SHARE

คัดลอกแล้ว

กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ G7 ได้ข้อตกลงในการเก็บภาษีบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกเพิ่ม ขณะเดียวกันก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยกลุ่มรณรงค์ว่าข้อเสนอยังคงสงวนท่าทีมากเกินไป

วันที่ 5 มิถุนายน 2564 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ G7 ประกาศผลการพบปะหารือกันในลอนดอน โดยมีสหราชอาณาจักรเป็นเจ้าภาพ เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันในประเด็นการต่อสู้กับการเลี่ยงภาษีของบริษัทยักษ์ใหญ่ โดยได้มติว่าบริษัทข้ามชาติจะต้องจ่ายภาษีให้แต่ละประกาศประเทศที่มีการทำการอย่างน้อย 15%

กลุ่ม G7 ประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา อิตาลี และญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีสหภาพยุโรปร่วมประชุมด้วย โดยที่ประชุมคาดการณ์ว่ารายได้จากส่วนนี้จะทำให้ประเทศต่าง ๆ สามารถนำมาจ่ายหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นระหว่างวิกฤตกาลโควิด-19 ได้

รัฐบาลต่าง ๆ จับตาต้องการจะเก็บภาษีบริษัทระดับโลกที่ทำการในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกและทำรายได้มหาศาล แต่เสียภาษีในสัดส่วนน้อยหากเทียบกับการประกอบธุรกิจอื่น ๆ ด้วยการตั้งสาขาในต่างประเทศที่มีนโยบายเก็บภาษีต่ำ เช่น อเมซอน เฟซบุ๊ก เป็นต้น

การตกลงครั้งนี้ G7 เชื่อว่าจะทำให้บริษัทเหล่านี้ต้องเสียภาษีมากขึ้นในประเทศสมาชิกที่บริษัทเหล่านี้ไปขายสินค้าหรือบริการ มากกว่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและเมื่อมีอัตราภาษีที่เป็นที่เห็นพ้องกันทั่วโลกแล้วก็จะทำให้ไม่มีประเทศใดลดภาษีของตนตัดหน้าชาติอื่นเพื่อดึงดูดการลงทุน

เบื้องต้น บริษัทข้ามชาติแถวหน้า โดยเฉพาะ ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีให้การตอบสนองในทางบวกต่อกฎใหม่ๆที่ออกมา

อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้รณรงค์อย่างอ็อกซ์แฟม (Oxfam) กล่าวว่าอัตราภาษีที่กำหนดขึ้นนั้นน้อยเกินกว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงใดได้และจะยังทำให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ได้รับประโยชน์จากการประกอบการในประเทศต่าง ๆ อยู่ดี โดยกาเบรียลลา บูเชอร์ ผู้อำนวยการองค์กรอ็อกซ์แฟมกล่าวว่าการที่ G7 อ้างว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีครั้งใหญ่ของโลกนั้นเป็นเรื่องเกินจริง เนื่องจากอัตราภาษีที่ตั้งไว้ก็ไม่ได้ต่างกับอัตราภาษี ในประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสวรรค์แห่งการเลี่ยงภาษี (Tax Heaven) ตั้งกัน เช่น ไอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ และสิงคโปร์

นอกจากนี้ ผอ.อ็อกซ์แฟมยัง กล่าวว่าข้อตกลงครั้งนี้ยังไม่เป็นธรรมเนื่องจากจะให้ประโยชน์เพียงแค่ในประเทศที่เป็นสมาชิก G7 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทข้ามชาติใหญ่ ๆ โดยบริษัทเหล่านี้ก็นำผลกำไรจากประเทศที่มีรายได้น้อยกว่ามาจ่ายภาษีให้ประเทศร่ำรวยอยู่ดี

ขณะที่ อเล็กซ์ คอร์แบม ตัวแทนองค์กรเครือข่ายความเป็นธรรมด้านภาษี ระบุว่าความคิดริเริ่มในการเก็บภาษีบริษัทใหญ่ขั้นต่ำ 15% เป็นสิ่งที่ดีอย่างไรก็ดีควรคิดกลไกที่จะทำให้เม็ดเงินนี้กระจายให้ชาติต่าง ๆ ทั่วโลกได้ประโยชน์ด้วย

อย่างไรก็ดี ข้อตกลงนี้จะถูกหยิบมาพูดคุยอีกครั้งในการประชุม G20 ซึ่งรวมประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น จีน และ อินเดีย เข้าด้วย

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า