SHARE

คัดลอกแล้ว

การประชุม G20 ซึ่งกำลังจะเปิดฉากขึ้นในอินโดนีเซีย มีอีกวาระสำคัญที่ต้องจับตา คือการพบกันตัวต่อตัวระหว่าง โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้นในวันจันทร์นี้ (14 พ.ย.)

การพบหน้ากันระหว่างไบเดนและสี เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้นำทั้งสองเคยหารือผ่านโทรศัพท์กันมาแล้ว 5 ครั้ง นับตั้งแต่ที่ไบเดนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2564 และเกิดขึ้นในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ตกต่ำลงจนถึงขีดสุด หลังจากนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนสหรัฐฯ เดินทางเยือนไต้หวัน เมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา 

การเดินทางเยือนไต้หวันของนางเพโลซีได้สร้างความไม่พอใจให้กับจีน ซึ่งมองว่าเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของจีน นำไปสู่การตอบโต้โดยการซ้อมรบด้วยกระสุนจริงรอบเกาะไต้หวัน ทำให้สถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันลุกเป็นไฟ ในขณะที่สหรัฐฯ เองก็ไม่อยู่เฉย ออกมาตรการควบคุมการส่งออกชิปเซมิคอนดักเตอร์ และอุปกรณ์ผลิตชิปไปยังจีน ยิ่งการเติมเชื้อไฟให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง 

การพบกันในครั้งนี้ จึงถูกมองว่าเรื่องไต้หวัน จะถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญในการพูดคุยระหว่างสองผู้นำ รวมถึงประเด็นที่เป็นความขัดแย้งต่างๆ ทั้งท่าทีของจีนในสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และการทดสอบขีปนาวุธอย่างต่อเนื่องของเกาหลีเหนือ ตลอดจนประเด็นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 

ทำเนียบขาวระบุในแถลงการณ์ว่า ผู้นำทั้งสองจะหารือกันถึงความพยายามในการรักษาและกระชับแนวทางการสื่อสารระหว่างทั้งสองประเทศ และการทำงานร่วมกันในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์สอดคล้องกันของทั้งสองฝ่าย 

อย่างไรก็ตาม ทำเนียบขาวกลับไม่ได้แสดงท่าทีว่ามีความคาดหวังถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังการหารือตัวต่อตัวระหว่างไบเดนและสีในครั้งนี้ โดยนายเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า คาดว่าจะไม่มีแถลงการณ์ร่วม หรือข้อตกลงใดๆ เกิดขึ้นจากการพบกันของสองผู้นำ เพียงแต่อาจช่วยให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจถึงขอบเขตของกันและกันมากขึ้น 

ขณะที่นักวิเคราะห์ก็มองไปในทิศทางเดียวกันว่า การพบหน้ากันระหว่างไบเดนและสี อาจส่งผลลัพธ์เชิงบวกในแง่ของความเข้าใจจากการสื่อสารโดยตรง แต่อาจจะไม่ถึงขั้นที่จะทำให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีได้รับการรื้อฟื้นและพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน 

โดย ฉือ หยินหง ศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยเหรินหมินของจีน อธิบายว่า “การคาดหวังถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ยั่งยืนเป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายไปมาก เพราะจีนและสหรัฐฯ อยู่ในสถานะของคู่แข่งและการเผชิญหน้ากันในทุกด้าน จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะหวังว่าประเด็นสำคัญๆ จะถูกหยิบขึ้นและชี้แจงได้ทั้งหมด” 

ทางด้านสก็อตต์ เคนเนดี ที่ปรึกษาอาวุโสด้านธุรกิจและเศรษฐกิจจีนจากศูนย์ยุทธศาสตร์และการศึกษาระหว่างประเทศ (CSIS) ซึ่งเพิ่งเดินทางเยือนจีนเมื่อไม่นานมานี้ กล่าวว่า สถานะความสัมพันธ์ระหว่างปักกิ่งและวอชิงตันตอนนี้ อยู่ในจุดที่ทั้งสองฝ่ายต่างโทษกันไปมา และพวกเขาต่างก็เชื่อว่าตนเองอยู่ในจุดที่เหนือกว่าในสถานการณ์นี้ 

“จีนคิดว่าพวกเขากำลังชนะ ขณะที่สหรัฐฯ เองเชื่อว่าพวกเขาก็กำลังชนะเช่นกัน พวกเขาจึงเต็มใจที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ และคิดว่าอีกฝ่ายจะไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสำคัญอะไรได้” เคนเนดีระบุ พร้อมเสริมว่า สิ่งเหล่านี้ยิ่งเป็นการลดโอกาสที่จะได้เห็นการเปลี่ยนอะไรจากการพบกันของสองผู้นำ 

 

ที่มา CNN, The New York Times, Reuters

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า