SHARE

คัดลอกแล้ว

หนี้บัตรเครดิตของสหรัฐพุ่งขึ้นเป็น 1.08 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2566 โดย Gen X เป็นกลุ่มที่มีหนี้บัตรเครดิตมากที่สุดส่วน Gen Z กำลังก่อหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 

ข้อมูลจาก ‘Credit Karma’ พบว่าในไตรมาส 2 ปี 2566 กลุ่ม Gen X (อายุ 43-58 ปี) ในสหรัฐฯ มีหนี้บัตรเครดิตสูงสุดอันดับ 1 เฉลี่ยอยู่ที่ 9,589 ดอลลาร์ หรือประมาณ 330,412 บาท เพิ่มขึ้น 1.89% จากไตรมาส 1

ตามด้วยกลุ่ม Baby Boomers (อายุ 59-77 ปี) มีหนี้บัตรเครดิตสูงเป็นอันดับ 2 อยู่ที่ประมาณ 8,192 ดอลลาร์ หรือประมาณ 282,275 บาท แต่ก็กำลังมีสัดส่วนของหนี้ที่ลดลงเรื่อยๆ

เพราะจากข้อมูลของ LendingTree พบว่าระหว่างปี 2564-2566 กลุ่ม Baby Boomers เป็นกลุ่มที่ชำระหนี้บัตรเครดิตมากที่สุด ทำให้มียอดคงค้างในบัตรเครดิตลงลดถึง 35.4% ตามมาด้วย Gen X ที่ลงลด 7.2%

ขณะที่กลุ่ม Gen Z (อายุ 18-26 ปี) กลายเป็นกลุ่มที่กำลังก่อหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีหนี้บัตรเครดิตเฉลี่ยอยู่ที่ 3,328 ดอลลาร์ หรือประมาณ 114,674 บาท และเพิ่มขึ้น 4.23% จากไตรมาส 1 ถือเป็นสัดส่วนการเพิ่มขึ้นที่มากกว่ากลุ่มอื่นๆ

รองลงมาคือ Gen Y (อายุ 27-42) มีสัดส่วนหนี้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นอันดับ 2 ที่ 2.55% หรือมียอดค้างเฉลี่ยอยู่ที่ 6,959 ดอลลาร์ หรือประมาณ 239,789 บาท

นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ได้เปิดเผยข้อมูลยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตในสหรัฐฯ ไตรมาส 3 โดยรวมเพิ่มขึ้นประมาณ 4.7% อยู่ที่ 1,405 ดอลลาร์ หรือประมาณ 48,000 ล้านบาท

ทำให้มียอดใช้จ่ายบัตรเครดิตสะสมที่ 1.08 ล้านล้านดอลลาร์ ถือเป็นยอดรวมที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2546

[ แต่ละกลุ่มใช้จ่ายกับอะไรมากที่สุด ]

‘Dr. Balbinder Singh Gill’ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการเงินใน School of Business ที่สถาบันเทคโนโลยีสตีเวนส์ (Stevens Institute of Technology) บอกว่า Gen Z  เริ่มใช้เงินเยอะและเป็นหนี้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงการระบาดโควิด-19 จากการซื้อคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และการสตรีมมิ่ง

ด้าน Gen X ส่วนใหญ่อยู่ในจุดสูงสุดของอาชีพการงานมีรายได้ดีและมีกำลังซื้อสูงขึ้น แต่ก็มีภาระเพิ่มขึ้นจากการมีครอบครัว มีบ้านและรถยนต์ กลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มที่มีหนี้สินสูงที่สุด

ส่วน Gen Y พฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับงานอดิเรก การซื้อเสื้อผ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และการออกไปข้างนอกกับเพื่อน ๆ

ขณะที่คนรุ่นเก่าอย่าง Baby Boomers ใช้จ่ายไปกับการล่องเรือ ร้านอาหาร และรับประทานอาหารนอกบ้านเช่นกัน และใช้จ่ายมากขึ้นไปกับพวกผลิตภัณฑ์ยาและวิตามินบำรุงต่างๆ

[ ปัญหาหนี้บัตรเครดิตในไทย ]

ปัญหาหนี้บัตรเครดิตกลายเป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วย ข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NCB) ไตรมาส 1 ปี 2566 พบว่า ไทยมีหนี้ครัวเรือนมูลค่า 12.9 ล้านล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ช่วงโควิด-19

โดยหนี้ที่มีปัญหามากที่สุด ข้อมูลในปี 2565 คือหนี้เสีย (NPL) รวมที่ 14.3% รองลงมาเป็นหนี้บัตรเครดิต 9.8% หนี้ส่วนบุคคล 9.2% หนี้รถยนต์ 7% และหนี้ที่อยู่อาศัยที่ 3.5%

ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาประกาศเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำบัตรเครดิตเพิ่มเป็น 8% ในปี 2567 และ 10% ในปี 2568 หลังจากปรับลดลงมาที่ 5% จากเดิม 10% ในช่วงโควิด-19

ทำให้ในปีหน้า ‘ขาช้อป’ ทั้งหลาย คงต้องวางแผนการใช้จ่ายให้ดีมากขึ้น ส่วนใครมีหนี้บัตรเครดิตอยู่ควรรีบจ่ายก่อนที่จะเป็นหนี้ก้อนใหญ่แบบไม่รู้ตัว…

ที่มา : abcnews

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า