SHARE

คัดลอกแล้ว

เดือนเมษายน 2566 จาก ‘ADP Research Institute’ สถาบันวิจัยด้านตลาดแรงงาน สหรัฐอเมริกา เปิดเผยข้อมูลน่าสนใจจากรายงานที่มีชื่อว่า ‘People at Work’ โดยเป็นการเก็บสถิติจากคนทำงาน 32,000 คน ใน 17 ประเทศ พบว่า 

คนทำงานอายุ 18-24 ปี มีแนวโน้มที่จะทำ ‘โอที’ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8 ชั่วโมง 30 นาทีต่อสัปดาห์ 

คนทำงานอายุ 45-54 ปี ทำงานล่วงเวลา 7 ชั่วโมง 28 นาที 

คนทำงานอายุ 55 ปีขึ้นไป ทำงานล่วงเวลาราว 5 ชั่วโมง 14 นาทีต่อสัปดาห์เท่านั้น

ปัจจุบันคนทำงาน ‘Gen Z’ ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ยากลำบากตั้งแต่เริ่มต้น หลายคนเริ่มทำงานในช่วงที่มีการแพร่ระบาดใหญ่ หลายคนต้องเจอกับการ ‘เลิกจ้าง’ เซ่นพิษเศรษฐกิจตั้งแต่อายุเพียง 20 ต้นๆ เท่านั้น

และแม้จะไม่ได้ประสบกับเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยตนเองแต่เมื่อต้องรายล้อมไปด้วยเหตุการณ์คล้ายกันนี้ ทั้งการปลดคน ชะลอการปรับขึ้นเงินเดือนและการเลื่อนตำแหน่ง ทำให้หลายคนขาดความมั่นใจและโอกาสที่จะไปต่อบน ‘Career path’ ในระยะยาวได้

เด็ก ‘Gen Z’ ไม่เพียงตั้งใจทำงาน ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเหมือนกับคนทำงานเจเนอเรชันอื่นๆ แต่พวกเขายังแบกหัวโขนของการพิสูจน์ตัวเองมาโดยตลอด 

การทำงานล่วงเวลาจึงไม่ได้เกิดจากความคาดหวังเรื่องเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้น แต่เพราะต้องการเป็นคนเก่ง คนขยันในสายตานายจ้าง นานวันเข้าก็ยิ่งทำให้ ‘Gen Z’ แบกรับความเครียด ความเหนื่อยล้า มากขึ้นเรื่อยๆ

[ ความไม่มั่นคงกัดกิน คนหนุ่มสาวขาด ‘Safety Net’ ในอาชีพการงาน ]

‘เนลา ริชาร์ดสัน’ (Nela Richardson) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สถาบันวิจัย ‘ADP Research Institute’ ระบุว่า ความรู้สึกไม่มั่นคงในอาชีพการงานเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความขยันของ ‘Gen Z’ ในขณะนี้ 

หากดูจากผลการศึกษาแล้วพบว่า ความไม่มั่นคงในอาชีพของ ‘Gen Z’ มีมากกว่าเจนอื่นๆ ถึงสองเท่าตัว 

ริชาร์ดสันให้ความเห็นว่า ต่อไปความรู้สึกไม่มั่นคง-สั่นคลอนในลักษณะนี้จะมีบทบาทต่อ ‘Gen Z’ มากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของห้วงคำนึงที่พวกเขาต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เส้นทางการเติบโตในหน้าที่การงานไม่มีอะไรแน่นอน เนื่องจากต้องเผชิญกับการเลิกจ้าง-เขย่าองค์กรครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ตั้งแต่เริ่มต้นชีวิตการทำงาน

ด้าน ‘ลารา ฮอลิเดย์’ (Lara Holiday) โค้ชชิ่งด้านการทำงานมองว่า มวลความรู้สึกที่คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญอย่างทุกวันนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกับคนเจนก่อนๆ คนรุ่นเธอซึ่งก็คือ ‘Gen X’ รู้ว่า หากเรียนจบไปอย่างไรต้องมีงานรองรับ เมื่อได้ทำงานจะสามารถเก็บเงิบได้ มีบ้าน มีรถ มีทรัพย์สินเป็นของตนเองได้ 

ในขณะที่คนรุ่นนี้ห่างไกลจากความฝันที่เธอระบุออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ และด้วยเหตุนี้ ‘Gen Z’ จึงมองว่า ความปลอดภัยเดียวที่จะรองรับความไม่แน่ไม่นอนเหล่านี้ คือการทำงานหนักและเพิ่มจำนวนชั่วโมงการทำงาน

ไม่ต้องไปไกลถึงการสะสมความมั่งคั่งหรือการเติบโต แต่ ‘Gen Z’ ไม่ได้มองถึงเรื่องการปรับเลื่อนตำแหน่ง หรือเงินโบนัสประจำปีด้วยซ้ำ สิ่งเหล่านี้ห่างไกลจากสิ่งที่พวกเขาเห็นและเผชิญไปมาก 

งานวิจัยของ ‘ADP’ ชี้ให้เห็นว่า มี ‘Gen Z’ เพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่คาดหวังว่า ตนจะได้ปรับฐานเงินเดือน ขณะที่ช่วงอายุอื่นๆ กว่า 2 ใน 3 คาดหวังว่า พวกเขาจะได้ปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นทุกปี

[ พยายามหนักขึ้น เพราะถูกมองว่า ‘ขี้เกียจ’ ]

บทความจากสำนักข่าวบีบีซี (BBC) ระบุถึงบทสัมภาษณ์ของ ‘จัสมิน’ (Jasmin) บัณฑิตปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยลีดส์ (University of Leeds) สหราชอาณาจักร 

เธอเล่าว่า ตนเองเริ่มทำงานพาร์ทไทม์กว่า 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพื่อจ่ายค่าเช่าบ้าน เมื่อเรียนจบและได้งานประจำแล้วจึงหยุดทำงานอื่นๆ แล้วหันมาโฟกัสกับงานประจำแทน

‘จัสมิน’ อธิบายกิจวัตรทุกทุกวันว่า เธอมักใช้เวลาอีกราวๆ 2-3 ชั่วโมงหลังเลิกงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานในวันถัดไป โดยความพร้อมที่ว่านี้ก็เพื่อทำให้ตัวเธอเองโดดเด่นและเป็นผู้ที่ถูกเลือก หากได้งานทำแล้วก็ต้องสั่งสมความขยัน ความตั้งใจอย่างเคร่งครัดต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้นายจ้างเห็นควรว่า พวกเขาคิดถูกแล้วที่เลือกเธอมารับผิดชอบในตำแหน่งนี้

‘จัสมิน’ ยังระบุด้วยว่า คนทำงานวัยอื่นๆ มักมีอคติเชิงลบต่อ ‘Gen Z’ ว่า เป็นพวกขี้เกียจ ไม่สู้งาน ทั้งที่เงื่อนไขในการทำงานของคนหนุ่มสาวเจเนอเรชันนี้เพียงต้องการทำงานจากที่บ้านเท่านั้น นี่เป็นเรื่องท้าทายอย่างมากที่จะรักษาสมดุลระหว่างความไม่มั่นคงทางจิตใจและหน้าที่ความรับผิดชอบ

[ เครียดกว่าเจนอื่น-การทำงานล่วงเวลาจะยังดำเนินต่อไป ]

แม้คนรุ่นใหม่จะเต็มใจทำงานล่วงเวลาแต่นี่ไม่ใช่เรื่องปรกติที่จะไม่สร้างผลกระทบตามมาภายหลัง แม้ ‘Gen Z’ จะซื้อไอเดีย ‘Work-Life Balance’ แต่พวกเขาก็เติบโตมาในยุคที่โลกเต็มไปด้วยวิกฤติ ฉะนั้น การทำงานล่วงเวลาจะยังดำเนินต่อไปตราบเท่าที่พวกเขายังคงรู้สึกไม่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม ‘ฮอลิเดย์’ ระบุว่า นี่ไม่ใช่กุญแจสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน ท้ายที่สุด ‘Gen Z’ ต้องเตรียมรับมือกับความเครียดและความเหนื่อยหน่ายที่ทวีคูณมากกว่ากลุ่มอื่นๆ คนรุ่นใหม่ต้องหาวิธีถอยหลังกลับไปตั้งหลัก เพื่อหาทางหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาวต่อสุขภาพจิตที่เกิดจากเศรษฐกิจชะลอตัวที่จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อความตึงเครียดในลักษณะดังกล่าว 

‘Gen Z’ ต้องให้เวลากับตัวเองในการทบทวน-ตระหนักรู้ความต้องการมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการนับถอยหลังสู่วังวนของความเจ็บปวดที่ว่ามานี้

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า