SHARE

คัดลอกแล้ว

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 2.3 ซึ่งฟื้นตัวต่ำกว่าคาดการณ์ จึงปรับลดประมาณการจีดีพี ทั้งปีเหลือ 2.6

วันนี้ (18 พ.ย.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับค่าเงินบาทแข็ง กระทบยอดการส่งออกไทย ในไตรมาส 3 ไม่ขยายตัว และหากไม่คำนวณทองคำ น้ำมัน และสินค้าเกษตร จะติดลบถึงร้อยละ 3.3 ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงการลงทุน และการบริโภคภาคเอกชน

อีกทั้งการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า กระทบการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐให้เลื่อนออกไป ส่งผลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ขยายตัว ร้อยละ 2.4 ซึ่งฟื้นตัวดีขึ้น เมื่อเทียบจีดีพี ไตรมาส 2 ที่ร้อยละ 2.3 ทำให้ให้จีดีพีไทย 9 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 2.5

พร้อมระบุว่า จีดีพีไตรมาส 3 ขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ เนื่องจาก มาตรการกีดกันการค้าที่รุนแรง ส่งผลให้ สศช. ปรับลดประมาณการณ์ขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งปี จากกรอบเดิมร้อยละ 2.7-3.2 เหลือร้อยละ 2.6 โดยจีดีพีไตรมาสที่ 4 ต้องขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.8 และคาดการณ์จีดีพี ปีหน้าจะขยายตัว ที่ร้อยละ 3.2

เลขาธิการ สศช. กล่าวอีกว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการ ชิมช้อปใช้ ช่วยพยุงการบริโภคภาคเอกชน แต่สถานการณ์เศรษฐกิจโลก ยังไม่น่าไว้วางใจ จึงสนับสนุนให้ รัฐบาล ใช้เครื่องมือการเงิน การคลัง ทุกมาตรการออกมาใช้ ทั้งมาตรการลักษณะแจกเงินและ แนวคิดการนำเงินกองทุนประกันสังคมมาใช้เป็นเครื่องมือพยุงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งสศช.จะนำเสนอปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ในการประชุม ครม.เศรษฐกิจ ศุกร์นี้ (22 พ.ย.)

ขณะที่ นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กรณี สศช. แถลงข่าวเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 2562 ว่าขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี ดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส 2 ปี 2562 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยภาคการส่งออก ยังคงได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าที่ยืดเยื้อและสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมทองคำหดตัวลงนอกจากนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีบทบาทสูงในเศรษฐกิจไทยก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกและการส่งออกที่ชะลอลงเช่นเดียวกัน

ส่วนของการลงทุนใหม่จากการประกอบกิจการใหม่และการขยายกิจการของโรงงานเดิมพบว่า ในช่วง 1 มกราคม – 12 พฤศจิกายน 2562 มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นในกิจการโรงงาน 431,216 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 36.3 สะท้อนว่าภาพรวมการผลิตในอนาคตมีแนวโน้มขยายตัว และแม้ว่าในช่วง 1 มกราคม – 12 พฤศจิกายน 2562 จะมีกิจการโรงงานจำนวน 1,391 โรงงานที่ยื่นขอปิดกิจการ  แต่การขอยื่นประกอบกิจการโรงงานใหม่มีถึง 2,889 โรงงาน มากกว่าปิดกิจการร้อยละ 107 และโรงงานที่เปิดอยู่เดิม ก็ยังมีการขยายกิจการเพิ่มเติมอีกจำนวน 928 โรงงาน

ขณะเดียวกัน ในส่วนของแรงงานถึงแม้ว่ามีการเลิกจ้างงานจากการปิดกิจการจำนวน 35,533 คน แต่มีการจ้างงานจากการประกอบกิจการใหม่ 84,033 คน และมีการจ้างงานเพิ่มจากการขยายโรงงานอีกจำนวน 84,704 คน

สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวของไทยยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เข้ายังประเทศไทยในไตรมาส 3 ปี 2562 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 7.2 เร่งขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2562 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ในด้านการบริโภคภาคเอกชน รายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ (ที่หักรายได้พิเศษ) ในไตรมาส 3 ปี 2562 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 สูงขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2562 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.5  ซึ่งสะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวได้

สำหรับเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป คาดว่าจะยังคงได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกต่อเนื่อง ในไตรมาส 4 ปี 2562 และปี 2563 ขณะเดียวกันก็มีเครื่องชี้ที่สะท้อนแนวโน้มในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทย  อาทิ รายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ (ที่หักรายได้พิเศษ) ล่าสุด ในเดือนตุลาคม 2562 ที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.0 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9

ทั้งนี้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้หน่วยงานของกระทรวงการคลังติดตามสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดและเร่งดำเนินการขับเคลื่อนชุดมาตรการ ด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วย มาตรการ “ชิมช้อปใช้เฟส 1” มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ผ่านโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรการบรรเทาค่าครองชีพสำหรับสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง มาตรการพักหนี้กองทุนหมู่บ้านของ ธ.ก.ส. และมาตรการกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ซึ่งประกอบด้วย มาตรการ “ชิมช้อปใช้เฟส 2” และมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ และล่าสุดมาตรการ “ชิมช้อปใช้เฟส 3” เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 รวมถึงการเร่งรัดการเบิกจ่ายการลงทุนของรัฐวิสาหกิจซึ่งคาดว่าจะทำให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 100,000 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2562 นี้ เพื่อให้มาตรการต่าง ๆ ที่เริ่มในไตรมาส 3 สามารถส่งผลได้อย่างเต็มที่ในไตรมาส 4 โดยกระทรวงการคลังจะประเมินสถานการณ์และแนวโน้มของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะพิจารณามาตรการดูแลเศรษฐกิจที่เหมาะสมต่อไป

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า