SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) เปิดรายงาน Global Gender Gap Report 2020 ซึ่งประเมินความเท่าเทียมทางเพศเพิ่งเปิดเผยข้อมูลออกมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 พบไทยเท่าเทียมอันดับ 75 จาก 153 ประเทศ ด้านเทรนทั่วโลกมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ช้าเกินไป

รายงานชิ้นนี้ประเมินจากความเท่าเทียมในสี่ด้านด้วยกัน ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจ ด้านการได้รับการศึกษา ด้านการเข้าถึงบริการทางสุขภาพและอัตราการรอดชีวิตของผู้หญิง และด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง และมีการประเมินประกอบรายงานสรุปทุก ๆ 2-3 ปี

ภาพรวมทั่วโลกพบว่าระยะห่างระหว่างโอกาสด้านต่าง ๆ (distance compete to parity) ระหว่างหญิงชายอยู่ที่ 68.6% สูงกว่าคะแนนของปีที่แล้ว สะท้อนว่าในหนึ่งปีประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มพัฒนาความเท่าเทียมทางเพศที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ดี รายงานระบุว่าตอนนี้การพัฒนาตรงนี้ช้าเกินไป โดยคาดว่ากว่าผู้หญิงจะเท่าเทียมกับผู้ชาย 100 % ต้องใช้เวลาอีก 257 ปี แต่ในเงื่อนไขที่ว่ารัฐบาลของแต่ละประเทศต้องมีการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องด้วย

ประเทศที่เท่าเทียมที่สุดคือ ไอร์แลนด์ นอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวีเดน นิการากัว และประเทศที่ความเท่าเทียมทางเพศแย่ที่สุดคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซีเรีย ปากีสถาน อิรัก เยเมน

ส่วนประเทศไทยมีความเท่าเทียมทางเพศอันดับ 75 จาก 153 ประเทศ ได้คะแนนประเมิน 0.708 คะแนน อันดับตกจากการประเมินเมื่อ 2 ปีที่แล้ว 2 อันดับ

ถ้านับในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกและโซนแปซิฟิก ประเทศไทยได้อันดับที่ 6 รองจาก นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ลาว ออสเตรเลีย และสิงคโปร์

ประเทศไทยส่งเสริมผู้หญิงได้ดีมาก ๆ ในภาคธุรกิจและเศรษฐกิจ โดยทำได้ดีเป็นอันดับที่ 22 ของโลก วัดจาการที่ผู้หญิงได้ทำงาน ได้ค่าแรงเท่าเท่าเทียมกัน เป็นผู้หารายได้เข้าครอบครัว ได้ดำรงตำแหน่งระดับสูง แล้วก็ได้ทำงานที่เป็นวิชาชีพ ไม่มีการกีดกัน ขณะที่ส่วนที่ประเทศไทยต้องแก้ไขมากที่สุดคือเรื่องพื้นที่ทางการเมืองของผู้หญิง ซึ่งอันดับปัจจุบันอยู่ที่ 129 จาก 153 ประเทศ พิจารณาจากจำนวนผู้หญิงในสภาและในฝ่ายบริหารของรัฐที่มีน้อยมาก

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ทำการสำรวจตัวเลขผู้หญิงในพื้นที่การเมือง-ภาครัฐ ล่าสุดมา

ตัวเลขผู้แทนราษฎรหญิงปัจจุบันอยู่ที่ 78 คนจากทั้งหมด 498 คน คิดเป็น 15% ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากสภานิติบัญญัติก่อนมีการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 มีผู้หญิงที่มีส่วนในการออกกฎหมายแค่ 5% เท่านั้น

ส่วนตัวเลขผู้หญิงในรัฐบาลก็ดีขึ้นเช่นกัน โดยรัฐบาลก่อนมีผู้หญิงนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีเพียง 1 คนจากทั้งหมด 36 ตำแหน่ง ปัจจุบันเพิ่มมาเป็น 3 คน คือ

-มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

-คุณหญิงกัลยา โสภณพาณิชย์ และ

-กนกวรรณ วิลาวัลย์  รัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ

ตัวเลขผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ข้อมูลอัพเดทเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562 จากเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พบว่ามีผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นผู้หญิงเพียง 1 คนคือผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นตัวเลขเท่ากันกับข้อมูลเมื่อ 1 ตุลาคม 2561

ส่วนระดับท้องถิ่น หากดูที่ดำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นก็จะพบว่ามีผู้หญิงในสัดส่วนที่น้อยมากเช่นเดียวกัน โดยมีผู้หญิงดำรงตำแหน่งนี้เพียง 529 คน จาก 7851 ตำแหน่ง คิดเป็น 6.74%

 

ในเร็ว ๆ นี้น่าจะมีการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นก็ต้องมาดูว่าตัวเลขตรงนี้พัฒนามากน้อยเพียงใด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง เปิดข้อมูลภาครัฐไทย มีสัดส่วนผู้นำหญิงมากเท่าไหร่ ?

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า