SHARE

คัดลอกแล้ว

ไม่ใช่แค่โรงเรียนที่ทำให้ได้รู้จักมิตรภาพ และการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว ‘ออฟฟิศ’ ก็เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่นำพาเรามาพบเจอบรรยากาศใหม่ๆ ผู้คนอันหลากหลาย เรียนรู้การเข้าสังคมได้ดียิ่งขึ้น

‘Jeffrey Hall’ ศาสตราจารย์ด้านการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแคนซัส ทำการสำรวจความสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างงานและมิตรภาพในที่ทำงาน เขาทำการสุ่มตัวอย่างจากวัยทำงานชาวอเมริกันจำนวน 4,300 คน โดยให้ระบุรายชื่อเพื่อนสนิท 7 คนแรกที่นึกถึง พร้อมสถานที่ที่ได้รู้จัก-เชื่อมสัมพันธ์กัน

ปรากฏว่า  ‘โรงเรียน’ มีสัดส่วนมากที่สุดถึง 20.7% รองลงมา คือ ‘ที่ทำงาน’ 16.1% และเมื่อเวลาผ่านไปพบว่า ที่ทำงานกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะมิตรภาพแซงหน้าโรงเรียน ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป ระบุว่า เพื่อนสนิทอันดับต้นๆ ในชีวิตล้วนเป็นเพื่อนจากที่ทำงานทั้งสิ้น ส่วนคนที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี มีเพื่อนสนิทจากออฟฟิศประมาณ 21%

ศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารให้ความเห็นว่า การมีเพื่อนสนิทในออฟฟิศมีประโยชน์ทั้งด้านอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดี เพราะคนวัยทำงานมีความเสี่ยงที่จะพบเจอกับความเหงา-ความโดดเดี่ยว น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ทำงาน มิตรภาพที่ใกล้ชิดไม่ว่าจะก่อตัวจากที่ใด จะเป็นโรงเรียนหรือที่ทำงาน ต่างช่วยเพิ่มความสุขและความพึงพอใจในชีวิตได้ 

อย่างไรก็ตาม การก่อร่างความสัมพันธ์ในวัยผู้ใหญ่ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้ง่ายๆ ต้องมีปัจจัยแวดล้อมสนับสนุน ต้องใช้เวลาร่วมกันบ่อยๆ วิธีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงโควิด-19 เป็นอุปสรรคอย่างยิ่ง เมื่อไม่มีเวลาเข้าสังคมร่วมกันโดยเฉพาะการเผชิญหน้าซึ่งกันและกัน ก็ยิ่งลดโอกาสในการผูกมิตร-ทำความรู้จัก ส่งผลให้คนทำงานรุ่นใหม่โดยเฉพาะ Gen Z  ขาดความเชื่อมโยงกับเพื่อนที่ทำงาน ไม่ได้ให้ความสนใจการเข้าสังคม มองว่า ไม่ใช่เรื่องจำเป็นมากขนาดนั้น

[ ใช้ชีวิตแบบนี้ตั้งแต่แรก ไม่รู้ต้องเข้าสังคมอย่างไร ]

ในมุมมองของคนรุ่นใหม่ มิตรภาพในที่ทำงานไม่ได้อยู่ในสมการด้วยซ้ำ The Washington Post พูดคุยกับคนทำงานวัย 24 ปี เธอทำงานในบริษัทเทคโนโลยีแห่งหนึ่ง และเป็นการทำงานแบบ Remote Working

เธอให้ความเห็นกับสำนักข่าวไว้ว่า ชอบทำงานรูปแบบนี้ และไม่มีความคิดอยากกลับเข้าออฟฟิศแม้จะไม่เคยสัมผัสการทำงานในออฟฟิศมาก่อนก็ตาม แต่เธอกลับมีมุมมองว่า การสานสัมพันธ์-ผูกมิตรกับคนในออฟฟิศออกจะเป็นเรื่องแปลกไปสักหน่อย แม้จะรู้สึกเหงาอยู่ไปบ้าง แต่ท้ายที่สุด เธอก็เลือกแก้ปัญหาความโดดเดี่ยวด้วยการย้ายกลับไปทำงานในเมืองที่เติบโตมา ซึ่งเป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยนั่นเอง

ฟังแบบนี้แล้ว สำหรับคนทำงานเจนอื่นๆ อาจจะดูแปลกอยู่ไม่น้อย แต่ Jeffrey ระบุว่า สิ่งนี้แทบจะเป็นลักษณะร่วมของคนทำงาน Gen Z ไปแล้ว พวกเขาไม่ได้มีแนวคิดเรื่องการผูกการทำงานไว้กับการเข้าสังคม คนเจนอื่นอาจมีเพื่อนร่วมงานเป็นตัวแปรสำคัญในการพิจารณาเมื่อต้องโยกย้าย แต่นั่นไม่ใช่กับ Gen Z ส่วนหนึ่งก็เพราะคนรุ่นนี้เติบโตมาพร้อมกับ ‘ความเหงา’ และการถูกโดดเดี่ยว พวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่า สิ่งที่คิดหรือทำแปลกอย่างไร และบางครั้งก็ไม่รู้ด้วยว่า ตนเองไม่รู้อะไรและยังขาดอะไรอยู่บ้าง

[ แยกงานออกจากชีวิต ไม่ผูกพันก็กระโดดได้บ่อยขึ้น ]

ข้อดีประการหนึ่งของวิธีคิดเช่นนี้ ทำให้ Gen Z พิจารณาเปลี่ยนงานโดยไม่ได้มี ‘เพื่อนร่วมงาน’ เป็นตัวแปรสำคัญเหมือนกับคนเจนก่อน ซึ่งยังขยายอิทธิพลไปถึงมุมมองในการจัดระเบียบชีวิตด้วย Jeffrey บอกว่า ทั้ง Gen X และ Gen Y ที่มีความผูกพันกับคนในออฟฟิศ แม้จะถึงเวลาพักผ่อนแต่หัวข้อที่พูดคุยกันโดยส่วนใหญ่ก็ยังหนีไม่พ้นเรื่องในที่ทำงานอยู่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้การแยกเรื่องงานออกจากชีวิตส่วนตัวเป็นไปได้ยากมาก

ขณะที่คนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้มีความผูกพันกับที่ทำงาน ไม่ได้คิดเรื่องงานตลอดเวลา สมดุลชีวิตที่แยกขาดออกจากกัน ทำให้ ‘ชีวิต’ และ ‘งาน’ ราวกับเป็นโลกคนละใบ นี่อาจเป็นข้อดีของฐานคิดเช่นนี้ แต่ขณะเดียวกันจากการวิจัยระยะยาวของมหาวิทยาลัยแคนซัสก็พบว่า ความเหงาเป็นเรื่องที่คนรุ่นใหม่ต้องเฝ้าระวังให้มาก

จากงานศึกษาพบว่า การแพร่ระบาดใหญ่และการเว้นระยะห่างทางสังคมในช่วงที่ผ่านมา ทำให้  Gen Z เป็นเจเนอเรชันแห่งความเหงามากกว่าคนรุ่นอื่นๆ การทำงานทางไกลเป็นสิ่งที่พวกไม่มีทางเลือก และท้ายที่สุด ระเบียบทางสังคมเช่นนี้ได้ทำหน้าที่เหมือน ‘เบ้าหลอม’ ให้พวกเขาเรียนรู้วิธีอยู่รอด โดยไม่ต้องพึ่งพาสังคมมากจนเกินไป 

แต่หาก Gen Z ใช้ชีวิตแบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่เรียนรู้วิธีผูกมิตรในที่ทำงาน ไม่ได้มองว่า ออฟฟิศเป็นส่วนหนึ่งของการพบปะสังสรรค์ พวกเขาก็อาจจบลงด้วย ‘ความเหงา’ มากกว่าที่เคยเป็น

ที่มา :

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า