SHARE

คัดลอกแล้ว

ใช่จะมีแค่เพียงเทรนด์ “เศรษฐกิจ AI” เป็นขุมทองใหม่ของโลก ยังมีเทรนด์ “เศรษฐกิจสีเขียว” ที่เป็นอีกหนึ่งโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่เช่นกัน

ถ้าถามว่าตอนนี้โอกาสการลงทุนทางเศรษฐกิจใหม่ๆของไทย คืออะไร ทุกสำนักวิจัยทางเศรษฐกิจพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “เศรษฐกิจสีเขียว” อย่างการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน การลงทุนอาหารเพื่ออนาคต การลงทุนด้านการกำจัดขยะ การสร้างบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น

แน่นอนว่าเมื่อเศรษฐกิจสีเขียวเป็นโอกาสของประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่าตลาดแรงงานของภาคธุรกิจสีเขียวจะมีกลุ่มงานอาชีพที่น่าจับตามองในปี 2024 อ้างอิงจากรายงาน เจาะเทรนด์โลก 2024 โดย TCDC ระบุว่า 5 ประเภทงานสายสีเขียวหรือ Green Job นี้จะเป็นเทรนด์ในปีหน้า

1. ผู้จัดการฝ่ายความยั่งยืน (Sustainability Manager)

ผู้จัดการด้านความยั่งยืน หรือหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืน มีหน้าที่วิเคราะห์ผลกระทบทางนิเวศวิทยาและสังคมของบริษัท และมีบทบาทพัฒนากลยุทธ์ในการปรับโมเดลธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการผลิตแบบหมุนเวียน และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบให้กับองค์กร

2. ช่างเทคนิคกังหันลม (Wind Turbine Technician)

บทบาทนี้มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตั้งใช้งาน บำรุงรักษา และซ่อมแซมกังหันลม ข้อมูลจากสมาคมพลังงานโลก (World Wind Energy Association : WWEA) บอกว่ามูลค่าธุรกิจกังหันลมในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2021 มีกังหันลมที่มีกำลังการผลิตรวม 97.5 กิกะวัตต์ได้ถูกติดตั้งทั่วโลก

3. นักนิเวศวิทยา (Ecologist)

นักนิเวศวิทยาทำหน้าที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพืช สัตว์ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม โดยสำรวจผลกระทบที่ต่างฝ่ายมีต่อกัน รวมถึงศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เพื่อทำความเข้าใจสาเหตุและพัฒนาวิธีการแก้ไข

4. ที่ปรึกษาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Consultant)

ตำแหน่งนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น แผงโซลาร์เซลล์ เนื่องด้วยการเพิ่มกำลังการผลิตหมุนเวียนทั่วโลกในปี 2020 ขยายตัวมากกว่า 45% จากปี 2019 ที่ปรึกษาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือลูกค้า ทั้งเชิงพาณิชย์และเอกชนในการเลือกระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตามความต้องการ

5. ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (Environtmental Health and Safety Specialist)

ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่ตรวจสอบและติดตามเทคโนโลยี เครื่องจักร และกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดโดยรัฐบาลระดับชาติ และนานาชาติ และเป็นไปตามมาตรฐานของธุรกิจ โดยจำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับนโยบาย และข้อกำหนดในหลายอุตสาหกรรม

ใครอยากเป็นมนุษย์ทองคำในตลาดแรงงานสายนี้ หรือกำลังวางแผนการเรียนเพื่อมีหน้าที่การงานที่มั่นคงปลอดภัยได้ยาวๆในโลกที่ผันผวนเปลี่ยนเร็วแบบนี้ ก็อย่าเพิ่งเมินหน้าหนี หรือเอียนเวลาได้ยินธุรกิจหรือใครๆ พากันแห่พูดเรื่อง “ความยั่งยืน” เพราะสุดท้ายการมีความรู้ความเข้าใจด้านความยั่งยืน (Sustainability Literacy) จะเป็นประโยชน์อย่างมาก

เพราะกฎกติกาโลกกำหนดให้ทุกธุรกิจต้องหันมาปรับปรุงประสิทธิภาพทำธุรกิจที่ไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศ ต้องปรับปรุงการใช้พลังงานและทรัพยากร ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดของเสียในกระบวนการผลิต และมีหน้าที่ต้องร่วมรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ตอนนี้รัฐบาลในหลายประเทศเลยหันมาส่งเสริมแนวคิดนี้ในสถานการศึกษา ปรับปรุงรายวิชาในโรงเรียน และมหาวิทยาลัย ให้มีหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสภาพภูมิอากาศในโปรแกรมการศึกษาแล้ว จะเห็นว่าระบบการศึกษาในต่างประเทศเริ่มหันมาสร้างหลักสูตรใหม่ ๆ ที่มุ่งแก้วิกฤตเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และหลักสูตรพวกนี้พอไปดูรายละเอียด ไม่ได้สอนแค่ออกไปทำมาหาเลี้ยงชีพ แต่สอนกันในระดับปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติกันเลยทีเดียว

เมื่อต้นปีนี้คณะกรรมาธิการยุโรปออกข้อเสนอให้นำเรื่องความยั่งยืนมาเป็นส่วนหลักและจำเป็นของระบบการศึกษา รวมถึงการฝึกอบรมผู้คนในด้านนี้เพิ่มขึ้น ยังมีตัวอย่างจากประเทศสิงคโปร์ ที่กระทรวงศึกษาธิการบ้านเขาเปิดตัวโครงการ Eco Stewardship เป็นกิจกรรมด้านการศึกษาที่จะส่งเสริมความยั่งยืนในโรงเรียน และเป็นส่วนหนึ่งของแผน Singapore Green Plan 2030

ในอเมริกามีการจ้างงานในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นถึง 237% ตัวเลขสูงขนาดนี้ไม่ได้ตาฝาด เป็นการเพิ่มที่นับรวมตั้งแต่ปี 2017 – 2022 สะท้อนให้เราเห็นการเติบโตของเศรษฐกิจสีเขียว ยิ่งถ้าไปเทียบกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและก๊าซธรรมชาติส่วนนี้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 19%

ขณะที่ถ้าดูในรายงาน Global Green Skills โดย LinkedIn ระบุว่า มีการจ้างงานคนที่มีความรู้และทักษะสีเขียวเพิ่มขึ้น 6% โดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิก ที่มีความต้องการตำแหน่งอย่าง “ผู้จัดการด้านความยั่งยืน” เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปี 2015-2021 โดยในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 40% จีน 33% และออสเตรเลีย 24%

นอกจากนี้ กลุ่มคนทำงานที่มีพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นักชีววิทยา นักอุทกวิทยา และนักชีวเคมี จะมีบทบาทสำคัญในการประยุกต์ความรู้ตัวเองมาช่วยจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

ตอนนี้ใครที่มีความรู้ มีทักษะสีเขียว หรือลงทุนเสริมความรู้ด้าน Green Skill เพิ่มเข้ามาได้ และยังมีมุมมองที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมด้วยแล้ว ก็จะเป็นความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตแน่นอน

อ้างอิง รายงาน Trend 2024 : REMADE ANEW โดย TCDC
ใครสนใจอ่านข้อมูลละเอียด อ่าน E-Book ได้ที่นี่ https://www.tcdc.or.th/th/all/service/resource-center/e-book/34204-trend-2024

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า