป็นพื้นที่ที่สองมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ พยายามแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาค ขณะที่หลายประเทศตอนนี้ก็กำลังถูกดึงเข้าสู่สมรภูมิสงครามการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ การสร้างสมดุลใน

ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองมหาอำนาจ ไม่ให้ถูกมองว่าเป็นการเอียงเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากจนเกินไป จึงเป็นอีกโจทย์สำคัญที่ชาติอาเซียน รวมถึงไทยเองจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า