SHARE

คัดลอกแล้ว

การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัย วิเคราะห์ และให้คำปรึกษาระดับโลก ออกมาเผยแนวโน้มเทคโนโยี 10 ข้อ ที่มีความสำคัญต่อภาครัฐ เพื่อรับมือความเสี่ยงทางดิจิทัล และปรับเปลี่ยนบริการภาครัฐให้ทันสมัย  ดังนี้ 

Adaptive Security

การ์ทเนอร์คาดว่าในปี 2568 นี้ 75% ของผู้บริหารไอทีหรือ CIO ในองค์กรภาครัฐ จะมีหน้าที่รับผิดการรักษาความปลอดภัยโดยตรง ซึ่งไม่ใช่แค่ระบบไอทีเท่านั้น แต่รวมถึงเทคโนโลยีทั้งหมด การผสานรวมข้อมูลองค์กร ความเป็นส่วนตัว ซัพพลายเชน ระบบไซเบอร์และกายภาพ (Cyber-Physical Systems หรือ CPS) และระบบคลาวด์ 

Cloud-Based Legacy Modernization

แม้แต่รัฐบาลของประเทศที่เป็นผู้นำ ก็ยังอยู่ในความกดดันให้รื้อระบบเก่า และการจัดเก็บฐานข้อมูล เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีและแอปพลิเคชันให้ทันสมัย CIO สามารถใช้กลยุทธ์ การจัดหาที่ยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive Sourcing Strategies) เพื่อระบุขอบเขตที่รูปแบบ “As-A-Service” ช่วยจัดสรรทรัพยากรภายในและจัดลำดับความสำคัญของภารกิจ 

ซึ่งการ์ทเนอร์คาดว่าภายในปี 2568 กว่าครึ่งของงานที่ต้องทำขององค์กรภาครัฐฯ มากกว่า 75% จะใช้ผู้ให้บริการคลาวด์แบบไฮเปอร์สเกล

Hyperautomation

การ์ทเนอร์ ระบุว่าภายในปี 2569 องค์กรภาครัฐ 60% จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบอัตโนมัติในกระบวนการทำงานของรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 35% ในปี 2565 โดยการริเริ่มโครงการไฮเปอร์ออโตเมชั่น (Hyperautomation) ใหม่ๆ โดย CIO ต้องจัดโครงการใหม่ๆ ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ขณะเดียวกันยังต้องจัดสรรค่าใช้จ่ายการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

AI for Decision Intelligence

ภายในปี 2567 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า 60% ของการลงทุน AI และการวิเคราะห์ข้อมูลของรัฐบาล จะส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจและผลลัพธ์การปฏิบัติงานแบบเรียลไทม์ ซึ่ง CIO ต้องพร้อมสำหรับการนำ AI มาใช้โดยตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจ และเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ

Data Sharing as a Program

การใช้ข้อมูลร่วมกัน (Data sharing) ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรภาครัฐ นั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการสำหรับการนำข้อมูลมาใช้และวิเคราะห์ 

ภายในสิ้นปี 2566 นี้ การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า 50% ขององค์กรภาครัฐ จะจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจด้านแบ่งปันข้อมูลอย่างจริงจัง รวมถึงมาตรฐานโครงสร้างข้อมูล ซึ่ง CIO ควรโฟกัสไปที่เป้าหมายที่เป็นมูลค่าเพิ่มมาและวัตถุประสงค์ของภารกิจในช่วงกำลังพัฒนาโครงการ Data-Sharing

Total Experience หรือ TX 

การสร้างประสบการณ์ภาพรวมของรัฐบาลให้ดีพอ (Total Experience หรือ TX) จะช่วยลดความคลุมเครือในกระบวนการทำงานลงถึง 90% เพิ่มความพึงพอใจ ทั้งประสบการณ์ของประชาชน (CX) และประสบการณ์ของพนักงานหรือข้าราชการ (EX) ขึ้นถึง 50% 

โดยรัฐบาลต้องสร้างการทำงานร่วมกันและสอดคล้องกันระหว่าง ประสบการณ์ของประชาชน พนักงานข้าราชการ และประสบการณ์ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มร์มรัฐบาล ที่แต่เดิมแยกกันอยู่ ให้สอดคล้องกัน เป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อสนับสนุนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของรัฐบาล 

Digital Identity Ecosystems

การ์ทเนอร์คาดว่า ภายในปี 2567 มากกว่า 1 ใน 3 ของหน่วยงานภาครัฐระดับประเทศ จะใช้วอลเล็ตแบบระบุอัตลักษณ์บุคคล ที่ยังมาพร้อมกับความคาดหวังว่าจะต้องมีความปลอดภัย มีนวัตกรรมทันสมัย และสามารถนำไปใช้ในภาคส่วนอื่นๆ รวมถึงการเดินทางข้ามพรมแดน 

ซึ่งหากภาครัฐต้องการบรรลุเป้าหมายนี้ ต้องทำให้ข้อมูลอัตลักษณ์ดิจิทัลเข้าถึงได้ง่าย และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายหลากหลายที่เป็นผู้ใช้ปลายทางรวมถึงผู้ให้บริการต่าง ๆ

Case Management as a Service (CMaaS) 

รัฐบาลควรออกแบบ และพัฒนาโซลูชั่นการจัดการให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถแชร์ไปยังหน่วยงาน อื่น ของรัฐบาลได้ 

ซึ่งการ์ทเนอร์คาดว่าภายในปี 2567 หน่วยงานรัฐฯ ที่ใช้แนวทางการจัดการในลักษณะนี้ จะปรับใช้ฟีเจอร์ใหม่ได้เร็วกว่าหน่วยงานอื่นที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกันถึง 80% 

Composable Government Enterprise

รัฐบาลสามารถทลายกรอบการทำงานแบบเก่า โดยใช้สถาปัตยกรรมที่สามารถนำมาประกอบกันได้ (Composable Architecture) ซึ่งการปรับปรุงพัฒนาและเพิ่มความทันสมัยให้กับระบบอย่างต่อเนื่อง ทำได้โดยการนำวิธีการแบบโมดูลาร์ที่แยกเป็นส่วน ๆ และนำมาประกอบเข้าด้วยกันได้ มาใช้กับสถาปัตยกรรมสร้างแอปพลิเคชัน 

 Sovereign Cloud 

ความปั่นป่วน ตลอดจนความกังวลเรื่องการเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาลที่เกินขอบเขต ส่งผลให้มีความต้องการอธิปไตยบนคลาวด์ (Sovereign Cloud) มากขึ้น รัฐบาลจึงต้องพยายามมากขึ้นเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เปิดเผย โดยใช้อำนาจศาลและการเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาลต่างประเทศ 

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 มากกว่า 35% ของแอปพลิเคชันรัฐรุ่นเก่า ๆ จะถูกแทนที่ด้วยโซลูชันต่างๆ ที่พัฒนาด้วยแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันแบบ Low-Code และดูแลโดยทีมงานแบบผสมผสาน (Fusion Team) 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า